เนื่องจากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลมีความจำเป็นต้องปิดให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ให้บริการเว็บไซต์มหาวิทยาลัย เว็บไซต์หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ในวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2564 เวลา 20.00-24.00 น. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หากดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะเปิดให้บริการทันที ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายพงศ์ธน ฤดีอัครเสรี โทรศัพท์ภายใน 73453
 
จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญไปเป็น Speaker ในงาน Powering Digital Thailand 2022 – HUAWEI CLOUD & CONNECT จัดโดย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอก คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งท่านอธิการบดีได้ถ่ายทอดประสบการณ์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการนำเทคโนโลยีมาทรานสฟอร์มในด้านต่าง ๆ เพื่อก้าวสู่การเป็น Smart University ทั้งการจัดการเรียนการสอนในระบบ Smart Classroom, Smart Laboratory, Smart Transportation การนำเทคโนโลยี SDN และ Data Center ที่ประหยัดพลังงานมาใช้ในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ Smart Hospital, ระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS) และการก้าวสู่ Word Ranking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นผู้ประสานงานและจัดทำข้อมูลในครั้งนี้ ขอขอบคุณภาพและข่าว จาก หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร

          เมื่อวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8.30-12.00 น. ดร.เปรมฤดี  นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้บริหาร หลักสูตร “กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่ World Class University” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤศจิกายน 2564 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคาร A โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เพื่อให้ผู้บริหารหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยได้รับทราบนโยบายการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่ World Class University และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผล พร้อมทั้งเพื่อให้ผู้บริหารหน่วยงานได้นำเสนอกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนผลการปฏิบัติงานสู่เป้าหมายดังกล่าวมหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานการสัมมนาครั้งนี้
          ดร.เปรมฤดี ได้นำเสนอกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลใน 3 ประเด็น ได้แก่
          1. กลยุทธ์การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบรรลุเป้าหมาย
          2. กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรในการทำงานเป็นทีม
          3. กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรให้ไม่มีผู้ได้รับการประเมินต่ำกว่า 80 คะแนน
          ซึ่งท่านอธิการบดีได้ให้ข้อคิดเห็นในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มเติมเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ดังนี้
          1. ขอให้บุคลากรทุกท่านพัฒนาตนเอง ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
          2. การให้บริการแก่องค์กร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
              2.1 การบริการให้แก่นักศึกษา ต้องบริการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
              2.2 การให้บริการแก่องค์กร ต้องทำให้องค์กรมีความทันสมัยด้านเทคโนโลยี
          3. วิธีการคิดของพนักงาน ต้องคิดแบบทันสมัย เพราะโลกเปลี่ยนเร็ว หลักคิดคือ “ทำให้ดีที่สุด”
          4. ขอให้ติดตามเรื่อง Quantum Technology
          การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าวได้มีกำหนดการแบ่งกลุ่มหน่วยงานให้นำเสนอกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สู่ World Class University ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมนำเสนอในกลุ่มศูนย์ สถาบัน และอุทยาน และกลยุทธ์ที่หน่วยงานนำเสนอในครั้งนี้ จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2565 ต่อไป

วันนี้ (16 พ.ย. 64) ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ส่วนพัสดุ จัดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop PC ยี่ห้อ Lenovo (Computer ThinkCentre M72e, Monitor Lenovo 18.5 นิ้ว) จำนวน 25 ชุด ผ่านการใช้งานมาแล้วมากกว่า 8 ปี (ซื้อเมื่อปี พ.ศ.2556) ราคาชุดละ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) โดยให้สิทธิ์เฉพาะพนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งผู้สนใจเข้าร่วมสั่งจองจำนวนมาก

การจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ครั้งนี้ จำกัดจำนวนการสั่งจองท่านละ 1 ชุดเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายให้ทั่วถึงกัน

computer

computer

computer

computer

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ นายจักรินทร์ ล้วนศิริ หัวหน้าฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาดูงานแนวปฏิบัติที่ดีและประสบการณ์ (Base Practice) ทางด้านระบบเครือข่ายและระบบสำรองข้อมูลทางการแพทย์ ณ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบและตัดสินใจดำเนินการจัดทำ TOR ระบบจัดเก็บและสำรองข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ ได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนทุกด้าน โดยได้รับความกรุณาจาก นายภทรภรต ภภัทร์สทธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และทีมงาน ที่ได้ให้ข้อมูลและถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ยิ่ง

การศึกษาดูงานในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาข้อมูล และถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งในเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์ การเลือกใช้งานเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับโรงพยาบาล ตลอดจนการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนจัดซื้อระบบจัดเก็บและสำรองข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้สามารถจัดเก็บและสำรองข้อมูลของผู้ป่วย การค้นหาเวชระเบียนประกอบการรักษา การฟื้นฟูสภาพ และการวินิจฉัยโรคได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

จากนั้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี และทีมงาน ได้มีการประชุมรับฟังการนำเสนอผลิตภัณฑ์เครื่องแม่ข่าย (Server) ระบบ Hyper Converged Infrastructure (HCI) และระบบ Backup จาก 3 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท HP Thailand , บริษัท DELL Thailand และ บริษัท SANGFOR Thailand ณ ห้องบรรยาย 1 หน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร และออนไลน์ผ่านระบบ  Zoom Cloud Meeting

เนื่องจาก ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะดำเนินการปรับปรุงโครงข่าย UniNet ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๔ พฤศจิกายน 2564 ส่งผลให้ระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยใช้งานไม่ได้ วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2564 เวลา 18.00 – 24.00 น.และ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน 2564 เวลา 00.00 – 06.00 น. 
เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วจะเปิดให้ใช้งานตามปกติ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีกับพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ที่ได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 90.00 คะแนนเป็นต้นไป ประจำปีงบประมาณ 2564 ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง รายชื่อพนักงานที่ได้รับผลการประเมินการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 90.00 คะแนน ขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ 2564 ฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 20 คน นับเป็นผลสำเร็จสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และทีมบริหารของหน่วยงานนำทีมดีเยี่ยม 100%

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขอประกาศรายชื่อไว้เพื่อเป็นการชื่นชมคุณค่าบุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเยี่ยม ด้วยความทุ่มเทและเสียสละ

excellence     excellence

 

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรม เรื่อง แนวทางปฏิบัติงานและการประเมินตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง มาตรฐานภาระงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป พ.ศ. 2564 ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณสมพร  บุญเกียรติเดชากุล หัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เป็นวิทยากรบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

การอบรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อซักซ้อมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ปีงบประมาณ 2565 ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ซึ่งพนักงานต้องมีภาระงานรวมทุกประเภทในรอบปีประเมิน ตามสัดส่วนภาระงาน ดังนี้
1. ภาระงานตามภารกิจหลัก (Function Base)
2. ภาระงานตามยุทธศาสตร์ นโยบายเร่งด่วน หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายพิเศษ (Agenda Base)
3. ภาระงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม (Research and Innovation Base) หรือผลงานเชิงวิเคราะห์ หรือผลงานเชิงสังเคราะห์ หรือผลงานเชิงพัฒนาตามภารกิจหลัก หรือผลงานประเภทหนังสือฉบับสมบูรณ์

ทั้งนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลนับเป็นหน่วยงานแรกที่จัดอบรมพนักงานให้รับทราบแนวทางการปฏิบัติงานและการประเมินดังกล่าว

innovation

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การบันทึก มคอ.3 ในระบบ TQF ให้กับอาจารย์ใหม่ โดยมี นางสาวสุภาพร ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากรในการอบรมดังกล่าว ซึ่งมีอาจารย์เข้าร่วมจำนวน 30 คน

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2564 เวลา 13.30-16.30 น. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ e-Learning ให้แก่บุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี นางสาวภัทรานิษฐ์ โยธินวัฒนบำรุง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากร มีบุคลากรสายวิชาการ เข้าร่วมอบรมจำนวน 30 คน