เกี่ยวกับ SmartU

Smart University

ในยุคของการปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลของมหาวิทยาลัย(DigitalTransformation) อย่างมีนัยสำคัญ การดำเนินงานตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงมุ่งเน้นการพัฒนาองค์กรและบริหารทุนมนุษย์มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูงโดยการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (SmartUniversity)  10 ด้าน ได้แก่ 

1) Smart Infrastructure 

2) Smart Organization 

3) Smart Learning

4) Smart Classroom 

5) Smart Life & Health 

6) Smart Hospital

7) Smart Transportation

8) Smart Security 

9) Smart Green University และ 

10) Smart Farming 

ซึ่งมหาวิทยาลัยมีพื้นที่เพาะปลูกไม้ผล 11 ชนิด ปาล์มและยางพาราเรียบร้อยแล้วทั้งสิ้น ประมาณ 3,500 ไร่ พร้อมกันนี้จะเปิดให้บริการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ขนาด 120 เตียง ในเดือนมกราคม 2564 และขยายเป็นขนาด 750 เตียง ในลำดับถัดไป นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีศูนย์ความเป็นเลิศ 5 ด้าน ได้แก่ 

1) ด้านศูนย์หัวใจ 

2) ด้านศูนย์มะเร็ง 

3) ด้านศูนย์ผิวหนัง 

4) ด้านศูนย์ผู้สูงอายุ และ

5) ด้านเวชศาสตร์การท่องเที่ยว

จากการที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งเน้นด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการพัฒนาศักยภาพบุคลากร นักศึกษารวมทั้งการสร้างและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล   มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการให้บริการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนพันธกิจหลัก 4 ด้านของมหาวิทยาลัย ดำเนินการตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มหาลัยวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ มหาวิทยาลัยวิจัยสมบูรณ์แบบชั้นนำของประเทศและแผนปฏิบัติการเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564) จึงมีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ตลอดจนมีการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ไปพร้อม ๆ กัน เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยและองค์ความรู้ครบวงจร โดยเฉพาะการทดลองทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสาธารณสุขและการแพทย์ทางไกล (Telehealth) รวมทั้งด้านเกษตรอัจฉริยะความแม่นยำสูง เพื่อรองรับการเป็น Smart University เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวในวิถีชีวิตในการดำเนินงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย เกิดกระบวนการทำงานที่สั้นและมีประสิทธิภาพ โดนนำหลักคิดของการทำ LeanMangement คือ ลดการสูญเสียเวลา คน งบประมาณ และขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งเป็นโอกาสหนุนเสริมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์นวัตกรรม นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์/บริการและกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สอดคล้องกับการเปิดให้บริการศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิ 750 เตียง ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีทีมผู้บริหารและบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถประสบการณ์และกลยุทธ์ต่างๆ ในการบูรณาการหน่วยงาน บุคลากร และองค์ความรู้
เชื่อมโยงมิติต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่
(Big Data) การทำมาตรฐานข้อมูลกลางที่เชื่อมโยงการใช้งานร่วมกันทั้งประเทศ การทำมาตรฐานความปลอดภัย ความยืดหยุ่นและรองรับการขยายตัวในอนาคตซึ่งจะนำไปสู่ป้าหมายสูงสุดของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำของประเทศและเป็นผู้นำด้าน Smart & Paperless University ชั้นนำ 10 อันดับแรกของประเทศไทย ภายในปี 2567 ต่อไป

  


ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย และ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Smart University