







เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้ลงพื้นที่ทำการติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณไร้สาย (WiFi) เพื่อให้สัญญาณครอบคลุม ลานกิจกรรม อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อรองรับผู้มาใช้บริการกิจกรรมต่าง ๆ ของอุทยานพฤกษศาสตร์ เช่น หอชมฟ้า กางเต้นท์ เป็นต้น
คู่มือการปฏิบัติงานระบบสแกนลายนิ้วมือ เพื่อลงเวลาปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การใช้งานอินเทอร์เน็ตและอีเมลอย่างปลอดภัย” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 9.00-12.00 น. ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ให้แก่บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจ
ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และทีมงานศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานใน Session Biology หัวข้อ “Developing online platform tools for botanical database system” เมื่อวันพุธที่ 29 มีนาคม 2566
เนื่องในโอกาสวันสถาปนามาหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 31 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ Walailak Research Convention 2023 “Higher Education in the Disruptive Era” Center of Excellence for Ecoinformatics and School of Science are cohosting “International Virtual Conference on Smart Education” ซึ่ง ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และทีมงาน ประกอบด้วย นายดนัยณัฐ ซังเรือง นาย วิชชุกร ด่านเดชา และนาง รวมพร คงจันทร์ รักษาการแทนหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้ อุทยานพฤกษศาสตร์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. รุ่งรวี จิตภักดี ผู้อำนวยการอุทยานพฤกษศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานใน Session Biology หัวข้อ “Developing online platform tools for botanical database system”
โดย Platform Online “Developing online platform tools for botanical database system” ดังกล่าวเข้าถึงได้ที่ https://resourceportal.wu.ac.th/engine พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) จัดเก็บฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ สามารถจัดเก็บข้อมูลพันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ ชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ การใช้ประโยชน์ สรรพคุณทางยา สถานที่พบ โดยสามารถเพิ่ม/ลบ/แก้ไข ข้อมูลพันธุ์พืช พร้อมแนบรูปประกอบส่วนต่าง ๆ เช่น ใบ ดอก ลำต้น ผล และเพิ่มพิกัด Latitude/Longitude วันที่พบ จำนวนที่พบ
2) ระบบค้นหาข้อมูลส่วนต่างของพันธ์ไม้ เข้าถึงได้ที่ https://resourceportal.wu.ac.th/page/search ซึ่งระบบดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องฐานข้อมูลพันธุ์ไม้สำหรับนักเรียนและผู้สนใจ
บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมพิธีทําบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคล และเข้าร่วมพิธีการในหอประชุมใหญ่ เนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 31 วันพุธที่ 29 มีนาคม 2566
วันนี้ (29 มีนาคม 2566) บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 45 คน เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 31 โดยมีพิธีทําบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล 3 ศาสนา ตั้งแต่เวลา 07.00 น. ณ ลานเพลินตา อาคารไทยบุรี เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บริหาร บุคลากร ตลอดจนนักศึกษา โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และนายธีระชัย เชมนะสิริ นายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง แด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 31 รูป ร่วมพิธีขอดุอาร์ของศาสนาอิสลาม และการอธิษฐานพรของศาสนาคริสต์ แขกผู้มีเกียรติในจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
จากนั้นได้มีพิธีการในหอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี ได้กล่าวสรุปผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในรอบปีที่ผ่านมา และนายธีระชัย เชมนะสิริ นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 31 ต่อด้วยพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพายและมอบรางวัลแก่บุคลากร โดย นายธีระชัย เชมนะสิริ นายกสภามหาวิทยาลัย ได้แก่ พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 100 คน พิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติบุคลากรที่ปฏิบัติงานต่อเนื่อง 25 ปี จำนวน 85 คน และพิธีมอบรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นด้านต่าง ๆ จำนวน 6 คน
สำหรับบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในครั้งนี้ จำนวน 8 คน ได้แก่
จุตรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
1. นายธีระศักดิ์ ด่านสกุล
เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย (บ.ม.)
1. นายคุณชิต สุขพัฒนศรีกุล
2. นายเอกสิทธิ ผจงจิตยางกูร
3. นางสาวสุภาพร ทองจันทร์
4. นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด
ร่วมพิธีรับมอบแหวนทองคำเชิดชูเกียรติ
1. นางณัฐรดา เลขาพันธ์
2. นายนันทชัย ไชยเสน
3. นายสุเทพ น้อยลัทธี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมการใช้งานแอพพลิเคชั่น Traffy Fondue ให้แก่ผู้รับแจ้งเหตุประจำหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีวิทยากรจาก สวทช. ให้ความรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ Zoom Cloud Meeting ณ ห้องระเบียงบรรณ 2 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566
วันนี้ (22 มี.ค 66) เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องระเบียงบรรณ 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดการอบรมการใช้งานแอพพลิเคชั่น Traffy Fondue โดยวิทยากรจาก สวทช. ผู้เข้าอบรมให้แก่ ผู้รับแจ้งเหตุประจำหน่วยงาน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ นายจักรินทร์ ล้วนศิริ หัวหน้าฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร และนายชณวัฒน์ หนูทอง วิศวกร พร้อมด้วยส่วนส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา ส่วนอาคารสถานที่ ส่วนภูมิสถาปัตย์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์บริหารทรัพย์สิน และมีนายศราวุธ อินปิน หัวหน้าส่วนบริการกลาง และทีมงาน เป็นฝ่ายเลขานุการ โดยมีแผนการนำแพลตฟอร์ม Traffy Fondue มาใช้ในการรับแจ้งเหตุของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย มีแผนนำไปใช้งานโดยสรุปดังนี้
เดือนเมษายน 2566
1. วิเคราะห์และกำหนด operation ที่เหมาะกับบริบทของมหาวิทยาลัย
2. แนะนำวิธีการใช้งานให้กับบุคลากรและนักศึกษาในการเป็นผู้แจ้งเหตุ
3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 พร้อมเปิดตัวใช้งานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Traffy Fondue (ทราฟฟี่ ฟองดูว์) พัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นแพลตฟอร์มที่จัดทำขึ้นสนับสนุนการเป็น Smart City สำหรับสื่อสารปัญหาของเมืองระหว่างประชาชนและหน่วยงานที่รับผิดชอบ ประชาชนสามารถแจ้งปัญหาที่พบไปให้ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วผ่านทางแอปพลิเคชันบนมือถือ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความสะอาด ปัญหาทางเท้า ไฟส่องสว่าง หรือถนนชำรุด โดยเป็นการแจ้งปัญหาในรูปแบบที่มีข้อมูลเพียงพอให้หน่วยงานสามารถดำเนินการได้ทันที เช่น มีภาพถ่าย และตำแหน่งบนแผนที่ ขณะเดียวกันหน่วยงานที่รับผิดชอบก็สามารถให้ข้อมูลและอัปเดตสถานการณ์การแก้ไขปัญหาสื่อสารกลับมาให้แก่ประชาชนได้ นอกจากนี้ในส่วนของเจ้าหน้าที่ยังมีระบบบริหารจัดการและติดตามปัญหา บริการข้อมูลทางสถิติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนงบประมาณและกำลังคน ซึ่งหน่วยงานของรัฐและเอกชนสามารถตั้งกลุ่มรับแจ้งและบริหารจัดการปัญหาของตนเองได้อีกด้วย