ระบบการเรียนการสอนทางไกล

ข้อมูลพื้นฐานระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ดำเนินการติดตั้งและให้บริการระบบการเรียนการสอนทางไกลตั้งแต่ ปีพ.ศ.2540  โดยใช้ชื่อ  “โครงการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกลและสื่อสารสองทางผ่านเครือข่ายวงจรเช่าความเร็วสูง” เพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย ระบบสื่อสารข้อมูลสารสนเทศรวมถึงระบบโทรคมนาคมของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการปฎิบัติงานด้านการเรียนการสอน งานด้านบริหาร การจัดการสารสนเทศ สนับสนุนการวางแผนงาน การประชุมสัมมนา  และการบริการด้านวิชาการ  ระบบการเรียนการสอนทางไกลและสื่อสารสองทางผ่านระบบเครือข่ายวงจรเช่าความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย การประชุมสัมมนา ซึ่งเชื่อมต่อไปยังหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพฯ ทำให้การติดต่อประสานงานและการจัดประชุมทางไกลทำได้สะดวกและประหยัดเวลา

            ระบบการเรียนการสอนทางไกลและสื่อสารสองทางผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ได้ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการประชุมแบบหลายจุด  โดยทำหน้าที่เป็นตัวประมวลผลรวมภาพและเสียงจากอุปกรณ์ Video Conference ที่อยู่ปลายทางต่างๆ  แล้วส่งกลับไปยังอุปกรณ์ Video Conference ที่อยู่ปลายทางเพื่อแสดงภาพและเสียงการประชุมแบบหลายจุด  โดยระบบมีความสามารถดังนี้

รองรับการประชุมแบบ HD ได้ 5 จุด
รองรับการประชุมแบบ Enhanced Definition ที่ 352P ได้ 20 จุด
รองรับการชม Streaming  แบบ Unicast ได้ 200 จุด
รองรับการประชุมเสียงได้ 120 จุด
รองรับการประชุมผ่าน Web Conference ที่ใช้บน Desktop ผ่าน Browser Internet Explorer, Firefox, Chrome และ Safari และ Mobile User  ที่ใช้บน IOS, Android

สามารถตั้งตารางนัดหมายการประชุมล่วงหน้าและเข้าใช้งานได้ทาง http://www.conference.wu.ac.th

ระบบการเรียนการสอนทางไกลและสื่อสารสองทางผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ติดตั้งใช้งานที่อาคารเรียนรวม,อาคารวิชาการ5,อาคารบริหาร,หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพฯ,ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.สุราษฏร์ธานี, ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลศูนย์ตรัง และ ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เพื่อเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสื่อสารข้อมูลของมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเชื่อมต่อไปยังมหาวิทยาลัยที่อื่นๆ ได้

การติดตั้งระบบการเรียนการสอนทางไกลเพื่อให้บริการมีพื้นที่จุดให้บริการดังนี้

สถานที่

อาคาร

จำนวนห้องเรียน

จำนวนห้องประชุม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช  อาคารวิชาการ 3

1

 อาคารวิชาการ 5

4

 อาคารเรียนรวม 7

2

 อาคารบริหาร

2

 อาคารคอมพิวเตอร์

1

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา

1

อาคารเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1

หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  กรุงเทพฯ ห้องบรรยาย

4

1

ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   จ.สุราษฏร์ธานี ห้องบรรยาย

2

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลตรัง ห้องเรียน/ประชุม

1

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ห้องเรียน/ประชุม

1

 

การใช้ประโยชน์ระบบสื่อสารสองทางผ่านระบบเครือข่าย

การติดตั้งระบบการสื่อสารสองทางผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

ใช้ในการเรียนการสอนและการประชุม จากจุดติดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช   หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร และศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  จังหวัดสุราษฎร์ธานี ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลศูนย์ตรัง และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ทั้งนี้สามารถรองรับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรต่างๆ  เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติในการขอใช้บริการระบบประชุมทางไกล

1. ผู้ขอใช้บริการ จองห้องประชุมและอุปกรณ์ได้จากระบบจองห้องประชุม
2. หากเป็นการจัดการเรียนการสอนประจำภาคการศึกษา สามารถขอจองห้องเรียนได้ที่ ศูนย์บริการการศึกษา

 

                 picture3