ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยลักษณ์ จัดการนำครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ที่หมดอายุการใช้งาน มาดำเนินการขายทอดตลาดตามระเบียบพัสดุ

เมื่อวันที่ 17/10/65 ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับ ส่วนพัสดุ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ตั้งโต๊ะ อุปกรณ์เครือข่าย และเครื่องสำรองไฟ จำนวนทั้งสิ้น 825 รายการ ซึ่งครุภัณฑ์ดังกล่าวเป็นครุภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานตามระเบียบพัสดุ โดยมีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมเสนอราคาจำนวน 2 ราย ได้ราคาสูงสุดที่ 51,000 บาท โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมการประมูลได้แสดงความชื่นชมที่มหาวิทยาลัยลักษณ์มีการแยกประเภทครุภัณฑ์แต่ละประเภทออกจากกันอย่างชัดเจน และเป็นระบบ เช่น ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ครุภัณฑ์สื่อโสตฯ ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจประมูล และนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ทำให้ผู้เข้าประมูลให้ราคาที่สูงมาก

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะดำเนินการขายทอดตลาดตามระเบียบพัสดุ ประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายประจำปีงบประมาณ 2566 ผู้สนใจสามารถติดตามประกาศได้ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ขายทอดตลาดครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์

 

ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำเสนอกลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ มวล. สู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมกิจกรรมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ มวล. สู่การปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น ซึ่งส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้ทุกหน่วยงานนำเสนอข้อมูลกลยุทธ์/แนวทางการขับเคลื่อนหน่วยงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  ตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ของมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา โดย ดร.เปรมฤดี นำเสนอข้อมูลในวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ซึ่งมีการนำเสนอกลยุทธ์/แนวทางและเป้าหมายการขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลให้บรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน ดังนี้

  • ตัวชี้วัดที่ WU-D-1-1-3 ร้อยละของบุคลากรสายสนับสนุนที่ได้ปรับเพิ่มตำแหน่งทางวิชาชีพ และ/หรือปรับตำแหน่งที่สูงขึ้น (ร้อยละ 5 ของพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล : 2 คน จากพนักงานทั้งหมด 38 คน)
  • ตัวชี้วัดที่ WU-D-1-2-7 ร้อยละของบุคลากรหน่วยงานที่มีการพัฒนา/ปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน และมีการใช้คู่มือในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 90 ของพนักงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล : 34 คน จากพนักงานทั้งหมด 38 คน)
  • ตัวชี้วัดที่ WU-D-1-2-8 ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (กลุ่มนักศึกษา บุคลากร กลุ่มบุคคลภายนอก (ความพึงพอใจของกลุ่มนักศึกษา ร้อยละ 85 ขึ้นไป สำหรับการให้บริการอาคารเรียนรวม 1, 3, 5, 7, ST และอาคารสถาปัตยกรรม)
  • ตัวชี้วัดที่ WU-D-2-10 จำนวนบริการด้านดิจิทัลที่สนับสนุนการดำเนินงานที่ขับเคลื่อน Smart University (1 บริการ)

กลยุทธ์ขับเคลื่อน ศทท. กลยุทธ์ขับเคลื่อน ศทท. กลยุทธ์ขับเคลื่อน ศทท.

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “e-learning เพื่อการเรียนการสอนเชิงรุก”

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่บุคลากรสายวิชาการ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “e-learning เพื่อการเรียนการสอนเชิงรุก”  ซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565  Times Higher Education ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก World University Rankings 2023 ผ่านเว็บไซต์ https://www.timeshighereducation.com ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโลกแล้ว โดยจัดให้อยู่ในอันดับที่ 1501+ ของโลก จากมหาวิทยาลัยทั้งหมด 26,000 แห่งทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย จากมหาวิทยาลัย 18 แห่งที่ผ่านเงื่อนไขและได้รับการจัดอันดับในปีนี้

โดยก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เคยได้รับการจัดอันดับจาก THE Impact Ranking ปี 2021 อยู่ในอันดับที่ 600-800 ของโลก อันดับที่ 15 ของไทย ได้รับการจัดอันดับจาก QS Asia University Rankings อันดับที่ 19 ของไทย และได้รับการจัดอันดับจาก SCImago อยู่ในอันดับที่ 422 ของโลก อันดับที่ 9 ของไทย

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า หลังจากที่ม.วลัยลักษณ์ได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยแนวหน้าของโลก(Frontier Research University) ตามนโยบายของกระทรวงอว. ม.วลัยลักษณ์ได้พัฒนาผลงานวิจัยให้มีคุณภาพ คณาจารย์ทุกคนได้ร่วมกันขับเคลื่อนการวิจัยอย่างเข้มข้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีจำนวนผลงานวิจัยมากขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยปีล่าสุดมีมากกว่า 700 บทความ

ที่สำคัญผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Scopus Q1,Q2 กว่า 82% อยู่ในอันดับ 3 ของประเทศ สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตผลงานวิจัยของเราจะมีจำนวนมากขึ้น มีคุณภาพสูงขึ้น การอ้างอิงก็จะมีจำนวนสูงขึ้นตามไปด้วย

“ม.วลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโลกของจาก Times Higher Education เป็นครั้งแรก ถือเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจร่วมกันพวกเราชาววลัยลักษณ์ ที่ได้ร่วมกันทำงานกันอย่างหนัก มุ่งมั่นตั้งใจจนประสบผลสำเร็จมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล อย่างไรก็ตามเรายังคงมุ่งมั่นเพื่อก้าวต่อไป วันนี้มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับโลกแล้ว หากผลงานวิจัยของเรามีจำนวนมากขึ้นเชื่อมั่นว่าอันดับโลกจะขยับดีขึ้นต่อไป”ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก https://www.wu.ac.th/th/news/21939

เนื่องจาก ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะดำเนินการ Update Firmware อุปกรณ์ป้องกันการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Firewall) เพื่อป้องกันเหตุโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้น ในวันพุธที่ 12 ตุลาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 20.00 น. – 21.00 น.
ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะมีผลกระทบต่อการใช้งานระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายวิศิษฏ์ เรืองพรหมโทรศัพท์ภายใน 73444 หรือ CDT Helpdesk 73400
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

เนื่องจาก ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจะดำเนินการปรับปรุงระบบเครือข่ายหลักที่อาคารวิชาการ 2  ในวันอาทิตย์ ที่ 16 ตุลาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. – 13.00 น. ในช่วงเวลาดังกล่าวมีผลกระทบไม่สามารถใช้งานระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ตได้ ที่อาคารโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ อาคารวิชาการ 1,2,7 และ 8 ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายวิศิษฏ์ เรืองพรหม โทรศัพท์ภายใน 73444 หรือ CDT Helpdesk 73400
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้

เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 ทีมงานฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ทำการติดตั้งคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายให้แก่อาจารย์ใหม่ สาขาครุศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนของสาขาวิชา และเตรียมความพร้อมในการเปิดหลักสูตรครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 14 ชุด

คอมพิวเตอร์ครุศาสตร์   คอมพิวเตอร์ครุศาสตร์   คอมพิวเตอร์ครุศาสตร์

บริษัทล็อกซเล่ย์ ออบิท จำกัด (มหาชน) ขอเชิญอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการบรรยาย AppSheet Introduction & Workshop ผ่าน Google Meet ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 ต.ค. 2565 เวลา 13.00 น. – 16.00 น.

กิจกรรมออนไลน์ การแนะนำฟีเจอร์ของ AppSheet จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมรับฟังได้เข้าใจประโยชน์และหลักคิดของการทำงานด้วย AppSheet และสามารถใช้เครื่องมือ AppSheet สร้าง Application ที่มี Function พื้นฐานได้ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วม AppSheet Introduction & Workshop ผ่าน Google Meet ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยบริษัทจะส่งลิงค์การเข้าร่วม Workshop มาทางอีเมลที่ลงทะเบียนภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2565

Link ลงทะเบียน https://forms.gle/9cBBB8Fwf8GGUxd56

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

เนื่องจากสิทธิ์การใช้งานพื้นที่เพิ่มของ Google Teaching andLearning Upgrade ภายใต้โดเมน @mail.wu.ac.th ประจำปีงบประมาณ 2565 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 
เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้บริการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้ตรวจสอบข้อมูลสำหรับการจัดซื้อพื้นที่เพิ่มของ Google Teaching and Learning Upgrade ในปีงบประมาณ 2566 มีรายละเอียดดังนี้
1. ราคา 834.60 บาท/ปี/1 User ได้รับพื้นที่การใช้งาน 100 GB รวมกับที่มหาวิทยาลัยจัดสรรอีก 5 GB ผู้ใช้งานจะมีพื้นที่รวมจำนวน 105 GB/1 User
2. ระยะเวลาใช้งาน 9 ตุลาคม 2565 – 8 ตุลาคม 2566
3. สามารถใช้บริการฟีเจอร์เพิ่มเติมของ Google Teaching and Learning Upgrade เช่น จัดการประชุมที่รองรับผู้เข้าร่วมได้สูงสุด 250 คน จัดกิจกรรมสตรีมแบบสดที่รองรับผู้ชมในโดเมนได้สูงสุด 10,000 คน การบันทึกวิดีโอการประชุม เป็นต้น (ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://edu.google.com/intl/ALL_th/workspace-for-education/editions/compare-editions/)
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขอให้หน่วยงานและผู้ที่ต้องการจัดซื้อพื้นที่เพิ่มของ Google Teaching  and  Learning Upgrade ดำเนินการดังนี้
1. การจัดซื้อในนามหน่วยงาน ให้หน่วยงานดำเนินการจัดซื้อเอง โดยใช้ใบเสนอราคาที่แนบมาพร้อมนี้ และชำระเงินกับผู้ให้บริการโดยตรง จากนั้นกรอกแบบฟอร์มพร้อมแนบสลิปโอนเงิน เพื่อให้ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเปิด License (จะได้รับใบเสร็จฉบับจริง ประมาณ 10 วันทำการ)
2. การจัดซื้อส่วนตัว ให้ชำระเงินกับผู้ให้บริการโดยตรง จากนั้นกรอกแบบฟอร์มพร้อมแนบสลิปโอนเงิน เพื่อให้ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเปิด License
ทั้งนี้ การชำระเงินโอนเข้าบัญชี “บริษัท ล็อกซเล่ย์ ออบิท จำกัด (มหาชน)” ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาสำนักนานาเหนือ บัญชี กระแสรายวัน เลขที่บัญชี 000-6-14295-8 เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้วกรุณากรอกแบบฟอร์มพร้อมแนบสลิปโอนเงินที่ ลิงก์ https://forms.gle/TMpRcGtC8wJ7ujAi8  ภายในวันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม 2565 
Google Teaching and Learning Upgrade
QR Code แบบฟอร์ม

ด้วยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการประสานและให้บริการงานคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายและสื่อสารระบบเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ การเรียนการสอน การบริการและสนับสนุนงานวิชาการของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ จัดบริการงานคอมพิวเตอร์และให้การฝึกอบรมทางคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงานภายในและภายนอก บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานอื่นที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย
ในการนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ประจำไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2565 (กรกฎาคม – กันยายน 2565) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการวิเคราะห์ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานและการให้บริการต่าง ๆ ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลให้ดียิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ จึงขอความร่วมมือจากท่านในการตอบแบบประเมินดังกล่าวทางออนไลน์ https://bit.ly/3QheZDa หรือ QR Code
แบบประเมินไตรมาสที่ 4