ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ทำการตรวจสอบและติดตั้งระบบ Ruckus WIFI บริเวณอาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ชั้น 2 เพื่อให้บริการ WIFI-5 ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งชั้น 1 และชั้น 2 ไม่มีปัญหาการเชื่อมต่อ บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด

เมื่อวันที่  8 กันยายน 2565 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทับ ดำเนินการติดตั้งระบบ WIFI บริเวณอาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ชั้น 2 เพื่อให้บริการแก่บุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย เนื่องจากตรวจสอบการกระจายสัญญาณ WIFI ระบบเดิม พบว่า อุปกรณ์กระจายสัญญาณที่ติดตั้งเดิมมีหลายแบรนด์ ส่งผลให้การกระจายสัญญาณไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ การเชื่อมต่อ WIFI มีอาการหลุดบ่อยครั้ง และมีความไม่เสถียรของสัญญาณเกิดขึ้น จึงแก้ไขปัญหาโดยทำการติดตั้ง ระบบ Ruckus WIFI ซึ่งเป็นระบบ WIFI-5 มาทดแทนระบบเดิม ทำให้ภายในอาคารมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณเพียง 1 แบรนด์ การกระจายสัญญาณจึงไม่มีปัญหาการเชื่อมต่อ และ ทดสอบสัญญาณได้อยู่ที่ประมาณ 300/300 Mbps

WU WIFI

WU WIFI

WU WIFI         WU WIFI    

WU WIFI        WU WIFI

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Easy PDCA” ให้แก่พนักงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการและทำงานในลักษณะ PDCA ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมจำนวน 47 คน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วาริท เจาะจิตต์ รองอธิการบดี ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่พนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Easy PDCA” โดยมีนายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นประธานกล่าวต้อนรับวิทยากรและกล่าวถึงที่มาของการจัดอบรม และมีนางลภัสธยาน์  นาคนรเศรษฐ์ รักษาการแทนหัวหน้างานพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เข้าร่วมสังเกตการณ์อบรมในครั้งนี้ด้วย

Easy PDCA จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการและทำงานในลักษณะ PDCA ตอบโจทย์การประเมินผลสำเร็จการทำงานส่วนบุคคล ในองค์ประกอบผลสำเร็จของงานส่วนบุคคล ประจำปีงบประมาณ 2565 ผลงานด้านการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งกำหนดให้พิจารณาผลงานที่เป็นการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานในลักษณะ PDCA การจัดอบรมครั้งนี้สร้างความรู้ความเข้าใจของพนักงานเกี่ยวกับ PDCA เพิ่มขึ้น ทำให้มีแนวทางการนำไปต่อยอดและเกิดความมั่นใจในการนำไปเขียนรายงานผลการพัฒนางานได้เป็นอย่างดียิ่ง

 

เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรม เรื่อง “การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย” ในวันผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ให้แก่บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ มีผู้เข้าร่วมการอบรมประมาณ 30 คน ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดการอบรม เรื่อง “การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย” ในวันผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ให้แก่บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ โดยมี ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล กล่าวเปิดการอบรม และวิทยากรผู้รับผิดชอบดูแลระบบอินเทอร์เน็ตและอีเมล ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 3 คน ได้แก่
  1. นายวิศิษฎ์ เรืองพรหม วิศวกร
  2. นายวิเชียร จุติมูสิก นายช่างเทคนิค
  3. นายวิชชุกร ด่านเดชา เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์
ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มีภาระงานให้บริการและดูแลระบบอีเมลให้แก่พนักงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาการส่งสแปมเมลมาก่อกวนบ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าทางศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีระบบป้องกัน Spam Mail อยู่ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม ทำให้อีเมลของผู้ใช้งานที่ติดไวรัส หรือมัลแวร์ทำการส่งออกไปยังผู้ใช้งานรายอื่นเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และเกิดความเสี่ยงในการติดไวรัสเพิ่มเติมได้มากขึ้น ซึ่งถ้าไม่ระวังหรือไม่มีการป้องกันที่ดี อาจทำให้เกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย ขึ้น เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลในหัวข้อต่อไปนี้ 
1. ท่องอินเทอร์เน็ตอย่างไรไร้ภัยคุกคาม 
2. แนวทางตรวจสอบและเรียนรู้เครื่องมือ Antivirus 
3. ภัยคุกคามทางอีเมลและการดูแลรักษาอีเมลมหาวิทยาลัย 

เช้านี้ (29 ส.ค. 65) เวลา 9.00-12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Service Mind for Excellent Service เพื่อให้ความรู้และการปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการบริการด้วยใจสู่ความเป็นเลิศแก่บุคลากร โดยมีผู้เข้าร่วมการอบรมประมาณ 40 กว่าคน

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Service Mind for Excellent Service ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วรวุฒิ สมศักดิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี เป็นวิทยากรให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน โดยมี ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นผู้กล่าวต้อนรับ และในการอบรมมีนายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล หัวหน้าฝ่ายต่าง ๆ และบุคลากรเข้าร่วมการอบรม

เนื่องจากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีภารกิจหลัก ได้แก่ ประสานและให้บริการงานคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายและสื่อสารระบบเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การบริการและสนับสนุนงานวิชาการของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ จัดบริการงานคอมพิวเตอร์และให้การฝึกอบรมทางคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานภายในและภายนอก บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานอื่นที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย ทำให้บุคลากรของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งการให้บริการแก่ผู้รับบริการทางด้านระบบ ICT ด้วย การปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการบริการด้วยใจสู่ความเป็นเลิศ (Service Mind for Excellent Service) ให้แก่บุคลากรของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง จึงได้จัดการอบรมขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าอบรม และได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ขอเชิญบุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย” ในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings

ตามที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มีภาระงานให้บริการและดูแลระบบอีเมลให้แก่พนักงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาการส่งสแปมเมลมาก่อกวนบ่อยครั้ง ถึงแม้ว่าทางศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะมีระบบป้องกัน Spam Mail อยู่ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม ทำให้อีเมลของผู้ใช้งานที่ติดไวรัส หรือมัลแวร์ทำการส่งออกไปยังผู้ใช้งานรายอื่นเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และเกิดความเสี่ยงในการติดไวรัสเพิ่มเติมได้มากขึ้น ซึ่งถ้าไม่ระวังหรือไม่มีการป้องกันที่ดี อาจทำให้เกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย ขึ้น เพื่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลในหัวข้อต่อไปนี้ 
1. ท่องอินเทอร์เน็ตอย่างไรไร้ภัยคุกคาม 
2. แนวทางตรวจสอบและเรียนรู้เครื่องมือ Antivirus 
3. ภัยคุกคามทางอีเมลและการดูแลรักษาอีเมลมหาวิทยาลัย 
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ขอเชิญบุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย” ในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings

Meeting ID: 683 6657 0772
Passcode: 335515
Invite link: https://thairen.zoom.us/j/68366570772?pwd=QWQ2Wk9wTzNqOVRPZzA1NlFjVnpwUT09

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมที่ลิงก์ https://bit.ly/3Cv85GX

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ภายใน 73422, 73447

 

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเข้าร่วมงานและร่วมการเสวนาในงาน Edutech_CIO Sumit Asia Pacific ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 สิงหาคม 2565 ณ Bangkok Marriott Marquis Queen’s Park, Bangkok

ในงานนี้ ดร.เปรมฤดี ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Keynote Panel: Preparing and protecting your institution against a future cybersecurity attack ในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น. โดยใน Session นี้มีผู้เข้าร่วมการเสวนา ประกอบด้วย
1. Moderator:Atinuch Chorrojprasert,Business Unit Manager, Relationship Business Segment, Lenovo

2. Dr Premrudee Noonsang,Director of The Center for Digital Technology, Walailak University

3. Timothy Tseng,Lenovo Thinkshield Security Lead – Asia Pacific, Lenovo

4. Sasiprapa Suteerapat,Senior Business Development Manager, AMD

5. Anthony Garcia,Information and Communications Technology Office Director, Miriam College

รายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.terrapinn.com/conference/edutech-cio-summit-asia/agenda.stm?j=19160&sfmc_sub=5320420&l=280_HTML&u=579721&mid=536001174&jb=2

EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia EDUtech_CIO Summit Asia

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 (รอบ 10 เดือน) เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดย ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี และ ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการติดตามผลการดำเนินงานในรอบ 10 เดือน (ตุลาคม 2564 – กรกฎาคม 2565) จัดโดยส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ ในระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมหัวตะพาน โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลนำเสนอในช่วงเช้าของวันที่ 16 สิงหาคม 2565 การนำเสนอในครั้งนี้ได้รายงานผลความก้าวหน้าต่อเนื่องจากการประชุมในครั้งที่ 1 ที่ผ่านมาตามเกณฑ์ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด ในประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของสภามหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย
1. เกณฑ์ประเมิน การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ มีการสร้างระบบตัววัด การวิเคราะห์ ทบทวน ตลอดจนปรับปรุงการดำเนินการโดยใช้ข้อมูลและสารสนเทศในทุกระดับและทุกส่วนของมหาวิทยาลัย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาองค์กรและบริหารทุนมนุษย์มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง
2. เกณฑ์ประเมิน ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านกระบวนการที่เน้นผู้เรียน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3 การปฏิรูปการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบและวิทยาการสมัยใหม่เพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากล

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลนำเสนอในประเด็นต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินของสภามหาวิทยาลัย
1. ผลลัพธ์/ผลสำเร็จของการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (World Class University) 4 ด้าน ได้แก่ การนำองค์กร การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัย การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้
2. เป้าหมายและผลลัพธ์การบริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศตามหลักการ OKRs
3. ผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินหน่วยงานเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรถนะสูง (HPO)
4. Strategic for Strengthen 18 ตัวชี้วัด 15 กลยุทธ์ 30 มาตรการ

ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์การดำเนินงานที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ประจำปี

ผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและกระบวนการที่เน้นผู้เรียน

ส่วนที่ 3 สรุปผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
1. ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
2. ผลงานเด่น/สิ่งที่ภาคภูมิใจ
3. ปัญหาอุปสรรค/แนวทางแก้ไขให้บรรลุเป้าหมาย

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นายพงศ์ธน ฤดีอัครเสรี รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ นายวิศิษฎ์ เรือง พรหม วิศวกร และนางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับและแนะนำบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นสำหรับนักศึกษา ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ อีเมลสำหรับนักศึกษา การใช้งาน WiFi และการใช้งานระบบ e-Learning ให้แก่นักศึกษาใหม่ชาวต่างชาติ จำนวน 20 คน ซึ่งจัดกิจกรรมเยี่ยมชมหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายใต้โครงการปฐมนิเทศและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00-14.30 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีกำหนดเปิดภาคการศึกษาที่ 1/2565 ระบบทวิภาค ในวันที่ 15 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติ จึงได้จัดทำโครงการปฐมนิเทศและต้อนรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565 ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาใหม่มีโอกาสรู้จักกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย มีความพร้อมในการปรับตัวกับการดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัย รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับอาจารย์และนักศึกษาใหม่ด้วยกัน  ในการนี้ วิทยาลัยนานาชาติจึงได้นำนักศึกษาใหม่ ซึ่งเป็นนักศึกษาต่างชาติ จำนวน 20 คน เข้าเยี่ยมชมศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรับฟังข้อมูลด้านบริการต่าง ๆ

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งรับผิดชอบหลักงาน Admin ดูแลระบบ WU MIS (SAP) ได้เปิดการใช้งาน Open Project สำหรับระบบ WU MIS (SAP) ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่าง Admin กับผู้ใช้งาน สำหรับเป็นคลังความรู้ การแจ้งปัญหาการใช้งานระบบ ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา และ Monitor การสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานและ Admin โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งาน Open Project สำหรับระบบ MIS” ขึ้น สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.  ณ ห้องฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล 2 อาคารคอมพิวเตอร์ และผ่านระบบออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้นกว่า 80 คน

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เริ่มเปิดใช้งาน ระบบ WU MIS ด้วยโปรแกรม SAP ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นมา โดยมีศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นผู้ดูแลและทำหน้าที่ Admin ของระบบ จากการใช้งานที่ผ่านมา พบว่า ระบบมีฟังก์ชันการใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก ผู้ใช้เกิดความสับสน ส่งผลให้ทำงานได้ไม่ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักเห็นถึงความจำเป็นในการหาวิธีการใช้งานที่มีประสิทธิภาพจึงได้เปิดการใช้งาน Open Project สำหรับระบบ WU MIS (SAP) ขึ้น เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารระหว่าง Admin กับผู้ใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

    • เพื่อจัดทำคลังความรู้สำหรับการใช้งานระบบ WU MIS – SAP
    • เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารสำหรับ Admin และผู้ใช้งานระบบ WU MIS
    • เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามผลการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง
    • เพื่อให้สามารถดูข้อมูลในระบบ WU MIS ได้สะดวกรวดเร็ว

จากนั้นจึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “การใช้งาน Open Project สำหรับระบบ MIS” ขึ้น  ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมี นายคุณชิต  สุขพัฒนศรีกุล และ นางสาวจิราลักษณ์ จันทร์สุวรรณ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นวิทยากรในการอบรมดังกล่าว และมีทีมงานฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นผู้ช่วยวิทยากร

 

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยวลัยลักษณ์ และทีมงาน เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 41 (41th WUNCA) ระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 41 (41th WUNCA) ระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดงานดังนี้
  • เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)
  • เพื่อศึกษาวิจัย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนทเบนเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
  • เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายระหว่างกลุ่มสมาชิก
  • เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเครือข่าย Hardware and Software
  • เพื่อเป็นการปรับกระบวนทัศน์หรือการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างการมีประสิทธิภาพได้โดยอาศัยระบบเครือข่ายสารสนเทศที่ดี
การประชุม WUNCA ครั้งที่ 41 นี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มอบหมายให้ ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นายจักรินทร์ ล้วนศิริ หัวหน้าฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร นายวิศิษฐ์ เรืองพรหม วิศวกร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมงาน และมีนายไพศาล พุมดวง หัวหน้างานระบบเครือข่ายไร้สายและสื่อสาร ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอภิปรายด้วย