ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 อาคาร C ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน

จากการเปิดประชุมกลุ่มพนักงานสายวิชาการ และกลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำพา มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มีความพร้อมและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทิศทางของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการดำเนินงานทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ มีการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูล นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ของนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เรามีความตั้งใจที่จะนำ AI เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การตรวจข้อสอบ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายแนวโน้มต่าง ๆ ช่วยให้การตัดสินใจในการดำเนินกลยุทธ์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ที่จัดขึ้น โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมกันสร้างแผนปฏิบัติการดิจิทัล ที่ครอบคลุมและมีความยืดหยุ่นจากหลายมุมมอง ทำให้แผนปฏิบัติการดิจิทัลของเรา สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการอย่างหลากหลาย และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายให้รองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อมุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 10 ด้าน ได้แก่ (1) Smart IT Infrastructure (2) Smart Organization (3) Smart Learning (4) Smart Classroom (5) Smart Life & Health (6) Smart Hospital (7) Smart Transportation (8) Smart Security (9) Smart Green University และ (10) Smart Farming ซึ่งแผนดังกล่าวสิ้นสุดในปี 2567 นี้ ในวาระนี้ จึงถึงเวลาที่จะได้ทบทวนแผนเดิม และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและนำมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลต่อไป

โดยแผนดังกล่าว ควรจะมาจากความคิดเห็นร่วมกันจากทุกภาคส่วน จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและระดมสมอง รวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการดิจิทัลที่มีความครอบคลุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้วนำมากำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี 2) กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน 3) กลุ่มพนักงานสายวิชาการ ประกอบด้วย คณบดี อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักวิชาและวิทยาลัย 4) กลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ซึ่งมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม คือ หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน 5) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา และ 7) กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กล่าวอีกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นสำหรับกลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 47 คน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารงาน

จากนั้นกิจกรรมในการประชุมระดมความคิดเห็นฯ เป็นการนำเสนอกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร การชี้แจงร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการฯ และการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน

จากการเปิดประชุมกลุ่มพนักงานสายวิชาการ และกลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำพา มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มีความพร้อมและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทิศทางของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการดำเนินงานทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ มีการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูล นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ของนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เรามีความตั้งใจที่จะนำ AI เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การตรวจข้อสอบ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายแนวโน้มต่าง ๆ ช่วยให้การตัดสินใจในการดำเนินกลยุทธ์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ที่จัดขึ้น โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมกันสร้างแผนปฏิบัติการดิจิทัล ที่ครอบคลุมและมีความยืดหยุ่นจากหลายมุมมอง ทำให้แผนปฏิบัติการดิจิทัลของเรา สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการอย่างหลากหลาย และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายให้รองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อมุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 10 ด้าน ได้แก่ (1) Smart IT Infrastructure (2) Smart Organization (3) Smart Learning (4) Smart Classroom (5) Smart Life & Health (6) Smart Hospital (7) Smart Transportation (8) Smart Security (9) Smart Green University และ (10) Smart Farming ซึ่งแผนดังกล่าวสิ้นสุดในปี 2567 นี้ ในวาระนี้ จึงถึงเวลาที่จะได้ทบทวนแผนเดิม และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและนำมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลต่อไป

โดยแผนดังกล่าว ควรจะมาจากความคิดเห็นร่วมกันจากทุกภาคส่วน จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและระดมสมอง รวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการดิจิทัลที่มีความครอบคลุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้วนำมากำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี 2) กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน 3) กลุ่มพนักงานสายวิชาการ ประกอบด้วย คณบดี อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักวิชาและวิทยาลัย 4) กลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ซึ่งมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม คือ หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน 5) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา และ 7) กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กล่าวอีกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นสำหรับกลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารงาน

จากนั้นกิจกรรมในการประชุมระดมความคิดเห็นฯ เป็นการนำเสนอกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร การชี้แจงร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการฯ และการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล “สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล“สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางวัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นายนันทชัย ไชยเสน ตำแหน่ง รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล และ นางนวพร ไชยเสน ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นผู้แทนหน่วยงานถวายพานพุ่มเครื่องราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ ในพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล“สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางวัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล“สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางวัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567

วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ

โดยมี พันเอกสุวัฒน์ ทองใบ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 พ.ต.อ.อภิชาต จันทร์สำเร็จ ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรท่าศาลา ตัวแทนผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.นครศรีธรรมราช นางสุพัตรา สืบสม อนันตพงศ์ ผู้พิพากษาอาวุโสศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนผู้นำนักศึกษา ตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนรายรอบมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โอกาสนี้ ผู้เข้าร่วมพิธีได้ร่วมกันรับชมวีดิทัศน์พระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย จากนั้นผู้แทนหน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้แทนชาวชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ร่วมกันถวายเครื่องราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ ตามลำดับ

หลังจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานในพิธี ถวายพานพุ่มเครื่องราชสักการะ เปิดกรวยกระทงดอกไม้ อ่านบทถวายพระพร และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รำถวายพระพร ต่อหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พร้อมทั้งร่วมกันลงนามถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนชาวไทยสืบไป

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล“สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางวัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล“สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางวัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล“สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางวัฒน วรขัตติยราชนารี” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2567

ทั้งนี้ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และประชาชนทั่วไป ยังได้ร่วมกันบริจาคโลหิต ร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดพื้นที่มหาวิทยาลัย “Clean&Clear” ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์เพื่อถวายเป็นพระกุศลเนื่องในโอกาสดังกล่าว และขอเชิญร่วมกันลงนามถวายพระพรชัยมงคลและเยี่ยมชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ www.wu.ac.th ตั้งแต่วันที่ 1-15 กรกฎาคม 2567

ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก ส่วนสื่อสารองค์กร และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ขอประชาสัมพันธ์ช่องทางอบรม/พัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน ๓ ช่องทางได้แก่
(๑) OCSC Learning Portal ของสำนักงาน ก.พ.
(๒) Digital Government Learning Portal ของสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA)
(๓) TPQI E-Training ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
  โดยสามารถสมัครลงทะเบียนเข้าอบรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและได้รับใบประกาศนียบัตรเมื่อผ่านการประเมินหลักสูตร  รายละเอียดตาม Infographic ที่แนบมานี้ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานมีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมกิจกรรม PSU Cybersecurity and Data Privacy Days” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เข้าร่วมกิจกรรม PSU Cybersecurity and Data Privacy Days” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นายไพศาล พุมดวง นายวิศิษฏ์ เรืองพรหม และนายวิชชุกร ด่านเดชา เจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยวลัยลักษณ์  เข้าร่วมกิจกรรม “PSU Cybersecurity and Data Privacy Days” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.สงขลา

สำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจริยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำหนดจัดงาน “PSU Cybersecurity and Data Privacy Day” ระหว่างวันที่ 27 – 28 มิถุนายน 2567 ณ อาคารกีฬาและนันทนากร ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน เรื่อง Cybersecurity และ Data Privacy ในภาคใต้ของประเทศ

กิจกรรมภายในงานได้มีการบรรยายในหัวข้อดังนี้

  • ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย
  • กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • การรับมือจากการถูกโจมตีด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • Mitigating Today’s Threats with Fortinet AI-Powered Security ความมั่นคงทางไซเบอร์ ภัยคุกคาม ณ ปัจจุบันเป็นเช่นไร แนวทางในการ ป้องกันเป็นอย่างไร รวมไปถึงการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยป้องกันภัยคุกคามใน อนาคตได้อย่างไร
  • Cybersecurity awareness and against Ransomware: Prevention and Protection Strategies
  • Cybersecurity with AI
  • Securing identities against modern security threats Part1 แนวโน้มการโจมตีในยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นไปที่ Identity Security พร้อมเทคโนโลยีที่่ ช่วยป้องกัน
  • Enhancing organizational security with stellar cyber การ เสริมสร้างความปลอดภัยขององค์กรด้วย Stellar Cyber
  • บริหารจัดการผู้ใช้งานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
  • Get start to deploy and protection workload on AWS

โดยกิจกรรมมุ่งเน้นการป้องกันภัยไซเบอร์พร้อมทั้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งถือเป็นการเสริมสร้างการรับมือภัยคุกคามและการสร้างภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์

 

ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในห้อง E-Testing2 , E-Testing3 และ E-Testing4

ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้ง

ในช่วงวันที่ 20-27 มิถุนายน 2567 ทางทีมนายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ (Desktop PC) ในห้อง E-Testing2, E-Testing3, 

E-Testing4 จำนวน 152 เครื่องพร้อมเครื่องสำรองไฟ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 (Desktop PC Workstation สำหรับงานออกแบบ) จำนวน 50 เครื่องพร้อมเครื่องสำรองไฟ

สำหรับห้อง E-Testing2, E-Testing3,  E-Testing4 และห้องปฏฺิบัติการคอมพิวเตอร์ 1  พร้อมให้บริการการสำหรับการเรียนการสอนได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2567 เป็นต้นไป

ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้ง
ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในห้อง E-Testing2 E-Testing4
ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในห้อง E-Testing2 E-Testing4
ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในห้อง E-Testing2 E-Testing4
ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในห้อง E-Testing2 E-Testing4
ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กำลังดำเนินการติดตั้งคอมพิวเตอร์ใหม่ในห้อง E-Testing2 E-Testing4

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย รุ่น 3

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ณ ณ ห้อง e-Testing 4 อาคารคอมพิวเตอร์ ในการอบรมครั้งนี้ วิทยากรได้แนะนำเกี่ยวกับหลักสูตรที่รองรับการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ หลักสูตร การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งมี 3 ส่วนย่อย คือ

Part1 การเชื่อมต่อ Wi Fi สำหรับบุคลากร ม.วลัยลักษณ์ มีรายละเอียด ดังนี้

  • พื้นฐานระบบเครือข่ายไร้สาย
  • เรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อ SSID ประเภทต่าง ๆ
  • การแก้ไขปัญหากรณีต่าง ๆ
  • สถิติการใช้งานของมวล.
  • ตัวอย่าง การดักจับข้อมูล Hacking Wi Fi
  • พรบ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Part2 เรียนรู้แนวทางป้องกันภัยคุกคามจากการท่องอินเทอร์เน็ต มีรายละเอียด ดังนี้

  • ภัยคุกคามที่ใกล้ตัวและพบเจอบ่อยที่สุด
  • ประเภทของมัลแวร์
  • แนวทางป้องกันอันตรายจากการใช้งาน Internet
  • การตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างไรให้ปลอดภัย
  • การจัดการข้อมูลและการสำรองข้อมูล
  • การใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส

Part3 การใช้งานอีเมลอย่างปลอดภัย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ความสำคัญของความปลอดภัยทางอีเมล
  • ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อยผ่านทางอีเมล
  • พื้นฐานการใช้งานอีเมลอย่างปลอดภัย
  • การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง
  • การใช้การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (Two-Factor Authentication)
  • การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในบัญชีอีเมล
  • การระบุและจัดการกับอีเมลที่น่าสงสัย
  • สัญญาณของอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing)
  • การจัดการกับอีเมลขยะ (Spam)
  • การตรวจสอบลิงก์และไฟล์แนบในอีเมลก่อนคลิกหรือดาวน์โหลด

การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล คือ นายชณวัฒน์ หนูทอง นายสุริยะ เมืองสุวรรณ  นายวิศิษฏ์ เรืองพรหม นายวิเชียร จุติมูสิก นายวิชชุกร ด่านเดชา นายอวยชัย บุญญวงศ์ ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล  มีบุคลากรเข้าร่วม จำนวน 27 คน

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ขอประชาสัมพันธ์ช่องทางอบรม/พัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์

ประชาสัมพันธ์ช่องทางอบรม/พัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร)

 

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ขอประชาสัมพันธ์ช่องทางอบรม/พัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน ๓ ช่องทางได้แก่
(๑) OCSC Learning Portal ของสำนักงาน ก.พ.
(๒) Digital Government Learning Portal ของสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA)
(๓) TPQI E-Training ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

โดยสามารถสมัครลงทะเบียนเข้าอบรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและได้รับใบประกาศนียบัตรเมื่อผ่านการประเมินหลักสูตร รายละเอียดตาม Infographic ที่แนบมานี้

ประชาสัมพันธ์ช่องทางอบรม/พัฒนาทักษะดิจิทัลผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์ จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร)

ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานมีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทและพฤติกรรมที่คาดหวังในบริบทของการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมหลักสูตรการสร้าง Data Visualization เบื้องต้นด้วย Google Looker Studio Step By Step สำหรับนักศึกษา

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567  เวลา 09.00 -16.00 น ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลโดย ICT Academy ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “การสร้าง Data Visualization เบื้องต้นด้วย Google Looker studio Step By Step ” สำหรับนักศึกษา รายวิชา CPH64-352 Health Information Management ณ ห้องศรีธรรมราติชา อาคารวิชาการ 8 สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์

โดยมีวิทยากร นายชัยรัตน์ กาญจนอารี นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด และ นายอภิชาติ รักชอบ บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลแนะนำเกี่ยวกับการทำ Data Visualization นำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์ผ่าน Map แผนภูมิ กราฟ การ Blending Data และการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ การสรุปผล และการนำเสนอเพื่อให้น่าสนใจ เข้าใจง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และทดลองสร้างภาพแสดงผลข้อมูลด้วยตนเอง การอบรมครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมอบรม จำนวน 80 คน

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานสายวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

เมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานสายวิชาการ เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 อาคาร B ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571
ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มพนักงานวิชาการ เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำพา มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มีความพร้อมและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทิศทางของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการดำเนินงานทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ มีการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูล นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ของนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เรามีความตั้งใจที่จะนำ AI เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การตรวจข้อสอบ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายแนวโน้มต่าง ๆ ช่วยให้การตัดสินใจในการดำเนินกลยุทธ์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ที่จัดขึ้น โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมกันสร้างแผนปฏิบัติการดิจิทัล ที่ครอบคลุมและมีความยืดหยุ่นจากหลายมุมมอง ทำให้แผนปฏิบัติการดิจิทัลของเรา สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการอย่างหลากหลาย และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายให้รองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อมุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 10 ด้าน ได้แก่ (1) Smart IT Infrastructure (2) Smart Organization (3) Smart Learning (4) Smart Classroom (5) Smart Life & Health (6) Smart Hospital (7) Smart Transportation (8) Smart Security (9) Smart Green University และ (10) Smart Farming ซึ่งแผนดังกล่าวสิ้นสุดในปี 2567 นี้ ในวาระนี้ จึงถึงเวลาที่จะได้ทบทวนแผนเดิม และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและนำมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลต่อไป

 โดยแผนดังกล่าว ควรจะมาจากความคิดเห็นร่วมกันจากทุกภาคส่วน จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและระดมสมอง รวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการดิจิทัลที่มีความครอบคลุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้วนำมากำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี 2) กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน 3) กลุ่มพนักงานสายวิชาการ ประกอบด้วย คณบดี อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักวิชาและวิทยาลัย 4) กลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ซึ่งมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม คือ หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน 5) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา และ 7) กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กล่าวอีกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นสำหรับกลุ่มพนักงานสายวิชาการ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 31 คน จาก 20 หน่วยงาน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารงาน

จากนั้นกิจกรรมในการประชุมระดมความคิดเห็นฯ เป็นการนำเสนอกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร การชี้แจงร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการฯ และการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม