วันนี้ (23 ธันวาคม 2564) เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ e-Learning ให้แก่อาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีวิทยากร คือ นางสาวภัทรานิษฐ์ โยธินวัฒนบำรุง โปรแกรมเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล การอบรมครั้งนี้มีอาจารย์สนใจเข้าร่วม จำนวน 20 คน

training

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30-15.30 น. นางสาวสุภาพร  ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมการบันทึก มคอ.3 ในระบบ TQF ภายใต้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการเขียน มคอ.3 และ Formative assessment ซึ่งจัดโดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting โดยมี ผศ.ดร. สุธัญญา  ด้วงอินทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรเป็นวิทยากรหลักและวิทยากรในภาคเช้าของกิจกรรมดังกล่าว

กิจกรรมการอบรมครั้งนี้มีอาจารย์เข้าร่วมจำนวน 23 คน ส่วนมากเป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์การสอน

formative assessment   formative assessment

formative assessment   formative assessment

เมื่อวันพุธที่ 22 ธันวาคม 2564 เวลา 13.20 น. ดร.มงคล ธีระนานนท์ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วยทีมงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าพบนายวีระพรรณ สุขะวัลลิ นายอำเภอท่าศาลา เพื่อสวัสดีปีใหม่ 2565 และนำเสนอโครงการท่าศาลาเมืองอัจฉริยะ (Thasala Smart City) จากนั้นได้เดินทางไปเข้าพบนายชาคริต สังขนิตย์ รองนายกเทศมนตรีตำบลท่าศาลา เพื่อสวัสดีปีใหม่ 2565 และนำเสนอโครงการท่าศาลาเมืองอัจฉริยะ (Thasala Smart City) ตามลำดับด้วย

โครงการท่าศาลาเมืองอัจฉริยะ (Thasala Smart City) เป็นโครงการนำร่องสำหรับการพัฒนาเมืองท่าศาลา ซึ่งในระยะที่ 1 ประกอบด้วย จำนวน 2 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมเมืองท่าศาลาด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ 5G และโครงการเชื่อมโยงรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไปยังชุมชนท่าศาลาด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ 5G เพื่อมุ่งสร้างเมืองท่าศาลาให้ทันสมัย ปลอดภัยและมีความสุข

จากการนำเสนอโครงการและหารือร่วมกัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากนายอำเภอท่าศาลาและนายกเทศมนตรีตำบลท่าศาลานำมาปรับปรุงและกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ในภาพรวมของอำเภอท่าศาลาและการมุ่งไปสู่ Thasala Smart City ในอนาคต

สวัสดีปีใหม่และประชุมร่วมกับนายอำเภอท่าศาลา

สวัสดีปีใหม่และประชุมร่วมกับเทศบาลตำบลท่าศาลา

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 13.00-15.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร. วรวุฒิ  สมศักดิ์ รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมประชุมกับศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลในการประชุมหน่วยงานประจำเดือนธันวาคม 2564 ณ ห้องประชุมตุมปัง อาคารบริหาร เพื่อทำความรู้จักและมอบนโยบายการดำเนินงาน ในโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งและเป็นผู้กำกับดูแลศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

ในโอกาสนี้ ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำทีมบุคลากรกว่า 40 คน ให้การต้อนรับและประชุมร่วมกัน

เช้านี้ (16 ธ.ค. 64) เวลา 9.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมการใช้งานระบบคัดกรองนักศึกษา ให้แก่บุคลากรภายในศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting โดยมีวิทยากรจากบริษัทหัวเว่ย ประเทศไทย เพื่อเป็นหน่วยงานนำร่องการใช้งานระบบ และทดสอบระบบสำหรับรองรับการดูแลบุคลากรและนักศึกษาในการเปิดภาคเรียนที่ 3/2564 ซึ่งจะมีการเรียนการสอน On Site ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมบุคลากรภายใน

ระบบคัดกรองนักศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. Preventive เป็นการใช้งานในส่วนของผู้ใช้ทั่วไป ภายใต้ชื่อแอพพลิเคชั่น Time-in โดยผู้ใช้งานจะต้องมีการส่งข้อมูลตรวจเช็คตนเองเข้าในระบบทุกวันก่อนเข้ามาภายในมหาวิทยาลัย เช่น อุณหภูมิ ตอบแบบประเมินความเสี่ยง ผลการตรวจ ATK เป็นต้น หากระบบตรวจสอบผู้ที่มีความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะทำการส่งข้อมูลไปยังส่วนของ Isolation
2. Isolation เป็นการใช้งานในส่วนของผู้ป่วยที่ผลตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 และโรงพยาบาล  ภายใต้ชื่อแอพพลิเคชั่น STEMS สำหรับการดูแล รักษา ติดตามต่อไป

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นหน่วยงานนำร่องทดสอบการใช้งานระบบเพื่อประเมินความคุ้มค่าและความมีเสถียรภาพของระบบ สำหรับพิจารณานำมาใช้งานต่อไป

 

วันนี้ (15 ธ.ค. 64) นายไพศาล  พุมดวง หัวหน้างานระบบเครือข่ายไร้สายและสื่อสาร  ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง การใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meeting ให้แก่บุคลากรสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการสัมภาษณ์คัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ ห้องประชุม 1 อาคารศูนย์คอมพิวเตอร์

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดโครงการสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและการปฏิบัติงานแก่หน่วยงานผู้ขอรับบริจาคในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวนรวมทั้งสิ้น 32 เครื่อง โดยมีโรงเรียนที่ได้รับการจัดสรร 8 โรงเรียน จัดสรรโรงเรียนละ 4 เครื่อง ได้แก่ โรงเรียนบ้านสุวรรณเขต โรงเรียนอนุบาลวัดใหม่ไทยเจริญ โรงเรียนบ้านใสเหรียง โรงเรียนบ้านหนองหว้า โรงเรียนบ้านเขาทราย โรงเรียนบ้านน้ำขาว โรงเรียนบ้านปากลง และโรงเรียนบ้านพิตำ

เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงจัดโครงการตามวิถี New Normal โดยกำหนดให้แต่ละหน่วยงานมารับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการจัดสรรระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 17 ธันวาคม 2564 เพื่อลดการรวมตัวในพื้นที่

โครงการสนับสนุนคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน เป็นโครงการที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลให้การสนับสนุนคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยใช้งานเกิน 5 ปี แต่ยังมีสภาพที่ดี มีความเร็วที่เหมาะสม และสามารถใช้สำหรับงานทั่วไปได้เป็นอย่างดีให้แก่โรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง และหน่วยงานราชการในท้องถิ่นที่ขาดแคลนคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้ดำเนินการโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 และต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนจะมีหนังสือแจ้งมาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

จากการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา และการติดตามผลการดำเนินการปรากฏว่าหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนสามารถนำคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการสนับสนุนไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช้อปสะดวก ถึงบาดเจ็บก็สบาย!!

ธนาคารกรุงไทยเปิดให้บริการบัตรเดบิต สำหรับ นิสิต/นักศึกษาจบใหม่ เปลี่ยนบัตรวันนี้รับส่วนลดถึง 200 บาท!!

เพียงสมัครบัตรเดบิตกรุงไทย เพิร์ล ผ่านแอปฯ NEXT (โค้ด KTB200) และโปรโมชั่นร่วมกับบัตรเดบิตกรุงไทยอีกมากมาย

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://krungthai.com/th/krungthai-update/promotion

 

เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ดร.เปรมฤดี  นุ่นสังข์  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

พิธีลงนามในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานพิธีลงนาม พร้อมคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ระดับ รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วน-หน่วย-สำนักงาน ผู้จัดการ และผู้กำกับดูแล จำนวน 65 คน ร่วมพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565

 

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวว่า พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงานถือเป็นการทำสัญญาร่วมกันว่าปีนี้จะทำอะไรเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับประเทศ และเป็นมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของโลก ซึ่งผลจากการทำงานอย่างหนักของทุกฝ่ายมาตลอดทั้งปี ทำให้ปี 2564 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีผลประเมินการประกันคุณภาพการศึกษา  4.93 จาก 5 คะแนนเต็ม อยู่ในระดับดีมากและสูงที่สุดเป็นประวัติการ เพิ่มขึ้นจาก ปี 2559 ที่ได้ 4.1 คะแนน แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะองค์กรที่มีคุณภาพสูง และปีนี้ผลการประเมินผลงานของฝ่ายวิชาการ มีหน่วยงานที่ได้รับผลการประเมินเกินมาตรฐานหลายหน่วยงาน ฝ่ายส่งเสริมวิชาการมีเจ้าหน้าที่ได้รับผลการประเมิน 80 คะแนนขึ้นไปมากถึง 96% ทำให้ภาพรวมของผลการประเมินในด้านการนำองค์กร ได้ 4.99 เต็ม 5  คะแนน