ฝ่ายบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา" ครั้งที่ 37 (WUNCA 37Th) ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จ. นครสวรรค์ และได้ร่วมสังเกตการณ์การจัดงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม WUNCA ครั้งที่ 39 (WUNCA 39 Th )  ที่จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

บริการระบบสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาใหม่

WU Pass เป็นบริการสำหรับนักศึกษาใหม่ลงทะเบียนครั้งแรก เพื่อลงชื่อเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนจากลิงค์ (https://passport.wu.ac.th/student.aspx) เมื่อดำเนินการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาสามารถเข้าใช้บริการของมหาวิทยาลัยได้ดังนี้

  1. WU WiFi คือ ระบบเครือข่ายไร้สายที่ให้บริการสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยผู้ใช้งานระบบต้องมี User และ Password สำหรับการ Login เข้าใช้งานระบบ (WU Passport) การเชื่อมต่อเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายโดยใช้ชื่อ WU WiFi ทั้งนี้ พื้นที่ให้บริการประกอบด้วย กลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา (อาคารลักษณานิเวศ) กลุ่มอาคารเรียนรวม กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มอาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา อาคารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อาคารวิจัยและบริการวิชาการ อาคารบริหาร อาคารโรงอาหาร 4 อาคารกิจกรรม และอาคารหอพักบุคลากร ( วลัยนิวาส)

2. G Suite for Education หรือชื่อเดิมว่า Google for Education (Google Apps for Education) เป็นบริการจาก Google สำหรับสถาบันทางการศึกษา และสถาบันหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้ใช้งานบริการต่าง ๆ จากGoogleได้ฟรีโดยใช้บัญชี GMail ที่เป็น domain name ของทางองค์กรเอง (domain name หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ เช่น www.google.com คำว่า google.com คือ domain name ของ Google นั่นเอง)

Apps ที่อยู่ใน G Suite มีอยู่หลากหลายแอพได้แก่ Gmail, Google Drive, Google Docs, Google Sheet, Google Slide, Google Form และ Google Classroom เป็นต้น

ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ G-Suite for Eduation สามารถเข้าใช้งานจากลิงค์
(https://drive.google.com/file/d/0B3i_xKLNSz0HQzJxQW1NcDR1b1VwYUNEODZhRHhZY3lPLW5N/view)

3. WU e-Learning

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้นำระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (LMS: Learning Management System) มาปรับใช้เพื่อให้คณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยสามารถจัดการเรียนการสอนและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยผู้สอนจะจัดเตรียมบทเรียนทั้งหมดให้พร้อมสำหรับผู้เรียนได้เข้ามาเรียนรู้ จากนั้นระบบจะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด

นักศึกษาสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://elearning.wu.ac.th

 

เมื่อวันศุกร์ 11 พฤษภาคม 2561 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้จัดอบรมหลักสูตรเว็บไซต์ 2 ภาษา และแนะนำการจัดโครงสร้างเว็บไซต์ ภาษไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการใช้งานของนักเรียนชาวต่างชาติ ให้กับ ศูนย์/สถาบัน/ส่วนงาน  ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน ร่วมบรรยายและแนะนำขั้นตอนการปรับปรุงการโครงสร้างเว็บไซต์เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย โดยทีมวิทยากรให้คำแนะนำในการปรับแก้ครั้งนี้ได้แก่ นายวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ และนายดนัยณัฐ ซังเรือง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ 

 


อาจารย์ ดร. อรรถโส  ขำวิจิตร  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่จาก University Utara Malaysia (UUM) ประเทศมาเลเซีย จำนวน 20 คน ในการศึกษาดูงานด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย Mr.Budiman Sobri Abdullah, Assistant Director UUM Information Technology (UUMIT) เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 25 มกราคม 2561 เวลา 09.30 – 13.00 น. ณ ห้องประชุมโมคลาน อาคารบริหาร  และอาคารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

อาจารย์ ดร. อรรถโส  ขำวิจิตร ได้ให้การต้อนรับและนำเสนอข้อมูล  ด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เช่น ระบบข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet Data) ระบบเครือข่าย (Network) ระบบปฏิบัติการทางด้านข้อมูลสารสนเทศ (IT Operation) ระบบเชื่อมต่อ (System and Portal) ระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต, WIFI, E-mail และการอำนวยความสะดวกด้านระบบสารสนเทศที่มีต่อการเรียนการสอน พร้อมนำเยี่ยมชม ห้องคอมพิวเตอร์หลัก (Main Computer Room) ห้องควบคุมระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  และรับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนก่อนเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

การให้บริการ Forti Client VPN สำหรับใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย

หมดปัญหาวันหยุดหรืออยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย แต่ต้องการเข้าถึงระบบต่าง ๆ เสมือนนั่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัย ด้วยการติดตั้งระบบ Forti Client VPN ช่วยให้ท่านใช้งานระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ตามปกติ เช่น DOMS ฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบรองรับการใช้งานทั้ง PC, Android และ iOS ทั้งนี้ ผู้ใช้งานควรสงวนสิทธิ์ในการให้ผู้อื่นเข้าถึงระบบต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและมีความรับผิดชอบใน Username และ Password ของตนเอง

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ คุณวิศิษฏ์ เรืองพรหม  โทรศัพท์ภายนอก: 0 7567 3444  โทรศัพท์ภายใน: 73444  หรือ โทร: 08 1958 7721

คู่มือการใช้งาน FortiClient
คู่มือการติดตั้งระบบสำหรับ Windows และ Mac

คู่มือสำหรับการติดตั้งระบบ FortiClient สำหรับ Window และ Mac (ฉบับภาษาไทย)

คู่มือการติดตั้งระบบสำหรับ Smartphone

คู่มือสำหรับการติดตั้งระบบ FortiClient สำหรับ Mobile
(ฉบับภาษาไทย)

FortiClient Installation Guide for Windows & MacOS

FortiClient Install and Setup Guide for Windows & MacOS (English Version)

FortiClient Installation Guide for Smartphone

FortiClient Installation and Setup Guide for Smartphone (Android & iOS) (English Version)

ตามที่มหาวิทยาลัยได้จัดทำอีเมล Google แบบองค์กรของมหาวิทยาลัย ในชื่อโดเมน @g-mail.wu.ac.th และได้ประกาศใช้งานมาระยะหนึ่งแล้ว ปรากฏว่า จากการพิจารณาของ Google ชื่อโดเมนดังกล่าวดูไม่น่าเชื่อถือ และอยู่ในข่ายที่เป็น spam mail ได้ ดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงได้จดชื่อโดเมนดังกล่าวเป็น @mail.wu.ac.th และขอประกาศเปลี่ยนแปลงให้ทราบทั่วกัน  ทั้งนี้ การเข้าใช้งานสำหรับระบบอีเมลของ google ขอให้ผู้ใช้ทุกท่านเปลี่ยนจาก @g-mail.wu.ac.th เป็น @mail.wu.ac.th ด้วย

หากมีปัญหาการใช้งานหรือโดเมนของท่านยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงสามารถโทรติดต่อมาที่เบอร์ 3455 คุณวิชชุกร ด่านเดชา หรือ DTC Call Center โทร. 3400

เฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สามารถใช้งานอีเมล์ Google ของมหาวิทยาลัยได้แล้ว โดยวิธีการใช้งานสามารถทำตามขั้นตอนของคู่มือดังต่อไปนี้

https://drive.google.com/file/d/0B3i_xKLNSz0HQzJxQW1NcDR1b1VwYUNEODZhRHhZY3lPLW5N/view?usp=sharing

ส่วนนักศึกษาชั้นปี 2 ขึ้นไปและบัณฑิตศึกษาโปรดรอการดำเนินการทางบัญชีผู้ใช้งานอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเร็วๆ นี้จะสามารถใช้งานครบทั้งมหาวิทยาลัย

ข้อแนะนำ: การใช้งานนั้นไม่ควรเก็บไฟล์ที่สำคัญไว้ในบัญชีอีเมล์นี้เพียงที่เดียว ควรสำรองข้อมูลตนเองไว้หลายแห่ง เพื่อป้องกันความเสียที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้จากผู้ให้บริการ

หากมีข้อสงสัยประการใดโปรดติดต่อ โทร. 075-673455 คุณวิชชุกร หรือ 075-673400 DTC Call Center

ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการประกวดเว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย WordPress ขึ้น เพื่อให้บุคลากรผู้ดูแลเว็บไซต์หน่วยงานได้แสดงศักยภาพด้านความคิด การออกแบบ และการจัดทำ Content ในเว็บไซต์ ได้อย่างสวยงาม เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการจัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงาน นั้น

บัดนี้ คณะกรรมการได้ทำการประชุมประเมินผลคะแนนและตัดสินโครงการฯ ดังกล่าว เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศผลการตัดสินโครงการประกวดเว็บไซต์หน่วยงานที่พัฒนาด้วย WordPress ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 ได้แก่
ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://hospital.wu.ac.th/
รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 2 ได้แก่
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ https://wacc.wu.ac.th/
รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 3 ได้แก่
อุทยานพฤกษศาสตร์ http://botany.wu.ac.th
สำนักวิชาแพทยศาสตร์ https://smd.wu.ac.th

ทั้งนี้ จะมีพิธีมอบของรางวัลที่ระลึกและเกียรติบัตรแก่หน่วยงานที่ได้รับรางวัล โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในพิธีก่อนวาระการประชุมที่ประชุมบริหาร ครั้งที่ 9/2560 วันพุธที่ 13 กันยายน 2560

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขอแสดงความยินดีกับหน่วยงานที่ชนะการประกวด และขอขอบคุณหน่วยงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการทุกหน่วยงาน มา ณ โอกาสนี้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขอเชิญชวนบุคลากรผู้สนใจหรือหน่วยงานเข้าร่วมโครงการประกวดเว็บไซต์หน่วยงานที่พัฒนาด้วย WordPress โดยมีกำหนดการดังนี้ 26 ก.ค. – 4 ส.ค. 2560 รับสมัครหน่วยงานเข้าร่วมประกวด 26 ก.ค. – 25 ส.ค. 2560 ทำการออกแบบ/ปรับปรุงเว็บไซต์ 28 – 31 ส.ค. 2560 กรรมการตัดสินผลงาน 1 ก.ย. 2560 ประกาศผลการตัดสิน ผู้สนใจติดต่อโทร. 3463, 3422 หรือตอบรับทางอีเมล์ ccs@wu.ac.th

คลิกลงทะเบียนประกวด  goo.gl/Rk7jo5

รายละเอียดเพิ่มเติม