บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2566

เมื่อวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายไพศาล พุมดวง นายช่างเทคนิค ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแลถ่ายทอดสัญญาณ ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Cloud Meeting ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2566            ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างการรับรู้ (ร่าง) มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระบบคลาวด์ เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามนโยบาย Cloud First Policy

ตามนโนบาย Cloud First Policy ของรัฐบาลที่ต้องการให้หน่วยงานของรัฐมีการใช้งานคลาวด์ เพื่อรองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการให้เข้าถึงประชาชนอย่างสะดวกรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และส่งเสริมการใช้ AI อย่างปลอดภัยตอบสนองแนวโน้มการใช้งานด้านข้อมูลและการพัฒนานวัตกรรมของภาครัฐที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น มีบริการด้านซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มที่หลากหลายในการให้บริการประชาชน และลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการจัดหาและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย นั้น

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) มาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระบบคลาวด์ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) แล้วเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการประกาศในราชกิจจานเบกษา โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปิ นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ในการนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศได้เตรียมความพร้อมการใช้งานคลาวด์ตามนโนบาย Cloud First Policy ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนได้ตามวัตถุประสงค์ของนโยบายฯ ดังกล่าว

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จึงขอประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ สามารถศึกษารายละเอียกเพิ่มเติมได้ที่ (ร่าง) มาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระบบคลาวด์ เพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามนโยบาย Cloud First Policy

บุคลากร !!! ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม 

มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)

บุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)

           เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. วาริท เจาะจิตต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน WU Innovation Day 2024 พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  รองศาสตราจารย์ ดร. วาริท กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้เป็นการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ทางด้านการเรียนการสอน วิจัยและบริการวิชาการ เพื่อมุ่งสู่ High Performance Organization  เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานในแต่ละหน่วยงาน โดยผ่านการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานภายในหน่วยงาน ถือเป็นการเปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่พร้อม ๆ กับการเรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงาน ภายใต้แนวคิด “ลดขั้นตอน ลดเวลา และประหยัดงบประมาณ” ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งทุกหน่วยงานจะได้นำเสนอนวัตกรรมภายหลังจากการพัฒนาเรียบร้อยแล้ว

บุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
บุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)

และเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้าร่วมกิจกรรม WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) นำเสนอนวัตกรรมในเรื่อง “การปรับปรุงกระบวนการทำงาน และสถาปัตยกรรมของระบบเพื่อรองรับการใช้งานปริมาณมากในช่วงเวลาเดียวกัน กรณีศึกษา ระบบจองหอพัก” ซึ่งระบบนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ

  1. รองรับการเข้าใช้งานพร้อมกันปริมาณมากได้
  2. รับรองความถูกต้องและแม่นยำในการจองหอพัก ไม่เกิดการจองเกินจำนวนในห้องเดียวกัน และไม่เกิดการจองซ้ำเตียงเดียวกัน รวมถึงไม่เกิดการใช้สิทธิ์ซ้ำของนักศึกษา
  3. สรุปผลการจองหอพักได้ แบบ Realtime
  4. ลดขั้นตอนกระบวนการทำงานที่ยุ่งยากและลดข้อผิดพลาดจากการจัดเตรียมข้อมูลหอพัก (ห้อง,เตียง)
  5. การบริหารจัดการห้องว่างสำหรับการจอง มีความถูกต้องแม่นยำ
บุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
บุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)
บุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล WU Innovation Day 2024 เวทีพัฒนาศักยภาพบุคลากรผ่านนวัตกรรม มุ่งสู่ องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization)

ในการพัฒนาระบบการจองหอพักแบบใหม่ มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 

  1. รองรับการเข้าใช้งานพร้อมกันปริมาณมากได้ (ไม่ต่ำกว่า 2,000คน)
  2. รับรองความถูกต้องและแม่นยำในการจองหอพัก เกิดการจองเกินจำนวนในห้องเดียวกัน 0 กรณี  เกิดการจองซ้ำเตียงเดียวกัน 0 กรณี  เกิดการใช้สิทธิ์ซ้ำของนักศึกษา 0 กรณี
  3. สรุปผลการจองหอพักแบบ แบบ Realtime 
  4. ลดขั้นตอนกระบวนการทำงานที่ยุ่งยาก ทุกกระบวนการทำงานต่อเนื่องได้ผ่านระบบเดียว
  5. บรรลุเป้าหมายการทำงาน เปิดใช้งานทันปีการศึกษา 2567

ภาพบรรยากาศภายในกิจกรรม วันที่ 28 สิงหาคม 2567

ภาพบรรยากาศภายในกิจกรรม วันที่ 29 สิงหาคม 2567

คณะกรรมการกลาง 5ส Green เข้าตรวจประเมินพื้นที่ 5ส Green ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 15.00-16.00 น.

คณะกรรมการกลาง 5ส Green เข้าตรวจประเมินพื้นที่ 5ส Green ประจำปีงบประมาณ 2567

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับการตรวจประเมินพื้นที่ 5ส Green ประจำปีงบประมาณ 2567 จากคณะกรรมการกลาง 5ส Green มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามมาตรฐาน 5ส Green โดยมี นางณัฐรดา เลขาพันธ์ และ นางสาวณัฐปภัสร์ พรหมสวัสดิ์ ตัวแทนกรรมการ 5ส ของหน่วยงาน เป็นผู้นำเสนอข้อมูลและนำชมพื้นที่ของหน่วยงาน พร้อมตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ ผลการรับตรวจประเมินเป็นไปอย่างเรียบร้อยตามมาตรฐาน 5ส Green ที่กำหนดไว้อย่างดียิ่ง โดยได้รับผลคะแนนประเมิน 5.00 และขอขอบคุณในความร่วมมือของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลไว้ ณ โอกาสนี้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมทำกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับและร่วมทำกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ จำนวน 48 คน พร้อมด้วยคุณครู 5 คน เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00-10.00 น. ณ E-Testing2 อาคารคอมพิวเตอร์

นางณัฐรดา เลขาพันธ์ รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ พร้อมด้วยทีมงานจากฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 3 คน ให้การต้อนรับและร่วมทำกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 (อายุ 3-5 ปี) จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ ภายใต้โครงการ/กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (โครงการจัดบริการสารสนเทศและ ICT) ประจำปีการศึกษา 2567 ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลูกฝังให้เด็กรักการเรียนรู้ คิดค้นหาคำตอบผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก โดยมีการทำกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียนรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิชาติ รักชอบ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ ในครั้งนี้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดประชุมคณะกรรมการประจำศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 1/2567 

มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

     ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการประจำศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมช่อประดู่ ชั้น 4 อาคารจุฬาภรณเวชวัฒน์ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีวาระหลักในการพิจารณาแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568 – 2571 สำหรับการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล

    คณะกรรมการประจำศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มีองค์ประกอบคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจากภายนอก และผู้แทนจากกลุ่มสำนักวิชาภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม กิจศิริกุล ตำแหน่งปัจจุบัน ศาสตราจารย์ระดับ 10 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เป็นศาสตราจารย์คนแรกของประเทศไทยในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์) และ ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ ตำแหน่งปัจจุบัน Director of Artificial Intelligence Research Group Principal Researcher ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ: NECTEC สวทช และเป็นอุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT)

     สำหรับประเด็นสำคัญในการนำเสนอคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล คือการพิจารณา แผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568 – 2571 ทั้งนี้ได้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำเสนอความเป็นมา ความสำคัญ และกระบวนการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และ อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล สถานภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามลำดับ

     จากการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้รับข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568 – 2571 สำหรับการนำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบต่อไปในระยะ 4 ปี

ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ เพื่อการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู

ทีมงานนายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ เพื่อการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู

ในช่วงวันที่ 15-16 สิงหาคม 2567 ทีมงานนายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ 296 เครื่อง จำนวน 6 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำหรับจัดการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 2/2567 ในเดือนสิงหาคม 2657 ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2567 และ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 – วันที่ 1 กันยายน 2567

ภาพบรรยากาศการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู            ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2567

เจ้าหน้าที่ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าติดตั้ง Internet AP เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รองรับการใช้งานในโครงการ “รู้ TCAS 68 ก่อนใครกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 นายจักรินทร์ ล้วนศิริ หัวหน้าฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล พร้อมด้วย นายวิเชียร จุติมูสิก นายทินกร ปิยะพันธ์ นายสุริยะ เมืองสุวรรณ นายช่างเทคนิค ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าติดตั้ง Internet AP เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่มีความเสถียรในการใช้งาน รองรับการใช้งานในโครงการ “รู้ TCAS 68 ก่อนใครกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” ในวันศุกร์ ที่ 26 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมไทยบุรี อาคารไทยบุรี เพื่อให้ผู้บริหาร คุณครูแนะแนว นักเรียนสามารถเข้าใช้ Internet เพื่อเข้าเว็บไซต์รับสมัครได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

งานวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลระบบ TCAS 68 และ การประชาสัมพันธ์ การรับนักศึกษา กับผู้บริหาร อาจารย์แนะแนว และนักเรียนได้รู้จักมหาวิทยาลัย ระบบการเรียนการสอนและ เครื่องมือที่ทันสมัย โดยมีท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นวิทยากรพิเศษในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งภายในโครงการจะมีการรับสมัครและสอบสัมภาษณ์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2568 โครงการ “รู้ TCAS 68 ก่อนใครกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” จัดขึ้นโดย ศูนย์บริการการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ภาพกิจกรรม

ขอขอบคุณภาพจากศูนย์บริการการศึกษา

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติ (Essay auto-grade) ผ่านระบบ WU Exam

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติ (Essay auto-grade) ผ่านระบบ WU Exam

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 -16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลโดย ICT Academy ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ การพัฒนาข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติ (Essay auto-grade) ผ่านระบบ WU Exam โดย นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากร มีคณาจารย์เข้าร่วม จำนวน 7 คน โดยวิทยากรแนะนำระบบตรวจข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติ WU Exam ในการเข้าใช้งานระบบ การกำหนดเกณฑ์การตรวจให้คะแนน สร้างข้อสอบอัตนัย สร้างแบบทดสอบ ทดสอบ ตรวจสอบผลการให้คะแนน รวมถึงส่งออกผลการทำข้อสอบและคะแนน

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติ (Essay auto-grade) ผ่านระบบ WU Exam
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาข้อสอบอัตนัยอัตโนมัติ (Essay auto-grade) ผ่านระบบ WU Exam

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571

เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางและจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ บุญรอดชู ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นประธานเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ณ ห้องประชุมหัวตะพาน ชั้น 3 อาคาร A ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวรายงาน

ศทท. จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มผู้แทนนักศึกษา

จากการเปิดประชุมกลุ่มพนักงานสายวิชาการ และกลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำพา มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ที่มีความพร้อมและสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทิศทางของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในด้านมหาวิทยาลัยดิจิทัลนั้น คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สามารถรองรับการดำเนินงานทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ มีการขับเคลื่อนนวัตกรรมและการตัดสินใจในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อมูล นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัล (Digital Skills) ของนักศึกษาและบุคลากร เพื่อให้สามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างชำนาญ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในด้านของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เรามีความตั้งใจที่จะนำ AI เข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การตรวจข้อสอบ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำมาใช้ช่วยในการวิเคราะห์ ทำนายแนวโน้มต่าง ๆ ช่วยให้การตัดสินใจในการดำเนินกลยุทธ์มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อกำหนดแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ที่จัดขึ้น โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ร่วมกันสร้างแผนปฏิบัติการดิจิทัล ที่ครอบคลุมและมีความยืดหยุ่นจากหลายมุมมอง ทำให้แผนปฏิบัติการดิจิทัลของเรา สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการอย่างหลากหลาย และรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563-2567) ในการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายให้รองรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อมุ่งไปสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ 10 ด้าน ได้แก่ (1) Smart IT Infrastructure (2) Smart Organization (3) Smart Learning (4) Smart Classroom (5) Smart Life & Health (6) Smart Hospital (7) Smart Transportation (8) Smart Security (9) Smart Green University และ (10) Smart Farming ซึ่งแผนดังกล่าวสิ้นสุดในปี 2567 นี้ ในวาระนี้ จึงถึงเวลาที่จะได้ทบทวนแผนเดิม และจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2568-2571 ขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและนำมหาวิทยาลัยสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิทัลต่อไป

โดยแผนดังกล่าว ควรจะมาจากความคิดเห็นร่วมกันจากทุกภาคส่วน จึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและระดมสมอง รวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการดิจิทัลที่มีความครอบคลุม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แล้วนำมากำหนดทิศทางและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยมีการแบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดี 2) กลุ่มผู้บริหารระดับผู้อำนวยการศูนย์ สถาบัน และอุทยาน 3) กลุ่มพนักงานสายวิชาการ ประกอบด้วย คณบดี อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสำนักวิชาและวิทยาลัย 4) กลุ่มพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป ซึ่งมีผู้แทนเข้าร่วมการประชุม คือ หัวหน้าส่วน หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน 5) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 6) กลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา และ 7) กลุ่มพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กล่าวอีกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นสำหรับกลุ่มผู้แทนนักศึกษา ประกอบด้วย องค์การบริหารนักศึกษา ประธานชมรม นายกสโมสร และสภานักศึกษา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการบริหารงาน

จากนั้นกิจกรรมในการประชุมระดมความคิดเห็นฯ เป็นการนำเสนอกรอบนโยบายการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร การชี้แจงร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว กิจกรรมแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นต่อแผนปฏิบัติการฯ และการนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม