มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เปิดตัวระบบ WU-HRMS จำนวน 4 ระบบงานย่อย เริ่มใช้งานต้อนรับศักราชใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
ระบบสารสนเทศบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WUHRMS Walailak University Human Resources Management  Information System) พัฒนาขึ้นโดย ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564  ระบบมีการออกแบบให้รองรับการทำงานของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล สามารถรองรับการใช้งานบน Platform ได้ทั้งแบบ Web-Based Application และ Mobile Application เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางด้านการบริหารงานบุคคลทั้งกระบวนการของมหาวิทยาลัย ในขณะนี้พัฒนาแล้วเสร็จ จำนวน 6 ระบบงานย่อย ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป จำนวน 4 ระบบงานย่อย ได้แก่
  • ระบบการลา
  • ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
  • ระบบการปฏิบัติงานล่วงเวลา
  • ระบบสรรหาและคัดเลือก

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมีแผนงานเปิดใช้งานระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานผ่านแอพพลิเคชั่น Line ด้วยสมาร์ทโฟน ในวันที่ 16 มกราคม 2566 อีกด้วย

ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานได้ที่ https://hrms.wu.ac.th/

WU-HRMS

ทีมงานฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ลงพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อตรวจสอบและดำเนินการจัดเก็บสายสื่อสารที่ร่วงหล่น

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา นายจักรินทร์ ล้วนศิริ หัวหน้าฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ระดมทีมงานบุคลากรในฝ่าย ลงพื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อตรวจสอบและบำรุงรักษาสายสัญญาณระบบเครือข่าย รวมทั้งทำการจัดเก็บและติดตั้งสายสัญญาณบริเวณ​โรงอาหาร​ช่อ​ประดู่​ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุ​ที่อาจจะเกิดกับผู้ใช้บริการ เช่น นักศึกษา บุคลากร เป็นต้น การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี

สภาพพื้นที่ก่อนดำเนินการ

   

   

 

สภาพพื้นที่หลังดำเนินการ

 

 

ทีมงาน

          

 

ทีมงาน ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดเตรียมจัดสอบ TGAT/TPAT สนามสอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ระหว่างวันที่ 10-12 ธ้นวาคม 2565 ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นายนันทชัย ไชยเสน และทีมงาน ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ลงพื้นที่จัดเตรียมห้องคอมพิวเตอร์สำหรับจัดสอบ TGAT/TPAT ของสนามสอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อาคารคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง และอาคาร ST จำนวน 3 ห้อง โดยมีผู้แทนจากศูนย์บริการการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมให้สังเกตการณ์และให้คำแนะนำการจัดเตรียมห้องสอบ

TGAT TPAT คือ ระบบการสอบเพื่อวัดศักยภาพในการเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่หลังผ่านการประชุมจาก “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย” หรือ ทปอ. มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในรายวิชาลง เน้นความรู้ที่ผู้สอบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์ดีที่สุด ไม่ใช่แค่การท่องจำเพียงอย่างเดียว ซึ่งการสอบ GAT, PAT และ 9 วิชาสามัญ เดิมจะถูกยกเลิก และเปลี่ยนมาเป็น TGAT, TPAT และ A-Level แทน โดยผู้สอบสามารถเลือกได้ว่าต้องการสอบแบบกระดาษ หรือแบบคอมพิวเตอร์ (ยกเว้นการสอบ TPAT1 ข้อสอบความถนัดแพทย์ และ A-Level จะใช้ข้อสอบแบบกระดาษเพียงอย่างเดียว)

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 12 ธันวาคม 2565  UI GreenMetric World University Ranking ได้ประกาศผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ปี 2022 จากจำนวน 1,050 มหาวิทยาลัยทั่วโลกที่เข้าร่วม

ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยังคงได้รับการจัดอันดับ เป็นอันดับ 1 มหาวิทยาลัยสีเขียวของภาคใต้ 3ปีติดต่อกัน และขยับมาเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศและอันดับที่ 111 ของโลก ด้วยคะแนนรวม 8,125 คะแนน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 2021ที่ได้รับการจัดอันดับที่ 8 ของประเทศและอันดับที่ 116 ของโลก จากคะแนนรวม 7,700 คะแนน โดยได้รับคะแนนที่เพิ่มขึ้นในทุกหมวดจากทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านที่ 2 การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ด้านที่ 3 การจัดการของเสีย  ด้านที่ 4 การจัดการน้ำ ด้านที่ 5 การคมนาคมขนส่ง และด้านที่ 6 การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

โดยในหมวดของ Setting & Infrastructure มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้คะแนนสูงที่สุดในประเทศเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน จากมหาวิทยาลัยในประเทศที่เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว ทั้งหมด 47 มหาวิทยาลัย

มวล. ภายใต้การนำของท่านอธิการบดี ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ มีนโยบายที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนในมหาวิทยาลัย ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDG) ซึ่งครอบคลุมทั้ง 6 ด้านของ UI Green Metric ตั้งแต่เรื่องการเรียนการสอนและการวิจัย ไปจนถึงการทำงาน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย อาทิเช่น การนำระบบสารบรรณอิเลกทรอนิกส์ (DOMs) มาใช้แทนระบบกระดาษทั้งหมด การประชุมแบบ e-Meeting ทดแทนระบบการใช้กระดาษ ระบบ Digital Transcript รถไฟฟ้าเพื่อการขนส่งภายในมหาวิทยาลัย ระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบสำหรับการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ของนักศึกษา และบุคลากร ภายใต้การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และภูมิทัศน์ที่สวยงาม

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวโดย งานมหาวิทยาลัยสีเขียว ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์
ภาพโดย ส่วนสื่อสารองค์กร

https://intranet.wu.ac.th/th/detail/22155

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมลงนามในพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นคำมั่นสัญญาที่จะมุ่งมั่นพัฒนางานมหาวิทยาลัยให้สำเร็จลุล่วงสำเร็จตามเป้าหมาย ณ ห้องประชุมหัวตะพาน โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

พิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2566 จัดขึ้นโดยมี ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายธีระชัย เชมนะสิริ นายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ระดับรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการและหัวหน้าส่วน จำนวน 56 คน เข้าร่วมลงนามในพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ 2566

ในส่วนของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 คำรับรองการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก (Function base) ของหน่วยงาน ซึ่งมี 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร
ส่วนที่ 2 คำรับรองการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2566-2570) ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน หรืองานมอบหมายพิเศษที่ได้รับมอบหมาย (Agenda base) ซึ่งรับผิดชอบในยุทธศาสตร์ที่ 1 การขับเคลื่อนให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มความเข้มแข็งและความมั่นคงทางการเงินของมหาวิทยาลัย
ส่วนที่ 3 เกณฑ์การประเมินหน่วยงาน (นอกเหนือจากส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2)

คำรับรองการปฏิบัติงาน 2566

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับการกำหนดตัวชี้วัดยุทธศาสตร์และค่าเป้าหมายการดำเนินงาน ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยได้กำหนดให้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติงานเพื่อเป็นคำมั่นสัญญาที่จะมุ่งมั่นพัฒนางานมหาวิทยาลัย ให้สำเร็จลุล่วงสำเร็จตามเป้าหมายในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับสภามหาวิทยาลัยฯกับอธิการบดี ระหว่างอธิการบดีกับผู้บริหาร ระดับรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดีและหัวหน้าหน่วยงานระดับสำนักวิชา วิทยาลัย และหน่วยงาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 48 หน่วยงาน

คำรับรองการปฏิบัติงาน 2566

คำรับรองการปฏิบัติงาน 2566 คำรับรองการปฏิบัติงาน 2566

รองศาสตราจารย์ ดร.วาริท เจาะจิตต์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมผู้ใช้งาน ระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS) รุ่นที่ 1 สำหรับกลุ่มพนักงาน โมดูลสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล โมดูลบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา และโมดูลการปฏิบัติงานล่วงเวลา เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00-15.00 น. ณ ห้อง e-Testing 2 อาคารคอมพิวเตอร์ นับเป็นการเปิดตัวระบบอย่างเป็นทางการก่อนเปิดใช้งานในเดือนมกราคม 2566 มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น 21 คน นอกจากนี้ยังมีคุณสมพร บุญเกียรติเดชากุล หัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร และ ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีเปิดการอบรมอีกด้วย

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร จัดการอบรมการใช้งานระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS) แบบ Onsite และ แบบ Online ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meeting ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2565 จำนวน 3 หลักสูตร 13 รุ่น ดังนี้

  1. ผู้ใช้ระบบกลุ่มพนักงาน จำนวน 3 โมดูล ได้แก่ โมดูลสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล โมดูลบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา และโมดูลการปฏิบัติงานล่วงเวลา จำนวน 10 รุ่น
  2. ผู้ดูแลระบบ โมดูลบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา จำนวน 1 รุ่น
  3. ผู้ดูแลระบบ โมดูลสรรหาและคัดเลือก จำนวน 2 รุ่น

ระบบ WU-HRMS พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนทรัพยากรมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 ได้กำหนดขอบเขตงานประกอบไปด้วย 15 ระบบงานย่อย (โมดูล) ได้แก่ ระบบบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร ระบบอัตรากำลัง ระบบสรรหาและคัดเลือก ระบบบรรจุและแต่งตั้ง ระบบทะเบียนประวัติ ระบบเงินเดือนและค่าตอบแทน ระบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูล ระบบพัฒนาบุคลากร ระบบประเมิน ระบบความก้าวหน้าในอาชีพ ระบบบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา ระบบการขึ้นเงินเดือน ระบบผลงานพนักงานสายวิชาการ ระบบบริหารข้อมูลบริการตนเอง ระบบบริการข้อมูลสำหรับผู้บริหาร และแอพพลิเคชั่นงานบุคคล และปัจจุบันได้พัฒนาแล้วเสร็จ จำนวน 4 ระบบ ได้แก่ (1) ระบบอัตรากำลัง (2) ระบบสรรหาและคัดเลือก (3) ระบบบรรจุและแต่งตั้ง และ (4) ระบบทะเบียนประวัติ  และจัดอบรมในครั้งนี้ จำนวน 3 ระบบ เพื่อเริ่มใช้งานในเดือนมกราคม 2566

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร จัดการอบรมการใช้งานระบบ WU-HRMS ขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้ระบบทุกกลุ่มมีความเข้าใจและสามารถใช้งานระบบในแต่ละโมดูลอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 20 ธันวาคม 2565 ณ ห้องฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล และห้อง e-Testing 2 อาคารคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขอเชิญพนักงานทุกท่านเข้าร่วมอบรมการใช้งานระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS) โดยแบ่งกลุ่มผู้อบรมออกเป็น กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ พนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทุกท่าน อบรมหลักสูตร โมดูลบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา โมดูลสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 20 ธันวาคม 2565 จำนวน 10 รอบ ๆ ละ 40 คน สามารถลงทะเบียน แบบ On-Site ได้ที่ https://forms.gle/4D4NeSMwQMmp39qs6
กลุ่มที่ ผู้ดูแลระบบประจำหน่วยงาน อบรมหลักสูตร โมดูลบันทึกเวลาปฏิบัติงานและการลา หน่วยงาน ละ 1 คน ในวันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2565 จำนวน 1 รอบ รอบละ 40 คน สามารถลงทะเบียน แบบ On-Site ได้ที่ https://forms.gle/a2KzsyrUikFR6DVXA

กลุ่มที่ ผู้ดูแลระบบประจำหน่วยงาน อบรมหลักสูตร โมดูลงานสรรหาและคัดเลือก  หน่วยงานละ 2 คน ในวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565 และวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 จำนวน 2 รอบ ๆ ละ 40 คน สามารถลงทะเบียนแบบ On-Site ได้ที่ https://forms.gle/6xvqZ9EqUv36ngZv5

WU-HRMS
ทั้งนี้ ผู้ประสงค์จะเข้าอบรมสามารถเลือกช่องทางการอบรม แบบ On-Site หรือ On-line ได้ตามต้องการ ตามรายละเอียดวัน เวลา และลิงก์เข้าอบรม และดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรมได้ที่ http://shorturl.at/mswVW

ซีเนียร์โปรแกรมเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร และให้คำแนะนำผู้เข้าอบรมหลักสูตร การบันทึกข้อมูลแผนตัวชี้วัด (Statistic Key Fiqure : SKF) ของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในระบบ WUMIS (SAP) โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่า 60 คน
เมื่อวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการ e-Testing 2 อาคารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมอบรมการบันทึกข้อมูลแผนตัวชี้วัด (Statistic Key Fiqure : SKF) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในระบบ WUMIS (SAP) ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการบันทึกแผนการดำเนินงานในระบบ WUMIS (SAP) ให้แก่ผู้ดูแลแผนงานและงบประมาณของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการนี้ นางสาวชฎารัตน์  แสงนิล ซีเนียร์โปรแกรมเมอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร และให้คำแนะนำผู้เข้าอบรมให้สามารถใช้งานระบบ SAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลระบบ WU MIS (SAP) ของมหาวิทยาลัย
การอบรมครั้งนี้ จัดขึ้นเนื่องจากหน่วยงานได้รับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 แล้วแต่ยังไม่ได้มีการบันทึกแผนการดำเนินงานในระบบ WUMIS (SAP) เพื่อการรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาส ประกอบกับในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยมีแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว ส่งผลทำให้มีการปรับรหัสแผนงาน งาน/โครงการ กิจกรรมหลักและตัวชี้วัดในระบบ WUMIS (SAP) ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการรายงานผลของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์จึงจัดการอบรมครั้งนี้ขึ้น 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลลงพื้นที่ติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการย้ายสำนักงานชั่วคราวของหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี จากอาคารบริหาร ไปยังศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2565 ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร และฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล ลงพื้นที่ อาคาร D ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์ และติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อรองรับการย้ายสำนักงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี จากอาคารบริหารมาปฏิบัติงาน ณ อาคาร D ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  เป็นการชั่วคราว เนื่องจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีโครงการปรับปรุงอาคารบริหาร

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ได้พัฒนาระบบลงเวลาเข้า-ออกงาน Line Thasala ผ่านสมาร์ทโฟน ตอบโจทย์การขับเคลื่อน Smart University ด้าน Smart Organization

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบงานสารสนเทศและซอฟต์แวร์ประยุกต์  มีแนวคิดในการพัฒนาระบบลงเวลาเข้า-ออก ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line ขึ้น ภายใต้ชื่อ Line Thasala โดยระบบสามารถลงเวลาเข้า-งานออกงานได้ทุกจุดเช็คอินที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่พนักงานทั้งที่ต้องออกให้บริการตามอาคารต่าง ๆ และที่มีภาระงานนอกสถานที่ด้วย อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อและบำรุงรักษาเครื่องสแกนลายนิ้วมือลง ทั้งนี้ ผู้พัฒนาระบบการลงเวลาเข้า-ออกงานนี้ ได้แก่ นางสาวปาจรีย์ จันทวงศ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในระยะแรก ได้นำร่องการใช้งานกับศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา ทั้งนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลมีการจัดการอบรมการใช้งาน เพื่อแนะนำวิธีการลงทะเบียน สาธิตวิธีการใช้งาน Line Thasala แนะนำจำนวนจุดเช็คอิน และทดสอบการลงเวลาเข้าออกงานจริงให้กับศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา เมื่อวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา

Application Line ที่พัฒนาขึ้น รองรับความสามารถหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ การลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน การตรวจสอบสวัสดิการต่าง ๆ การแสดงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่พนักงานได้รับ การค้นหาเลขหมายโทรศัพท์ของพนักงาน และปฏิทินกิจกรรม ตอบโจทย์การขับเคลื่อน Smart Organization ตามนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) ของมหาวิทยาลัยที่กำหนดไว้ 10 ด้าน ได้แก่ 1Smart IT Infrastructure  2Smart Organization  3Smart Learning  4Smart Classroom   5Smart Life &Health  6Smart Hospital  7SmartTransportation  8Smart Security  9SmartGreen University และ 10Smart Farming