เพราะสำหรับเรา…คุณคือคนสำคัญเสมอ…

          ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เปิดให้บริการแชทออนไลน์ 2 ช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการที่ฉับไว ทันต่อเหตุการณ์ พร้อมทีม  Admin คอยช่วยเหลือและให้คำตอบมากกว่า 10 ชีวิต ผ่านหน้าเว็บไซต์ https://cdt.wu.ac.th และ ที่ Facebook : Digital Technology Center   เพื่อให้ท่านได้เข้าถึงบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ  Call Center ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โทร. 3400

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับส่วนพัสดุ  จัดประชุมชี้แจงการตรวจสอบพัสดุประจำปีด้วยระบบการตรวจนับพัสดุ “DpsAsset” ขึ้นในวันจันทร์ ที่ 10 กันยายน 2561 ผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ เจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวนกว่า 100 ท่าน  ได้ร่วมฟังบรรยายและแนะนำขั้นตอนการดำเนินงานตามเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และทีมวิทยากรที่ให้คำแนะนำการการใช้งานระบบครั้งนี้ ได้แก่  นายเอกสิทธิ ผจงจิตยางกูร และนายมานิต จิตต์ประไพย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ระบบสารสนเทศดังกล่าวพัฒนาโดย นายเอกสิทธิ ผจงจิตยางกูร และนายมานิต จิตต์ประไพย  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดยระบบดังกล่าวพัฒนาบน Mobile Application (Android) ซึ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจนับพัสดุโดยการอ่านบาร์โค้ดจากครุภัณฑ์ต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และลดการใช้กระดาษในการตรวจนับพัสดุได้ 99%    และจะเริ่มใช้งานจริงในเดือนตุลาคม 2561 นี้  

   

          เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2561 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับ ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ได้จัดอบรมการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office ให้แก่นักศึกษาที่จะออกไปสหกิจศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยมีวิทยากรคือนางสาวณิรดา  เพ็ชรคงทอง พนักงานธุรการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อบรมเรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word และนางสาวภัทรานิษฐ์ จิตรตรง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อบรมเรื่องการใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel โดยในการอบรมครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการทำเอกสารในสำนักงาน การทำจดหมายเวียนและรูปแบบเอกสารต่างๆ ตลอดจนเรียนรู้ฟังก์ชันการทำงานใน Excel การสร้างกราฟแบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

          ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้จัดอบรมการใช้งานระบบประเมินพนักงานสายวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำการใช้งานระบบการบันทึกภาระงานที่มีการปรับแก้ไขตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย       1) ระบบทะเบียนงานวิจัยและการพัฒนางานทางวิชาการ 2) ระบบทะเบียนงานบริการวิชาการส่วนบุคคล  3) ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานสายวิชาการ 3 โมดูล (โมดูลงานสอน โมดูลงานวิจัย และโมดูลงานบริการวิชาการ) โดยทีมวิทยากรได้แก่ คุณนวพร ไชยเสน  คุณสุภาพร ทองจันทร์  และคุณวชิรศักดิ์ โภคากรณ์  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล  ซึ่งการจัดอบรมมีทั้งหมด 3 รอบ  ณ  ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนี้

รอบที่ 1 วันอังคาร 28 สิงหาคม 2561    จำนวน 90  คน
รอบที่ 2 วันพุธ 29 สิงหาคม 2561        จำนวน 51  คน
รอบที่ 3 วันศุกร์ 30 สิงหาคม 2561      จำนวน 46  คน

 

 

 



 

 


 

ผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำโดย อาจารย์ ดร.อรรถโส  ขำวิจิตร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย บุคลากรและเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ พร้อมด้วยนักเรียน นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคป่าพะยอม ในการเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการบริหารจัดการหน่วยงาน การให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ ในวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2561 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ อาคารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งโครงการศึกษาดูงานจัดขึ้นเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาได้มีความรู้และประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการรับทราบข้อมูลข่าวสารทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน

 


 


 


 

 

 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับความไว้วางใจ จากสำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราชและสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเครือข่าย AEC  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ เอกชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายท่องเที่ยว และพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยวทั้งระบบของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเน้นจุดแข็งในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อออนไลน์ยุค Thailand ๔.๐ มาประยุกต์ใช้ในการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งโครงการที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับผิดชอบดำเนินการประกอบด้วยกิจกรรม ๒ กิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ ๑. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น
กิจกรรมที่ ๒. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชน

จัดการอบรมพัฒนาบุคลากร ๗ หลักสูตร จำนวน  ๓๖ รุ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทั้งหมด ๒,๙๓๐ คน ระยะเวลาจัดอบรมทั้งสิ้น ๖ เดือน ตั้งแต่ ๑ กุมภาพันธ์ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑

 

 

 


 


 


ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับสำนักแพทยศาสตร์ จัดประชุมชี้แจ้งการใช้ระบบรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานสากลสำหรับนักศึกษาแพทยศาสตรศึกษา จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2561 และรุ่นที่ 2 วันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2561 ให้แก่ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ในการนี้ อาจารย์ ดร. นพ.ปรัชญะพันธุ์ เพชรช่วย คณบดี ร่วมบรรยายและแนะนำขั้นตอนการรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และทีมวิทยากรให้คำแนะนำในการปรับแก้ครั้งนี้ได้แก่  นายสุรศักดิ์ นาควิโรจน์  นักวิชาการ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ และ นางสาวสุภาพร ทองจันทร์  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์

โดยระบบสารสนเทศดังกล่าวพัฒนาโดย นางสาวสุภาพร ทองจันทร์ และนายมานิต จิตต์ประไพย  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเริ่มใช้งานจริงเดือนสิงหาคมนี้
 


 

ฝ่ายบริหาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ "การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา" ครั้งที่ 37 (WUNCA 37Th) ระหว่างวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จ. นครสวรรค์ และได้ร่วมสังเกตการณ์การจัดงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม WUNCA ครั้งที่ 39 (WUNCA 39 Th )  ที่จะจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

บริการระบบสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาใหม่

WU Pass เป็นบริการสำหรับนักศึกษาใหม่ลงทะเบียนครั้งแรก เพื่อลงชื่อเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนจากลิงค์ (https://passport.wu.ac.th/student.aspx) เมื่อดำเนินการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาสามารถเข้าใช้บริการของมหาวิทยาลัยได้ดังนี้

  1. WU WiFi คือ ระบบเครือข่ายไร้สายที่ให้บริการสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตแก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยผู้ใช้งานระบบต้องมี User และ Password สำหรับการ Login เข้าใช้งานระบบ (WU Passport) การเชื่อมต่อเข้าใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายโดยใช้ชื่อ WU WiFi ทั้งนี้ พื้นที่ให้บริการประกอบด้วย กลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา (อาคารลักษณานิเวศ) กลุ่มอาคารเรียนรวม กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มอาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา อาคารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อาคารวิจัยและบริการวิชาการ อาคารบริหาร อาคารโรงอาหาร 4 อาคารกิจกรรม และอาคารหอพักบุคลากร ( วลัยนิวาส)

2. G Suite for Education หรือชื่อเดิมว่า Google for Education (Google Apps for Education) เป็นบริการจาก Google สำหรับสถาบันทางการศึกษา และสถาบันหรือองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรได้ใช้งานบริการต่าง ๆ จากGoogleได้ฟรีโดยใช้บัญชี GMail ที่เป็น domain name ของทางองค์กรเอง (domain name หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ เช่น www.google.com คำว่า google.com คือ domain name ของ Google นั่นเอง)

Apps ที่อยู่ใน G Suite มีอยู่หลากหลายแอพได้แก่ Gmail, Google Drive, Google Docs, Google Sheet, Google Slide, Google Form และ Google Classroom เป็นต้น

ขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ G-Suite for Eduation สามารถเข้าใช้งานจากลิงค์
(https://drive.google.com/file/d/0B3i_xKLNSz0HQzJxQW1NcDR1b1VwYUNEODZhRHhZY3lPLW5N/view)

3. WU e-Learning

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้นำระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (LMS: Learning Management System) มาปรับใช้เพื่อให้คณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยสามารถจัดการเรียนการสอนและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยผู้สอนจะจัดเตรียมบทเรียนทั้งหมดให้พร้อมสำหรับผู้เรียนได้เข้ามาเรียนรู้ จากนั้นระบบจะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด

นักศึกษาสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://elearning.wu.ac.th

 

เมื่อวันศุกร์ 11 พฤษภาคม 2561 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้จัดอบรมหลักสูตรเว็บไซต์ 2 ภาษา และแนะนำการจัดโครงสร้างเว็บไซต์ ภาษไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการใช้งานของนักเรียนชาวต่างชาติ ให้กับ ศูนย์/สถาบัน/ส่วนงาน  ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน ร่วมบรรยายและแนะนำขั้นตอนการปรับปรุงการโครงสร้างเว็บไซต์เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย โดยทีมวิทยากรให้คำแนะนำในการปรับแก้ครั้งนี้ได้แก่ นายวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ และนายดนัยณัฐ ซังเรือง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์