ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 30 มกราคม 2568 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารและจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมศรีปราชญ์ ชั้น 3 อาคารศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการประชุมครั้งนี้ มีการพิจารณารายละเอียดการของบประมาณเพื่อดำเนินการจัดจ้างติดตั้งระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) สำหรับการรักษาความปลอดภัย การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลและการสืบค้นข้อมูล ทั้งนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้ร่วมให้ข้อมูลด้านเทคนิค และแนวทางการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยงานในพื้นที่ การประชุมดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนและบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและการบริหารข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทย

อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบเกียรติบัตรแสดงความยินดี แก่นักศึกษาฝึกงาน

เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 ในวาระก่อนการประชุมบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 1/2568  ณ ห้องประชุมช่อประดู่ ชั้น 4 อาคารจุฬาภรณเวชวัฒน์ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบเกียรติบัตรแสดงความยินดีแก่นักศึกษาฝึกงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้ นายภาวัต ทาทอง นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 สาขาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี ได้เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหน่วยงานให้บริการด้านระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งได้มีการรับนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้ามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย ระบบสารสนเทศ ระบบโทรคมนาคม และการพัฒนาระบบงานต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

โดยมี ผศ.ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมแสดงความยินดีพร้อมอวยพรให้ประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าในการเรียนและการทำงานในอนาคตด้วยเช่นกัน

 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมประชุมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย

วันที่ 29 มกราคม 2568 ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้ประชุมร่วมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) สำนักงานบริการลูกค้า จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อหารือแนวทางการดำเนินการติดตั้ง การส่งมอบงาน และการบริหารสัญญาของระบบบริการวงจรเช่าเชื่อมโยงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2568

การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นการกำหนดแนวทางการติดตั้งอุปกรณ์และการเชื่อมโยงวงจรเครือข่ายคอมพิวเตอร์กับศูนย์แพทย์ศึกษา โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ศูนย์แพทย์ศึกษา โรงพยาบาลตรัง และวิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ เพื่อให้โครงข่ายอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยสามารถรองรับการเรียนการสอนทางการแพทย์ การใช้งานระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

ในเบื้องต้น ทางบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จะเร่งดำเนินการติดตั้งและส่งมอบงานให้เสร็จสิ้นตามสัญญาที่กำหนด พร้อมทั้งให้การดูแลบำรุงรักษาตลอดระยะเวลาของสัญญา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะดำเนินการติดตามความคืบหน้าและประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการเป็นไปตามเป้าหมายและสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล และจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสปีใหม่

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรในหน่วยงาน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ 2566 สร้างความสนุกสนานและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในบุคลากรของหน่วยงาน

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ดร.ฐิมาพร เพชรแก้วรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และ อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย หัวหน้าฝ่าย และบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระ ณ บริเวณโถงกลางของอาคารคอมพิวเตอร์ โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และฉันภัตตาหารเพลพร้อมถวายสังฆทาน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่หน่วยงานและบุคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานไปด้วยความอยู่เย็นเป็นสุขและประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมส่งท้ายปีต้อนรับปีใหม่เพื่อสานสัมพันธ์ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะให้แก่บุคลากรในหน่วยงานอีกด้ว

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าเยี่ยมสวัสดีปีใหม่ หน่วยงานภายใน ม.วลัยลักษณ์

คณะผู้บริหาร พร้อมด้วย หัวหน้าฝ่าย และบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าเยี่ยมสวัสดีปีใหม่ หน่วยงานภายใน ม.วลัยลักษณ์ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2568 ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 – มกราคม 2568 ที่ผ่านมา

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าเยี่ยมคารวะและสวัสดีปีใหม่อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์

เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2568 นำโดย ผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผศ.ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วยพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าเยี่ยมคารวะและสวัสดีปีใหม่ ท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ  ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ได้อวยพรปีใหม่ให้ผู้บริหารและพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลด้วย 

ประกาศรับสมัครพนักงานตำแหน่งวิศวกร ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความประสงค์รับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกบรรจุเป็นพนักงานโดยจัดทำสัญญาจ้างทำงาน ตำแหน่งวิศวกร สังกัดฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จำนวน 1 อัตรา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.  คุณสมบัติทั่วไป

ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 11 แห่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล  พ.ศ. 2561

2. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

(1)  สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วุฒิวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

(2)  มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.75

(3)  มีประสบการณ์การทำงานด้านการดูแลระบบเครือข่ายไม่ต่ำกว่า 1 ปี

(4)  มีความรู้ในการควบคุมดูแล วิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบสายและแบบไร้สาย

(5)  มีความรู้ด้านการดูแลและบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย สามารถจัดการดูแล Server (Linux Server และ Windows Server) ได้ในระดับเบื้องต้น

(6)  มีความรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับเบื้องต้น หากมีใบประกาศนียบัตรจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติจะพิจารณาเป็นพิเศษ

(7)  มีทักษะด้านการสื่อสาร และสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษพื้นฐานได้

(8)  สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาทำการได้

3.  คุณสมบัติอื่น ๆ

(1)  มีความรู้ความสามารถตรงสายงานที่สมัครเป็นอย่างดี และมีความเข้าใจในปรัชญา ปณิธาน และภารกิจของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อย่างแท้จริง

(2)  เป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติงานประจำเต็มเวลา  และนอกเวลาทำการตามที่ได้รับมอบหมายได้

(3)  เป็นผู้ใฝ่รู้และมีความตั้งใจจริงในการทำงาน รวมทั้งต้องสามารถอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย

(4)  เป็นผู้มีความเข้าใจและยอมรับเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพการทำงานและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4.  ภาระงาน

(1)  ด้านปฏิบัติการ

(1.1) ควบคุม ดูแล ติดตั้ง ออกแบบ แก้ไขปัญหาการใช้งานของระบบเครือข่ายสายและไร้สาย

(1.2) ควบคุม ดูแล แก้ไขปัญหาระบบให้บริการ Server ของมหาวิทยาลัยสำหรับให้บริการระบบ

สารสนเทศต่าง ๆ ให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

(1.3) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลอุปกรณ์ระบบเครือข่าย เพื่อการวางแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบเครือข่ายให้สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

(1.4) งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

(2)  ด้านการบริการ

(2.1) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหา ให้แก่นายช่างเทคนิค รวมถึงผู้ใช้บริการและผู้รับบริการ

เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

(2.2) ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อ

ประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

(3)  งานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

5.  อัตราเงินเดือน   อัตราเดือนละ 19,000 บาท

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาเพิ่มค่าประสบการณ์การทำงานที่ตรงกับตำแหน่งงานที่บรรจุโดยผู้สมัครจะต้องยื่นหนังสือรับรองการทำงานประกอบการสมัครงานด้วย

 

WU NO PLASTIC BAGS นโยบายห้ามใชโฟมสําหรับบรรจุอาหารและงดหรือลดปริมาณพลาสติกภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

WU NO PLASTIC BAGS 

นโยบายห้ามใช้โฟมสำหรับบรรจุอาหารและงดหรือลดปริมาณพลาสติกภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งการดำเนินการตามแนวปฏิบัติดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทางโดยใช้หลัก 3Rs ได้แก่ 

  • การลดปริมาณขยะ (Reduce )
  • การนํากลับมาใช้ซํ้า (Reuse)
  • การหลีกเลี่ยงที่จะสร้างขยะ (Reject) 

เป็นการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสีเขียวและการพัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ด้านการลดการใช้พลาสติกและการบริหารจัดการขยะ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการนำนโยบายดังกล่าว ไปปฏิบัติใช้อย่างเป็น รูปธรรม เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดทีมเจ้าหน้าที่สนับสนุนการสอบใบอนุญาตวิชาชีพเภสัชกรรม (PLE-CC1) ออนไลน์ทั่วประเทศ

ด้วยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้รับมอบหมายให้สนับสนุนการดำเนินการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (PLE-CC1) ในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2567 ระหว่างเวลา 13.00-17.00 น. มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี:

  • จัดเตรียมระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 3 ห้องสอบในอาคารเรียนรวม รองรับนักศึกษาที่เข้าสอบจำนวน 135 คนตลอด 2 วัน
  • จัดทีมเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมของระบบและผู้เชี่ยวชาญดูแลประจำศูนย์สอบ เพื่อให้การสนับสนุนทางเทคนิค

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจว่าการสอบจะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาดูงานหน่วยงานด้าน IT สำหรับการสร้าง Informatics City มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ !!!

ตามที่ มหาวิทยาลัยจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. พ.ศ.2568-2571 ขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก นโยบายรัฐบาลดิจิทัลของประเทศ และแนวทางมหาวิทยาลัยดิจิทัล ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ตลอดจนเพื่อตอบสนองต่อแผน ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยแผนปฏิบัติการดิจิทัลฯ นี้จะใช้เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนา และยกระดับด้านดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล สนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัย แผนปฏิบัติการดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. พ.ศ.2568-2571 ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 การให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย (Providing Digital Technology Services to Support University Operations) เป้าประสงค์2.5 ขับเคลื่อนการจัดตั้ง Informatics City เพื่อให้บริการนักศึกษา บุคลากร และผู้ใช้บริการภายนอกที่มีความทันสมัย โดยมีกลยุทธ์/แนวทาง ศึกษาแหล่งเรียนรู้ตัวอย่างและสำรวจความต้องการใช้งาน Informatics City

 ในระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 ทีมงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ศึกษาดูงานหน่วยงานด้าน IT เพื่อจัดทำข้อมูลความต้องการสำหรับการก่อสร้าง Informatics City มหาวิทยาลัยวลัย นำโดย ผู้ช่วยอธิการบดี (ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร) รก. ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล (ผศ.ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว) รก.รอง ผอ.และหน.ฝ่ายทุกฝ่าย โดย

  • วันที่ 2 ธ.ค. 67 ศึกษาดูงาน โครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (วังจันทร์วัลเลย์) ศึกษาดูงานที่ศูนย์ปฏิบัติการ อัจฉริยะ (Intelligent Operation Center : IOC) จังหวัดระยอง
  • วันที่ 3 ธ.ค. 67 ศึกษาดูงานที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สาขาภาคตะวันออกและศึกษาดูงานที่ AIS EEC : Evolution Experience Center จังหวัดชลบุรี
  • วันที่ 4 ธ.ค. 67 ศึกษาดูงานที่ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ITMX (อาคารสมาคมธนาคารไทย และบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด) กรุงเทพมหานคร

การศึกษาดูงานในครั้งนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะนำข้อมูลที่ได้รับมาเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้ประโยชน์และออกแบบเพื่อสร้างอาคาร Informatics City มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต่อไป