ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 อาคาร B ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571
ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำพา มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มีความพร้อมและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทิศทางของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการดำเนินงานทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ มีการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูล นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ของนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เรามีความตั้งใจที่จะนำ AI เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การตรวจข้อสอบ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายแนวโน้มต่าง ๆ ช่วยให้การตัดสินใจในการดำเนินกลยุทธ์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ที่จัดขึ้น โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมกันสร้างแผนปฏิบัติการดิจิทัล ที่ครอบคลุมและมีความยืดหยุ่นจากหลายมุมมอง ทำให้แผนปฏิบัติการดิจิทัลของเรา สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการอย่างหลากหลาย และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571
ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายให้รองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อมุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 10 ด้าน ได้แก่ (1) Smart IT Infrastructure (2) Smart Organization (3) Smart Learning (4) Smart Classroom (5) Smart Life & Health (6) Smart Hospital (7) Smart Transportation (8) Smart Security (9) Smart Green University และ (10) Smart Farming ซึ่งแผนดังกล่าวสิ้นสุดในปี 2567 นี้ ในวาระนี้ จึงถึงเวลาที่จะได้ทบทวนแผนเดิม และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและนำมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลต่อไป

โดยแผนดังกล่าว ควรจะมาจากความคิดเห็นร่วมกันจากทุกภาคส่วน จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและระดมสมอง รวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการดิจิทัลที่มีความครอบคลุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้วนำมากำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี 2) กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน 3) กลุ่มพนักงานสายวิชาการ ประกอบด้วย คณบดี อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักวิชาและวิทยาลัย 4) กลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ซึ่งมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม คือ หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน 5) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา และ 7) กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กล่าวอีกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นสำหรับกลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 54 คน จาก 24 หน่วยงาน แบ่งได้เป็น หัวหน้าส่วน 5 คน  หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างาน 35 คน  และพนักงาน 14 คน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารงาน

จากนั้นกิจกรรมในการประชุมระดมความคิดเห็นฯ เป็นการนำเสนอกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร การชี้แจงร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการฯ และการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม

วันที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 -12.00 น. คณะทำงาน ICT Academy ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงาน” ณ ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์ ซึ่งหลักสูตรนี้รองรับการพัฒนาทักษะดิจิทัล หัวข้อ DLit400 ประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงาน โดยมีวิทยากรคือ นายไพศาล  พุมดวง นายดนัยณัฐ ซังเรือง และ นายทินกร  ปิยะพันธ์ บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดยวิทยากรแนะนำความรู้พื้นฐานระบบโทรศัพท์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การใช้งานเลขหมายโทรศัพท์สำนักงานบนมือถือให้สามารถใช้งานด้วยโปรแกรม UniXcape App และช่วยลดค่าใช้จ่ายเมื่อโทรหาเบอร์หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และทำให้ไม่ขาดการติดต่อเมื่อไม่อยู่ที่โต๊ะทำงาน รวมถึงแนะนำการใช้ระบบ e-Meeting สำหรับการทำวาระและรายงานการประชุม และการจัดการเอกสารประกอบการประชุมด้วย มีบุคลากรเข้าร่วมอบรม จำนวน 26 คน

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมหลักสูตรการสร้าง Data Visualization เบื้องต้นด้วย Google Looker Studio Step By Step รุ่นที่ 4 

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลโดย ICT Academy ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การสร้าง Data Visualization เบื้องต้นด้วย Google Looker studio Step By Step ” รุ่นที่ 4 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์

ซึ่งหลักสูตรนี้รองรับการพัฒนาทักษะดิจิทัล หัวข้อ DLit700 ใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานประจำ โดยมีวิทยากร นายชัยรัตน์ กาญจนอารี นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด และ นายอภิชาติ รักชอบ บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลแนะนำเกี่ยวกับการทำ Data Visualization นำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ผ่าน Map แผนภูมิ กราฟ การ Blending Data และการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผล และการนำเสนอเพื่อให้น่าสนใจ เข้าใจง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และทดลองสร้างภาพแสดงผลข้อมูลด้วยตนเอง การอบรมครั้งนี้มีบุคลากรเข้าร่วมอบรม จำนวน 37 คน

เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อำนวยความสะดวกติดตั้ง App Thasala และ Line notify ให้แก่บุคลากรใหม่ของศูนย์การแพทย์ฯ

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 3 อาคาร A ชั้น 3 ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยลัยลักษณ์ นายพงศ์ธน ฤดีอัครเสรี รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายแอปพลิเคชันโซลูชัน พร้อมด้วย นางสาวปาจรีย์ จันทวงศ์ และนางสาวญาปกา สัมพันธมาศ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

อำนวยความสะดวกติดตั้ง App Thasala และ Line notify ให้แก่บุคลากรใหม่ของศูนย์การแพทย์ฯ จำนวน 51 ราย  เพื่อให้บุคลากรใหม่สามารถเข้าใช้งานระบบลงเวลาการทำงาน และสามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบต่างๆ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้

ม.วลัยลักษณ์ เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน ในวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2567

เมื่อวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 

ม.วลัยลักษณ์ เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน ในวันจันทร์ ที่ 3 มิถุนายน 2567
ม.วลัยลักษณ์ เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน ในวันจันทร์ ที่ 3 มิถุนายน 2567

พิธีถวายเครื่องราชสักการะและพิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 3 มิถุนายน 2567  ในวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2567 ณ สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและพสกนิกรชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชทุกหมู่เหล่า ร่วมกันแสดงความจงรักภักดีเนื่องในวโรกาสดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียง

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมหลักสูตรการสร้าง Data Visualization เบื้องต้นด้วย Google Looker Studio Step By Step รุ่น 3

เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลโดย ICT Academy ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การสร้าง Data Visualization เบื้องต้นด้วย Google Looker studio Step By Step ” รุ่นที่ 3 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์

ซึ่งหลักสูตรนี้รองรับการพัฒนาทักษะดิจิทัล หัวข้อ DLit700 ใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานประจำ โดยมีวิทยากร นายชัยรัตน์ กาญจนอารี นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด และ นายอภิชาติ รักชอบ บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลแนะนำเกี่ยวกับการทำ Data Visualization นำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ผ่าน Map แผนภูมิ กราฟ การ Blending Data และการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผล และการนำเสนอเพื่อให้น่าสนใจ เข้าใจง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และทดลองสร้างภาพแสดงผลข้อมูลด้วยตนเอง การอบรมครั้งนี้มีบุคลากรเข้าร่วมจำนวน 37 คน ซึ่งได้รับความสนใจและการตอบรับที่ดีเยี่ยมจากผู้เข้าอบรม

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย รุ่น 2

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์ ในการอบรมครั้งนี้ วิทยากรได้แนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรที่รองรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ หลักสูตร การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งมี 3 ส่วนย่อย คือ

Part1 การเชื่อมต่อ Wi Fi สำหรับบุคลากร ม.วลัยลักษณ์ มีรายละเอียด ดังนี้

      • พื้นฐานระบบเครือข่ายไร้สาย
      • เรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อ SSID ประเภทต่าง ๆ
      • การแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ
      • สถิติการใช้งานของมวล.
      • ตัวอย่าง การดักจับข้อมูล Hacking Wi Fi
      • พรบ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Part2 เรียนรู้แนวทางป้องกันภัยคุกคามจากการท่องอินเทอร์เน็ต มีรายละเอียด ดังนี้

      • ภัยคุกคามที่ใกล้ตัวและพบเจอบ่อยที่สุด
      • ประเภทของมัลแวร์
      • แนวทางป้องกันอันตรายจากการใช้งาน Internet
      • การตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรให้ปลอดภัย
      • การจัดการข้อมูลและการสำรองข้อมูล
      • การใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส

Part3 การใช้งานอีเมลอย่างปลอดภัย มีรายละเอียด ดังนี้

      • ความสำคัญของความปลอดภัยทางอีเมล
      • ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อยผ่านทางอีเมล
      • พื้นฐานการใช้งานอีเมลอย่างปลอดภัย
      • การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง
      • การใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (Two-Factor Authentication)
      • การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในบัญชีอีเมล
      • การระบุและจัดการกับอีเมลที่น่าสงสัย
      • สัญญาณของอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing)
      • การจัดการกับอีเมลขยะ (Spam)
      • การตรวจสอบลิงก์และไฟล์แนบในอีเมลก่อนคลิกหรือดาวน์โหลด

การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล คือ นายชณวัฒน์ หนูทอง นายสุริยะ เมืองสุวรรณ  นายวิศิษฏ์ เรืองพรหม นายวิเชียร จุติมูสิก นายวิชชุกร ด่านเดชา นายอวยชัย บุญญวงศ์ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล  มีบุคลากรเข้าร่วม จำนวน 10 คน

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ สร้างเว็บไซต์ให้สวยอย่างมืออาชีพ ด้วย Elementor

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ สร้างเว็บไซต์ให้สวยอย่างมืออาชีพ ด้วย Elementor ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์ 

นายวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายแอปพลิเคชันโซลูชัน ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรอบรมหลักสูตร สร้างเว็บไซต์ให้สวยอย่างมืออาชีพ ด้วย Elementor มีบุคลากรลงทะเบียน 28 คน เข้าร่วม จำนวน 19 คน โดยวิทยากรได้แนะนำการปรับแต่งโครงสร้างและเนื้อหาของเว็บไซต์ให้สวยงาม และทำความเข้าใจการใช้เครื่องมือใน Elementor เทคนิคการสร้าง Slides และการปรับแต่งให้สวยงาม
การใช้งานส่วนของ Slider ในหน้าย่อย เทคนิคการสร้างหน้า Page และ Post เทคนิคการสร้างเนื้อหาให้สวยงาม และการสร้างหน้าแกลอรี่

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ WU-HRMS สู่ความสำเร็จ…การยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 -12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ WU-HRMS สู่ความสำเร็จ…การยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ  ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 อาคารคอมพิวเตอร์

โดยมีวิทยากร คือนางสาวสุภาพร ทองจันทร์ กับนางสาวภัททิรา หมื่นพันธ์ชู และมีผู้ช่วยวิทยากรคือ นางสาวญาปกา สัมพันธมาศ กับ นายฮากิม มูดอ วิทยากรได้แนะนำขั้นตอนการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ การบันทึกข้อมูลการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สำหรับพนักงานสายวิชาการ การ Upload เอกสารประกอบการขอกำหนดตำแหน่ง และยืนยันส่งข้อมูล การติดตามสถานะดำเนินการตามกระบวนการขอกำหนดตำแหน่ง มีบุคลากรจาก 3 หน่วยงานเข้าร่วม จำนวน 50 คน

อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้และเกียรติบัตรแสดงความยินดี แก่นักศึกษาฝึกงาน

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2566 ในพิธีก่อนวาระการประชุมบริหาร ครั้งที่ 4/2567 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบช่อดอกไม้และเกียรติบัตรแสดงความยินดี แก่นักศึกษาฝึกงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหน่วยงานให้บริการด้านระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งได้มีการรับนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้ามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย ระบบสารสนเทศ ระบบโทรคมนาคม และการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

ซึ่งนักศึกษาฝึกงานในครั้งนี้มาจาก สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายพงศภัค มาลากาญจน์  และ นายธนวัฒน์ พินทอง เข้าฝึกงานระหว่างวันที่ 4 ธันวาคม 2566 – 12 เมษายน 2567
เมื่อนักศึกษาได้ฝึกงานครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมอบเกียรติบัตรแสดงความยินดีและรับรองการฝึกงานดังกล่าว

โดยมี ผศ.ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมแสดงความยินดีพร้อมอวยพรให้ประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าในการเรียนและการทำงานในอนาคตด้วยเช่นกัน