เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2565 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ นับเป็นมหามงคลยิ่งในการน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติโดยรวม อันเป็นคุณูปการอย่างยิ่ง อีกทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน สร้อยพระนามของสมเด็จพระเจ้า น้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เป็นชื่อมหาวิทยาลัย โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีโดยมี นายไตรรัตน์ ไชยรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช  พันเอกสุวัฒน์ ทองใบ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 พ.ต.อ.เชิดชัย โชติสุทธิ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.นครศรีธรรมราช  ผู้นำนักศึกษา พร้อมด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนรายรอบมหาวิทยาลัยเข้าร่วมในพิธี

ในการนี้ ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นางสาวนวพร ไชยเสน รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ และนายวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้เป็นผู้แทนศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมพิธีถวายพานพุ่มเครื่องราชสักการะ และร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ และเป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนชาวไทยสืบไป

ขอขอบคุณ ภาพจากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา/ข้อมูลข่าวจากส่วนสื่อสารองค์กร

ถวายพระพรชัยมงคล

ถวายพระพรชัยมงคล ถวายพระพรชัยมงคล

เนื่องจากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลมีภารกิจปฏิบัติงานสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Exam) ของสำนักงาน ก.พ. ซึ่งได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสนามสอบในรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์ (Computer based)
ในการนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการและฝึกอบรมทางเทคโนโลยีดิจิทัล และฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร มีความจำเป็นต้องปฏิบัติงานจัดทำและดูแลระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ จึงทำให้การซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อาจจะมีความล่าช้ากว่าปกติ ระหว่างวันที่ 4 – 6 กรกฎาคม 2565
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

วันนี้ (20 มิ.ย.2565) เวลา 10.00น. ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับมอบเงินบริจาคสมทบทุนโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 1,000,000 บาทและเงินสนับสนุนทุนการศึกษาและกิจการมหาวิทยาลัยจำนวน 1,000,000 บาท จากคณะผู้บริหารธนาคารกรุงไทย นำโดย คุณกมล ธนนิธาพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณอดิชัย สาทิภักดี ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารทีมย่อย คุณอุดม ใยมณี รองผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารทีมย่อย คุณอิษฎ์กัญญา ธนาภาสังวาลย์นุช  เจ้าหน้าที่อาวุโส Segmentation พร้อมเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยในพื้นที่ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี และรองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์  กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วย ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และบุคลากรจากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องเกียรติยศ ชั้น 4 อาคารอำนวยการ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การมอบทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในครั้งนี้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนามหาวิทยาลัยอัจฉริยะและสังคมไร้เงินสด (WU Smart Society)และบริการจัดการทางการเงินผ่านระบบ Krungthai Digital Platform ระหว่าง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รวมถึงโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการของผู้ให้บริการด้านการศึกษา และอำนวยความสะดวกสบายแก่นักศึกษาและบุคลากรผู้ใช้บริการ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีการพัฒนา WU App ร่วมกัน เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคใหม่ในมหาวิทยาลัย ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานโดยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ขอขอบคุณ ข้อมูลและภาพข่าวจาก ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://www.wu.ac.th/th/news/21452?fbclid=IwAR2NJtorsCgsWamXDiHW85TW5DRMKDF6SAdEKlsbkJG97_GxFmea7ON_OVo

วันนี้ (10 มิ.ย. 65) คณะครูและนักศึกษา แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ทัศนศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่าย ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับ

ดร.เปรมฤดี  นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นางสาวสุภาพร ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ นางณัฐรดา เลขาพันธ์ นางสาวณิรดา เพ็ชรคงทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับและบรรยายด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย โดยมี นางเจนจิรา  พุมดวง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำหน้าที่พิธีกร ให้การต้อนรับคณะครูและนักศึกษา แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ ห้องศรีธรรมราช อาคารปฏิบัติการสถาปัตยกรรมเเละการออกแบบ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00-12.00 น. มีผู้เข้าทัศนศึกษาประกอบด้วย คณะครู จำนวน 4 คน และนักศึกษาจำนวน 82 คน

การทัศนศึกษาในครั้งนี้ ชมรมวิชาชีพแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร จัดโครงการศึกษาดูงานตามนโยบายสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาโดยการปรับวิธีการสอน และให้สถานประกอบการได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของนักเรียน นักศึกษา เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในด้านต่าง ๆ และสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนได้ ทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง เพราะนอกจากจะได้มีโอกาสได้รับฟังการบรรยายด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจจากประสบการณ์จริงแล้ว นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการยังมีโอกาสได้รับฟังข้อมูลต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในภาพรวม และทัศนศึกษาบรรยากาศโดยรอบของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

โอกาสนี้ คณาจารย์และนักศึกษา แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร ได้กล่าวขอบคุณทีมงานที่ให้การต้อนรับ ให้ข้อมูลและคำแนะนำที่มีประโยชน์ยิ่ง รวมทั้งให้โอกาสนักศึกษาเข้าศึกษาดูงาน ณ สถานที่จริง จนการทัศนศึกษาประสบความสำเร็จในครั้งนี้

ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดทำแผนการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และระบบโทรศัพท์ เพื่อรองรับการเรียนการสอน และการใช้งานอย่างต่อเนื่องหากเกิดไฟฟ้าขัดข้อง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้

วันที่ 20 พ.ค. 2565 ดำเนินการติดตั้งเครื่องโทรศัพท์บริเวณหน้าอาคารหอพักนักศึกษา โดยมีการติดตั้งตัวเครื่องยึดติดกับฝาผนังและเดินสายในรางให้เป็นไปตามมาตรฐาน 5 ส

วันที่ 26 พ.ค. 2565 ดำเนินการติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ขนาด 2 KVA ณ ห้องเครือข่ายหลัก อาคารเรียนรวม 6 ทดแทน UPS เดิมที่มีอายุการใช้งานมานาน เพื่อรองรับการให้บริการการเรียนการสอน

วันที่ 31 พ.ค. 2565 ดำเนินการติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) ขนาด 2 KVA และ 3 KVA ณ ห้องเครือข่ายหลัก อาคารวิชาการ 2, 3, 4 ทดแทน UPS เดิม เพื่อการใช้งานระบบเครือข่ายที่ต่อเนื่องกรณีเกิดไฟฟ้าขัดข้อง

 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) แนะนำบริการต่าง ๆ ของหน่วยงานให้แก่นักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565 ในกิจกรรมหน่วยงานบริการพบนักศึกษา ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี เมื่อวันที่ 6 มิถุนยาน 2565 ที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00-15.00 น. ดร.เปรมฤดี  นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยทีมงานประกอบด้วย นายวิศิษฏ์  เรืองพรหม วิศวกร และ นางสาวณิรดา เพ็ชรคงทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แนะนำบริการต่าง ๆ ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และวิธีการสมัครเข้าใช้งานสำหรับนักศึกษาใหม่ ในกิจกรรมหน่วยงานบริการพบนักศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ภายใต้โครงการเสริมสร้างทักษะชีวิตในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งบริการที่มีความจำเป็นต่อการเรียนการสอนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สำหรับนักศึกษา ประกอบด้วย รหัสผู้ใช้งานพร้อมรหัสผ่านสำหรับใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต อีเมล และ Office 365 และบนเวทีได้มีการจัดกิจกรรมตอบคำถามร่วมสนุกกับนักศึกษาใหม่อีกด้วย

โครงการเสริมสร้างทักษะชีวิตในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-11 มิถุนายน 2565 เพื่อให้นักศึกษาใหม่มีความรู้ ความเข้าใจองค์กร มีทักษะพื้นฐานพร้อมต่อการศึกษาและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เกิดความรู้สึกรัก ผูกพันและมีความเอื้ออาทรระหว่างนักศึกษา รุ่นพี่ คณาจารย์และบุคลากร โดยรูปแบบกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมอธิการบดีพบผู้ปกครอง การรายงานตัวเข้าหอพักนักศึกษา การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ การสอบวัดความรู้พื้นฐานในรายวิชาต่างๆ  นักศึกษาใหม่พบอาจารย์ที่ปรึกษา กิจกรรมเสริมสร้างทักษะการปรับตัว กิจกรรมเสริมสร้างภาวะผู้นำ กิจกรรมเสริมสร้างหลักค่านิยม “กตัญญู รู้วินัย ใจอาสา พัฒนาภาวะผู้นำ” กิจกรรมรู้จัก มวล. (Check Show Share) กิจกรรมประชันเพลงมหาวิทยาลัย Mini Concert กิจกรรมสานสัมพันธ์สำนักวิชาและกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ

ดร.มงคล ธีระนานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะตัวแทนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามคำเชิญของผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เข้าสัมมนาและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง Smart City และการดำเนินโครงการ Thasala Smart City ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในงานสัมมนา “Smart City @นครศรีธรรมราช” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน นครศรีธรรมราช

Walailak smart city  Walailak smart city

ดร.มงคล ธีระนานนท์ ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วย นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมงานสัมมนาหัวข้อ “Smart City @นครศรีธรรมราช” ในงานดังกล่าว ดร.มงคล ธีระนานนท์ ได้กล่าวต้อนรับคณะผู้เข้าอบรมและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง Smart City และการดำเนินโครงการ Thasala Smart City ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งรับผิดชอบโครงการโดยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

งานสัมมนาหัวข้อ “Smart City @นครศรีธรรมราช” ครั้งนี้ จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 เวลา 9.30-12.30 น. ณ โรงแรมแกรนด์ฟอร์จูน นครศรีธรรมราช เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนจังหวัดนครศรีธรรมราชสู่เมืองอัจฉริยะ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดหลักสูตร “ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO)” รุ่นที่ 3  ของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เพื่อรองรับการพัฒนาและผลิตกำลังคนดิจิทัล และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผู้เข้าอบรมประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง (CEO) ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนระดับ TOP ของประเทศ และผู้เข้าอบรมหลักสูตร Digital CEO และคณะจาก DEPA ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครศรีธรรมราชในช่วงวันที่ 3-5 มิถุนายน 2565

Walailak smart city  Walailak smart city

Walailak smart city   Walailak smart city

Walailak smart city

 

ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยลักษณ์ จัดทำแผนการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รองรับการเรียนการสอนภาคการศึกษาที่ 1/2565 ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เปิดการเรียนการสอนแบบ On site เต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเตรียมความพร้อมให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และระบบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1/2565 โดยฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล จัดทำแผนการบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อาคารเรียนรวม 1 และอาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมเเละการออกแบบ โดยจะระดมทีมงานปฏิบัติงานในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ดังนี้

  • อาคารเรียนรวม 1 จำนวน 13 ห้อง
 
  • อาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมเเละการออกแบบ จำนวน 39 ห้อง

อีเมลบัญชี @mail.wu.ac.th ซึ่งผูกกับ Google Account จะถูกจำกัดให้มีพื้นที่ใช้งานลดเหลือ 5GB/Account ตามนโยบายให้พื้นที่แก่องค์กรการศึกษาโดเมนละ 100 TB ของ Google for Education ขอให้ผู้ใช้งานจัดการโอนย้ายข้อมูลต่าง ๆ ที่จัดเก็บออกจาก Account ของตนเอง ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2565
ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้งานจัดการโอนย้ายข้อมูลต่าง ๆ ที่จัดเก็บออกจาก Account ของตนเองเนื่องจากนโยบายให้พื้นที่แก่องค์กรการศึกษาโดเมนละ 100 TB ของ Google for Education ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะต้องเตรียมความพร้อมในการจัดการพื้นที่รองรับนโยบายของ Google for Education จึงขอความร่วมมือผู้ใช้งานทุกท่านโอนย้ายข้อมูลออกจาก e-Mail และ Drive ในบัญชีผู้ใช้ @mail.wu.ac.th ให้เหลือไม่เกิน 5 GB ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 นี้ โดยขอแนะนำแนวทางการโอนย้ายข้อมูลออกจาก Google Drive ไปยังที่เก็บข้อมูลอื่น ดังนี้
1. โอนย้ายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของผู้ใช้งานแต่ละคน
2. โอนย้ายไปยัง Cloud ส่วนตัวของผู้ใช้งานแต่ละคน
3. โอนย้ายไปยัง Onedrive ภายใต้ Account @st.wu.ac.th ซึ่งมีพื้นที่ให้บริการในปัจจุบัน 5 TB/Account สามารถใช้ได้จนกว่าจะมีนโยบายเปลีี่ยนแปลงจาก Microsoft ซึ่งศึกษาคู่มือการโอนย้ายข้อมูลจาก Google Drive ไปยัง Onedrive ด้วยโปรแกรม Mover.io ได้ที่ https://cdt.wu.ac.th/?p=33414&lang=th 

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. นายวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญจากคณะกรรมการขับเคลื่อนเว็บไซต์เพื่อการจัดอันดับ Webometrics Ranking  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นวิทยากร การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้วย Webometrics โดยการทำ SEO ครั้งที่ 2 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1,2 อาคารคอมพิวเตอร์  โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งคณาจารย์ และบุคลากรที่รับผิดชอบดูแลเว็บไซต์หน่วยงาน ประมาณ 50 กว่าคน

SEO Webometrics SEO Webometrics