นายไพศาล พุมดวง ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านระบบการแพทย์ทางไกลและโสตทัศน์ หัวข้อ Digital Technology for Health ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา

เมื่อวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 นายไพศาล พุมดวง หัวหน้างานระบบเครือข่ายไร้สายและสื่อสาร ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านระบบการแพทย์ทางไกลและโสตทัศน์ หัวข้อ Digital Technology for Health โดยนายไพศาล รับผิดชอบเป็นผู้บรรยาย และดำเนินรายการ ในหัวข้อย่อยต่าง ๆ ได้แก่

  • การติดตั้งระบบการแพทย์ทางไกล และทดสอบระบบด้วยโปรแกรม ZOOM
  • การเสวนาเทคโนโลยีกับการศึกษาทางการแพทย์
  • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการดูแลสุขภาพ
  • การประชุมนำเสนอของกลุ่มชมรมเครือข่ายด้านการศึกษาและการแพทย์ทางไกลแห่งประเทศไทย ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านระบบการแพทย์ทางไกลและโสตทัศน์ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เทคโนโลยีการประชุมทางไกล เพื่อจัดกิจกรรมการแพทย์ทางไกล การศึกษาทางไกล การประชุมทางไกล ผ่านทางระบบสารสนเทศให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารและเรียนรู้ถึงกันได้กว้างขวาง รวดเร็ว และไร้ขีดจำกัด ซึ่งนำไปสู่การสร้างความร่วมมือในเชิงการศึกษาและเชิงการให้บริการรักษาพยาบาลของเครือข่ายทางการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 42” (WUNCA 42nd) ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จังหวัดสงขลา

WUNCA 42       WUNCA 42

WUNCA 42         WUNCA 42

 

นางสาวสุภาพร ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ การบันทึก มคอ.3 ในระบบบริหารงานหลักสูตร ให้แก่อาจารย์ใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบันทึก มคอ.3 ในระบบบริหารงานหลักสูตร เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องปฏิบัติการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล 2 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล วิทยากรโดยนางสาวสุภาพร ทองจันทร์  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มีอาจารย์ใหม่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จากสำนักวิชาต่าง ๆ เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 18 คน

มคอ.     มคอ.

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์ และ นางสาวณัฐปภัสร์ พรหมสวัสดิ์ พนักงานธุรการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นให้เป็น Smart City ด้วยเทคโนโลยี ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมี รศ.ดร.อุไร จเรประพาฬ คณบดีสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และผศ.กรกต สุวรรณรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การบรรยายพิเศษ และเป็นผู้ดำเนินรายการในกิจกรรมเสวนาของการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ด้วย

Smart City & AI Smart City & AI

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2566 เวลา 13.00-16.00 น. ณ โรงเเรมทวินโลตัส จ.นครศรีธรรมราช  คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการยกระดับเมืองและท้องถิ่นให้เป็น Smart City ด้วยเทคโนโลยี ข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) หรือ DEPA ร่วมกับ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และยกระดับการพัฒนาท้องถิ่นทั่วประเทศด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มุ่งสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านกลไกความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สามารถนำไปใช้งานเพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชน องค์กร หน่วยงานในท้องถิ่น ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงท้องถิ่น  ให้เป็นเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ด้วยกลไกความร่วมมือเทคโนโลยี ข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ ภายในงานมีผู้บริหารจากส่วนการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานราชการในจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้บริหาร AI and Robotics Ventures ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายเป็นจำนวนมาก

ในการประชุมได้มีการบรรยายพิเศษในหัวข้อดังนี้

  • Thailand Smart City Framework โดย นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  • เส้นทางสู่ Smart City เทศบาลนครศรีธรรมราช โดย ดร.กณพ เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครศรีธรรมราช
  • เมืองแห่งอนาคต : เมืองอัจฉริยะ โดย รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกสมาคมนักผังเมืองไทย
  • AI และ Smart City กับการบริหารงานและการบริการภาครัฐ โดย ผศ.กรกต สุวรรณรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ท้องถิ่น 4.0 ท้องถิ่นในฐานะแพลตฟอร์ม โดย ดร.จักรพันธ์ จุลละโพธิ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด
  • ปัญญาประดิษฐ์ในการพัฒนาท้องถิ่น โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมโปรแกรมวิจัย 15 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
  • กิจกรรมเสวนา “การขับเคลื่อนเมืองชาญฉลาดที่น่าอยู่ ผ่านกลไกความร่วมมือ การใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ และปัญญาประดิษฐ์ โดย ดร.กณพ เกตุชาติ  รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา และนายวีรวัฒน์ รัตนวราหะ Entrepreneur in Residence Commercial, AI and Robotics Ventures โดยมี ผศ.กรกต สุวรรณรัตน์ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ

Smart City & AI     Smart City & AI

นายช่างเทคนิค ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้รับเชิญจากวิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักศึกษา ในโครงการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชากับสถานประกอบการ (พี่สอนน้อง)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม 2666 เวลา 09.30 น. ณ วิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี นายทินกร ปิยะพันธ์ นายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในโครงการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชากับสถานประกอบการ (พี่สอนน้อง) ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบขั้นตอนการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ เพื่อใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตในอนาคต ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้เรียนตามแผนพัฒนาสมาชิกให้เป็นคนเก่งและมีความสุข ตามแผนส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการของวิทยาลัยการอาชีพพรหมคีรี ซึ่งโครงการดังกล่าวได้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตามวัตถุประสงค์

   

 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จับมือ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ e-Learning เพื่อการเรียนการสอนเชิงรุก ให้แก่อาจารย์ใหม่และผู้สนใจ

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 13.30-16.30 น. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ e-Learning เพื่อการเรียนการสอนเชิงรุก ณ ห้องปฏิบัติการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล 2 อาคารคอมพิวเตอร์ วิทยากรโดย นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และวิทยากรผู้ช่วยโดย นางสาวภัทรานิษฐ์ โยธินวัฒนบำรุง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์นวัตกรรมการเรียนและการสอน มีจำนวนอาจารย์เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 32 คน

 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) ขอเชิญผู้สนใจเสริมทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน นักศึกษา นักเรียน เยาวชน และบุคคลทั่วไป ได้รับการยกระดับขีดความสามารถ เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) โดยดำเนินการร่วมกับพันธมิตรในการเส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐานและทั่วไปแก่ประชาชน สามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสในกาารเสริมสร้างทักษะดิจิทัล และทักษะที่สามารถสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้อีกด้วย

ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/depa_course_banner

ทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเปิดบริการคลินิกให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาการใช้ระบบลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line “Thasala” วันที่ 16 และ 23 มกราคม 2566

ตามที่มหาวิทยาลัยได้เปิดใช้ระบบลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line Thasala เพื่ออำนวยความสะดวกให้พนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป สามารถลงเวลาปฏิบัติงาน ณ อาคารสำนักงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามขอบเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนด อีกทั้งรองรับกรณีพนักงานไปปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ซึ่งจะต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าหน่วยงานอนุมัติด้วย  ซึ่งมีพิธี Kick off เปิดใช้ระบบงาน โดยรักษาการแทนอธิการบดี (ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์) ในที่ประชุมบริหารครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 และกำหนดเปิดระบบให้พนักงานใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

Line Thasala

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้ระบบลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line “Thasala” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จึงเปิดบริการคลินิกให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการใช้งาน วันที่ 16 และ 23 มกราคม 2566  ณ ห้องประชุม 1 อาคารคอมพิวเตอร์ และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Cloud Meeting และทางโทรศัพท์ด้วย

Line Thasala  Line Thasala   Line Thasala

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์พัฒนาระบบลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line ใช้ชื่อว่า Thasala มีการ Kick off การใช้งานระบบ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธี

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับ ส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (WU-HRMS) โดยมีระบบย่อย (Module) การลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line ซึ่งใช้ชื่อว่า Thasala เพื่ออำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถลงเวลาปฏิบัติงาน ณ อาคารสำนักงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้มีการกำหนดบริเวณในแผนที่เป็นวงกลมสีฟ้าครอบคลุมแต่ละอาคาร แสดงขอบเขตจุดบริการพื้นที่ลงเวลาปฏิบัติงานได้ และระบบยังออกแบบให้รองรับการปฏิบัติงานนอกพื้นที่ เช่น ต่างอำเภอ/จังหวัด ก็สามารถลงเวลาเข้าออกงานได้ โดยให้ระบุเหตุผล เช่น ไปจัดนิทรรศการ ไปซื้ออุปกรณ์ เป็นต้น เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติของหัวหน้าหน่วยงานได้อีกด้วย ที่ผ่านมาได้ทำการทดสอบระบบกับหน่วยงานนำร่อง 2 หน่วยงาน คือ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมและการกีฬา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 31 ธันวาคม 2565 ผลปรากฏว่าสามารถนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อำนวยความสะดวกและผู้ใช้งาน ตอบโจทย์นโยบายมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) ด้าน Smart Organization ได้เป็นอย่างดี

Line Thasala

           

Line Thasala       Line Thasala      Line Thasala

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีการ Kick off เปิดใช้งานระบบลงเวลาเข้า-ออกงาน ผ่านสมาร์ทโฟน ด้วย Application Line ซึ่งใช้ชื่อว่า “Thasala” เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2565 ในประชุมบริหารของมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2565 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วาริท เจาะจิตต์ รักษาการแทนอธิการบดี เป็นผู้กล่าวรายงานและให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบ ร่วมกับ นายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นางสมพร บุญเกียรติเดชากุล หัวหน้าส่วนทรัพยากรมนุษย์และองค์กร และทีมงานพัฒนาระบบ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และพนักงานที่เข้าประชุมร่วมแสดงความยินดี มีการเผยแพร่พิธี Kick off ระบบ ณ ห้องประชุมช่อประดู่ อาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผ่านระบบประชุมออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวจะประกาศเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการทั้งมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2566 เป็นต้นไป

 

 

ผู้ใช้งานเพิ่มเพื่อน Line Official @Thasala-wu และศึกษาคู่มือการใช้งานระบบได้ที่ https://cdt.wu.ac.th/?page_id=36358&lang=th

Line Thasala Line Thasala Line Thasala

 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสัมมนาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ 2566  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 41 คน

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 ณ ห้อง Co-working space อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี นำทีมบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลสัมมนาจัดทำแผนกลยุทธ์ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมี ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และนายชัยรัตน์ กาญจนอารี รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมหลัก ซึ่งการจัดทำแผนกลยุทธ์หน่วยงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  1. งานตามภารกิจหลัก
  2. เกณฑ์การประเมินหน่วยงาน
  3. ภาระงานที่ต้องทำร่วมกับฝ่ายอื่น ๆ

ในช่วงท้ายของกิจกรรม ได้มีการนำเสนอแผนกลยุทธ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งทุกฝ่ายได้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอได้อย่างครบถ้วน น่าสนใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บุคลากรในหน่วยงาน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ 2566 สร้างความสนุกสนานและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในบุคลากรของหน่วยงาน

วันนี้ (4 มกราคม 2565) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และนายชัยรัตน์ กาญจนอารี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย หัวหน้าฝ่าย และบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดพิธีทำบุญเลี้ยงพระ ณ บริเวณโถงกลางของอาคารคอมพิวเตอร์ โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 5 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์และฉันภัตตาหารเพลพร้อมถวายสังฆทาน เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่หน่วยงานและบุคลากร ให้สามารถปฏิบัติงานไปด้วยความอยู่เย็นเป็นสุขและประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ได้จัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่เพื่อสานสัมพันธ์ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะให้แก่บุคลากรในหน่วยงานอีกด้วย

ในการนี้ ได้มี รองศาสตาจารย์ ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ คณบดีสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ และอดีดผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์คนแรก มาร่วมกิจกรรม พร้อมด้วยอาจารย์และบุคลากรจากหลาย ๆ หน่วยงาน ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขอขอบพระคุณในความกรุณามา ณ โอกาสนี้