ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมการใช้งานระบบการเรียนการสอนทางไกล (Telemedicine) เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประชุม

  ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดอบรมการใช้งานระบบการเรียนการสอนทางไกล (Telemedicine) เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประชุม โดยการอบรมแบ่งออกเป็น 2 รุ่น ได้แก่

รุ่นที่ 1 หลักสูตรสำหรับผู้ดูแลระบบ (Admin) วันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุม 2 อาคารคอมพิวเตอร์

รุ่นที่ 2 หลักสูตรสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป วันที่ 2 ตุลาคม 2563 ณ ห้อง e-Testing 3 อาคารคอมพิวเตอร์

การอบรมครั้งนี้ มีเนื้อหาการอบรมดังนี้

  1. นำเสนอภาพรวมของระบบ Telemedicine
  2. การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้แก่ การแชร์ข้อมูล การจัดการผู้เข้าร่วมประชุม การส่งข้อความ การปรับรูปแบบการแสดงวิดีโอ โหมดการอบรม และการดูการแชร์ข้อมูลย้อนหลัง
  3. ฟังก์ชั่นสำหรับผู้ใช้งานบนมือถือ ได้แก่ การติดตั้งและการเข้าร่วมการประชุม การดูการแชร์ข้อมูลย้อนหลัง
  4. การจัดการและควบคุมห้องประชุม
  5. การจองกำหนกดการประชุมและส่งจดหมายเชิญ (e-Mail)

ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Telemedicine) เป็นระบบที่ติดตั้งเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอน และการประชุม สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น Video Conference, คอมพิวเตอร์ PC, Notebook, Tablet และ Smart Phone

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลแจ้งปรับปรุงเลขหมายโทรศัพท์ภายใน ม.วลัยลักษณ์ จากเดิม 4 หลัก เป็น 5 หลัก

    เนื่องจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีการขยายตัวของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการให้บริการศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ส่งผลให้ความต้องการใช้งานเลขหมายโทรศัพท์มีเพิ่มขึ้น ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงทำการปรับปรุงเลขหมายโทรศัพท์ภายในจากเดิม 4 หลัก ที่ขึ้นต้นด้วย 1xxx, 2xxx, 3xxx, 4xxx, 5xxx, 6xxx เปลี่ยนเป็น 5 หลัก โดยใช้ 71xxx, 72xxx, 73xxx, 74xxx, 75xxx, 76xxx ตามลำดับ เช่น เลขหมายเดิม 3400 ปรับเป็น 73400 เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2563 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป และสำหรับเลขหมายที่โทรจากภายนอกใช้เลขหมายโทรศัพท์เดิม คือ 0 7552 3000,0 7538 4000 และ 0 7567 3000 

หากมีข้อสงสัยในการใช้งานสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CDT Call Center โทรศัพท์ภายใน 73400

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรมการใช้งานระบบการเรียนการสอนทางไกล (Telemedicine) เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประชุม

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรมการใช้งานระบบการเรียนการสอนทางไกล (Telemedicine) เพื่อการจัดการเรียนการสอนและการประชุม ในวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00-13.00 น. ณ ห้อง e-Testing 3 อาคารคอมพิวเตอร์ โดยมีเนื้อหาการอบรมดังนี้

  1. ภาพรวมของระบบ
  2. การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้แก่ การแชร์ข้อมูล การจัดการผู้เข้าร่วมประชุม การส่งข้อความ การปรับรูปแบบการแสดงวิดีโอ โหมดการอบรม และการดูการแชร์ข้อมูลย้อนหลัง
  3. ฟังก์ชั่นสำหรับผู้ใช้งานบนมือถือ ได้แก่ การติดตั้งและการเข้าร่วมการประชุม การดูการแชร์ข้อมูลย้อนหลัง
  4. การจัดการและควบคุมห้องประชุม
  5. การจองกำหนกดการประชุมและส่งจดหมายเชิญ (e-Mail)

ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Telemedicine) เป็นระบบที่ติดตั้งเพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอน และการประชุม สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น Video Conference, คอมพิวเตอร์ PC, Notebook, Tablet และ Smart Phone 

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ ลิงค์   https://docs.google.com/forms/d/1tvGLOydNWy4SqOvBhhc2yicjoetyNyP3qFGsbVbLmwY/edit หรือ QR Code ภายในวันอังคารที่ 29 กันยายน 2563

บรรยากาศการเข้าร่วมพิธีเปิด “ซุ้มประตูวลัยคม” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

AAA_8451-2

  เมื่อวันจันทร์ที่ 21 กันยายน 2563 เวลา 7.59 น. ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร  ศรีสอ้าน นายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด “ซุ้มประตูวลัยคม” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมพิธี รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์  วุฒิสุทธิเมธาวี  รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร กล่าวรายงาน  พร้อมด้วยนายสุพงษวิณัย ชูยก นายอำเภอท่าศาลา ตลอดจนหัวหน้าส่วนราชการอำเภอท่าศาลา ผู้นำท้องถิ่นและชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัย แขกผู้มีเกียรติ  ผู้บริหาร  บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมพิธี บริเวณด้านหน้าซุ้มประตูวลัยคม  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่ง ดร.เปรมฤดี  นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้เข้าร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ด้วย

“ซุ้มประตูวลัยคม” มีความโดดเด่น สวยงาม ดูยิ่งใหญ่ สามารถใช้เป็นสถานที่ประดับตกแต่ง เพื่อเทิดพระเกียรติ และใช้เป็นจุดประดิษฐานเครื่องสักการะอันเนื่องในวโรกาสงานพระราชพิธีต่างๆ ได้อย่างสมพระเกียรติ  และใช้เป็นป้ายคำปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า  “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผลิตบัณฑิตให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง”

ด้วยรูปแบบของซุ้มประตูและแนวรั้วทั้งสองด้านที่สวยงาม พร้อมป้ายชื่อมหาวิทยาลัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประกอบกับลานหินแกรนิตที่ปูเป็นลานกว้างหน้าซุ้มประตูและแนวรั้วทั้งสองด้านนี้ สามารถใช้เป็นจุดถ่ายภาพที่มีความสวยงามอีกจุดหนึ่ง โดยมีพื้นหลังที่เป็นสวนวลัยลักษณ์ และแนวเทือกเขาหลวง ที่ดูเป็นธรรมชาติที่งดงาม อีกด้วย

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้เก็บภาพความประทับใจในการเข้าร่วมกิจกรรมมาประมวลไว้ในโอกาสนี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรม “การบันทึกเทมเพลตเพื่อวางแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 สำหรับนำเข้าระบบ SAP” สำหรับผู้ใช้ทุกหน่วยงาน

20200922_133235

    เมื่อวันอังคารที่ 22 กันยายน 2563 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมการบันทึกเทมเพลตเพื่อวางแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 สำหรับนำเข้าระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายลักษณะสามมิติ (SAP) ให้แก่ ผู้รับผิดชอบในการทำแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 ของหน่วยงาน

มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายลักษณะสามมิติ และจะต้องวางแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 สำหรับนำเข้าระบบ SAP เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละหน่วยงานได้ ซึ่งเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย

  1. ข้อมูล Segment ต่างๆ ในระบบ SAP
  2. การวางแผนงบประมาณ
  3. การวางแผนตัวชี้วัด
  4. การบันทึกข้อมูลผู้รับผิดชอบ

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาสวนวลัยลักษณ์”

Presentation1

    บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาสวนวลัยลักษณ์” จัดโดยส่วนอำนวยการและสารบรรณ และส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2563 ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธี กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้ร่วมมือกันปฏิบัติกิจกรรมจิตอาสาร่วมกัน โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กว่า 50 หน่วยงาน เข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำความสะอาดพื้นที่และกำจัดวัชพืชตามพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรม “การบันทึกเทมเพลตเพื่อวางแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 สำหรับนำเข้าระบบ SAP”

20200915_135322

     เมื่อวันอังคารที่ 15 กันยายน 2563 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมการบันทึกเทมเพลตเพื่อวางแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 สำหรับนำเข้าระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายลักษณะสามมิติ (SAP) ให้แก่ ผู้รับผิดชอบในการทำแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 ของหน่วยงาน

     มหาวิทยาลัยได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชีกองทุน โดยเกณฑ์พึงรับพึงจ่ายลักษณะสามมิติ และจะต้องวางแผนงบประมาณและตัวชี้วัดปีงบประมาณ 2564 สำหรับนำเข้าระบบ SAP เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละหน่วยงานได้ ซึ่งเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย

  1. ข้อมูล Segment ต่างๆ ในระบบ SAP
  2. การวางแผนงบประมาณ
  3. การวางแผนตัวชี้วัด
  4. การบันทึกข้อมูลผู้รับผิดชอบ

บรรยากาศการอบรมหลักสูตร “การเพิ่มผลผลิต (Preductivity) ในการทำงาน” ของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

20200914_155142

     เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กันยายน 2563 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการอบรมให้แก่บุคลากรของหน่วยงาน ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มผลผลิต (Preductivity) ในการทำงาน” เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลทุกคน ให้มีความรู้เรื่องการเพิ่มผลผลิตในการทำงาน สามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของงานได้ และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่มุ่งไปสู่ Smart University ทั้ง 10 ด้าน

     การจัดอบรมหลักสูตร “การเพิ่มผลผลิต (Preductivity) ในการทำงาน” ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มากความสามารถ “อาจารย์นพพล นพรัตน์” หรือ “อาจารย์นพ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะครอสเวิร์ค จำกัด ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรมืออาชีพ 13 ปี ดูแลมากกว่า 100 องค์กร ในการร่วมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานด้วยเทคนิควิธีการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แบบ 3CO

     การจัดอบรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมทุกท่านได้เรียนรู้การวิธีการเพิ่มผลผลิตในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ได้แก่

– การสร้าง Mindset เพื่อก้าวไปสู่จุดที่ดีกว่าเดิมในทุก ๆ เรื่อง ด้วยการสร้างความรับผิดชอบ 100%

– วิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพ (6T How to do Efficiency) ประกอบด้วย Time (ลำดับความสำคัญ) Team (ทีมงาน) Track (กระบวนการ) Tools (เครื่องมือ) Techniques (เทคนิค ซึ่งมาจาก Knowledge+skill) และ  Thinking (วิธีคิด)

– การตั้งเป้าหมาย (Goad Setting) Smart ซึ่งประกอบด้วย Specific (ชัดเจน) Measurable (สามารถวัดได้)  Achievable (สามารถทำได้สำเร็จ) Reasonable (คุ้มค่า) และ Timely (กำหนดเวลาแน่นอน)

    ซึ่งแต่ละบุคคลควรตั้งเป้าหมาย 6 ด้านในชีวิต ได้แก่ สุขภาพ จิตใจ ครอบครัว งาน เพื่อนฝูง และสังคม และจัดลำดับความสำคัญด้วยการใช้ตาราง Time Matrix เป็นเครื่องมือในการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้เก็บภาพความสนุกสนานและความประทับใจในการเข้าร่วมอบรมมาประมวลไว้ในโอกาสนี้

Recent Posts

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้จัดการอบรมหลักสูตร ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity in the Workplace and Fraud Prevention) รองรับการทดสอบความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน ซึ่งรองรับเกณฑ์การประเมินผลสำเร็จส่วนบุคคล เเละเกณฑ์ประเมินหน่วยงาน

Read More »

Follow Us

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านเกณฑ์ประเมิน 5ส ระดับดีเด่น

95780

    เมื่อวันพุธที่ 9 กันยายน 2563 ระหว่างเวลา 08.45 – 13.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ารับรางวัลเนื่องในโอกาสได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์ 5ส ระดับดีเด่น และร่วมกิจกรรม “Show & Share 5ส สร้างสุขทั่วทั้งองค์กร” ภายใต้แนวคิด “5S Green Clean & Clear : เรียบง่าย ชัดเจน ต่อเนื่อง ร่วมใจ” ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ โถงกลางลานกิจกรรม อาคารสถาปัตยกรรมและการออกแบบ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูบุคลากรและหน่วยงานที่มีผลการดำเนินการด้าน 5ส โดดเด่นตามเกณฑ์มาตรฐาน 5ส Green คณะกรรมการกลาง 5ส มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้นำมาตรฐาน 5ส มาใช้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยก้าวสู่ปีที่ 4 ในปีงบประมาณ 2563 เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการมุ่งไปสู่องค์กรสมรรถนะสูงและได้มีการนำเรื่องมหาวิทยาลัยสีเขียวมาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการดังกล่าวด้วย

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบสารสนเทศผลการปฏิบัติงานพนักงานสายวิชาการ

20200902_142055

    เมื่อวันพุธที่ 2 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบสารสนเทศผลการปฏิบัติงานพนักงานสายวิชาการ ระหว่างเวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล 2 อาคารคอมพิวเตอร์ โดยมีนางนวพร  ไชยเสน รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และนายวชิรศักดิ์  โภคากรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบสารสนเทศผลการปฏิบัติงานพนักงานสายวิชาการดังกล่าว

    ระบบสารสนเทศผลการปฏิบัติงานพนักงานสายวิชาการ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลและส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร โดยได้มีการปรับปรุงระบบสารสนเทศผลการปฏิบัติงานพนักงานสายวิชาการ หรือระบบประเมินออนไลน์เพิ่มเติม ให้มีความสอดคล้องกับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน และเกณฑ์มาตรฐานภาระงานทางวิชาการ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบสามารถบันทึกผลงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ