มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปลื้มติดอันดับ 501+ ของโลก การจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ (Young University Rankings 2023) โดย Times Higher Education เป็นครั้งแรก เป็นอันดับ 3 ร่วมของไทย

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เวลา 16.00 น. สถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยของโลกชื่อดัง Times Higher Education หรือ “THE” จากประเทศอังกฤษ ได้ประกาศอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ที่ดีที่สุด ประจำปี 2023 (Young University Rankings 2023) ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 501+ของโลก จากมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับทั้งหมด จำนวน 605 แห่ง เป็นอันดับ 3 ร่วมของประเทศไทย

การจัดอันดับ THE Young University Rankings  เป็นการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ที่ดีที่สุดในโลกที่ก่อตั้งมาน้อยกว่า 50 ปี โดยใช้ตัวชี้วัดการจัดอันดับมาจาก 5 ส่วนหลักที่สำคัญ ได้แก่ การสอน การวิจัย การอ้างอิงผลงานในวารสารนานาชาติ ความเป็นนานาชาติ  และรายได้จากภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งในปี 2023​ Nanyang Technological University จากประเทศสิงคโปร์ ครองอันดับ 1 กลุ่มมหาวิทยาลัยน้องใหม่ที่ดีที่สุด ประจำปี 2023 หลังจากเคยตกไปอยู่อันดับ 2 เมื่อปีแล้ว ส่วน The Hong Kong University of Science and Technology จากฮ่องกง ขยับขึ้นไปอยู่อันดับ 2 ขณะที่ Paris Sciences et Lettres – PSL Research University Paris ฝรั่งเศส รองชนะเลิศปีที่แล้วตกไปอยู่อันดับที่ 3  ตามลำดับ

ส่วนมหาวิทยาลัยของไทยที่ติดอันดับในครั้งนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้อันดับที่ 301-350 ของโลก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 401-500 มหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อยู่ในอันดับที่ 501+

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เคยได้รับการจัดอันดับโลก World University Rankings 2023 โดย THE ให้อยู่ในอันดับที่ 1501+ อันดับ 11 ของไทย ได้รับการจัดอันดับผลงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) หรือ THE Impact Rankings ปี 2023 ให้อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก ได้รับการอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย THE Asia University Rankings 2023  อยู่ในอันดับที่ 601+ ของเอเชีย และได้รับการจัดอันดับจาก QS Asia University Rankings 2023 ในอันดับที่ 551-600 ของเอเชียมาแล้ว

ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://intranet.wu.ac.th/th/detail/22974

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายลงทะเบียน ในงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค Regional Research Expo 2023 ครั้งที่ 12 ประจำปี 2566” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 3,000 คน

มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค  Regional Research Expo 2023 ภายใต้แนวคิด วิจัย นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย  นิทรรศการโครงการเฉลิมพระเกียรติ, นิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่รับการสนับสนุนจาก วช. นิทรรศการการวิจัยของหน่วยงาน/นักวิจัยในพื้นที่/เครือข่ายการวิจัยในภูมิภาค, นิทรรศการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้, นิทรรศการ Highlight แสดงอัตลักษณ์ของภูมิภาค, การนำเสนอผลงานวิจัย “วิจัย นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล” ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านเกษตรและอาหารแนวใหม่ ด้านพลังงานและวัสดุ ด้านการท่องเที่ยว บริการและการพัฒนาสังคม และด้านการแพทย์และสุขภาพและการออกร้านอาหารเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์จากชุมชน เป็นต้น

ด้วยศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลมีความประสงค์จะสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ประจำไตรมาสที่ 3/2566 (เมษายน-มิถุนายน 2566) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการวิเคราะห์ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานและการให้บริการต่าง ๆ ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ จึงได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลขึ้น และขอความร่วมมือตอบแบบประเมินดังกล่าวได้ที่ https://forms.gle/Hr1Wd4Br6APbNvELA หรือ QR Code

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เขียน Blog ง่าย ๆ สไตล์ดิจิทัล ให้แก่พนักงาน โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอาภรณ์ ไชยสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นวิทยากรให้ความรู้ มีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 36 คน

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เขียน Blog ง่าย ๆ สไตล์ดิจิทัล ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการเขียน Blog เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้ภาษาในการเขียน Blog อย่างเหมาะสม และสามารถเขียน Blog ได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์หน่วยงาน ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนเว็บไซต์เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัย จัดทำหลักเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์หน่วยงาน และสำนักวิชา ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ทุกหน่วยงานเขียน Blog ลงในเว็บไซต์ภายใต้โดเมน https://blog.wu.ac.th/ อย่างน้อย
1 เรื่อง/ไตรมาส โดยให้มีความยาวไม่ต่ำกว่า 300 คำ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงจัดการอบรมขึ้นให้พนักงานในหน่วยงานสามารถเขียน Blog ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

WU Blog WU Blog

ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สนับสนุนงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023)” ครั้งที่ 12 ในวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมหัวตะพาน อาคาร A ชั้น 3 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำหนดจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023)” ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้แนวคิด “วิจัย นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ภาคใต้โมเดล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งให้เกิดการขยายผลการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับพื้นที่เป็นวงกว้างและรูปธรรม ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ผลผลิต ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ที่เกิดจากการวิจัยของนักวิจัยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสามารถนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาหรือสร้างสรรค์พร้อมทั้งต่อยอดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยมีกำหนดจัดงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023)” ครั้งที่ 12 ในวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมหัวตะพาน อาคาร A ชั้น 3 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ ซึ่งฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สนับสนุนงานแถลงข่าวดังกล่าวทั้งในวันซ้อมและวันจัดงาน

Regional Research Expo 2023

Regional Research Expo 2023

Regional Research Expo 2023

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก จากการจัดอันดับผลงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) โดยTimes Higher Education Impact Rankings ปี 2023  ขยับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200 อันดับ และเป็นอันดับที่ 10 ร่วมของประเทศไทย โดยผลงานด้าน SDG2 ,SDG6 ,SDG11 และSDG14 สามารถทำคะแนนติดอันดับ Top 100 ของโลกเป็นครั้งแรก

วันที่ 1 มิถุนายน 2566 Times Higher Education (THE) ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) หรือ THE Impact Rankings ประจำปี 2023 โดยมีจำนวนมหาวิทยาลัย 1,591 แห่งใน 112 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก ขยับดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา 200 อันดับ และเป็นอันดับที่ 10 ร่วมของประเทศไทย

โดยผลงาน SDGs 4 ด้านที่สามารถทำคะแนนติดในอันดับ top 100 ของโลกเป็นครั้งแรก ประกอบด้วย ผลงานด้าน SDG2, SDG6, SDG11 และSDG14 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 56 , 52 , 99 และ 58 ของโลกตามลำดับ  นอกจากนี้ยังมีผลงานด้าน SDG3, SDG4, SDG17 ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 101-200 และ SDG12 อยู่ในอันดับ 201-300 ของโลก   ทั้งนี้หากดูผลการจัดอันดับเฉพาะในประเทศไทย พบว่า ผลงานด้าน SDG6 และ SDG14  สามารถทำคะแนนขยับขึ้นไปอยู่ในอันดับ 3 ของประเทศ SDG3 และ SDG11 เป็นอันดับ 4 ของประเทศ และ SDG 2 เป็นอันดับ 5 ของประเทศอีกด้วย

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) ตามกรอบขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งในปี 2022  มวล.ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 601-800 ของโลก จึงได้นำจุดอ่อนที่เคยเกิดขึ้นนำมาปรับปรุงแก้ไข ปีนี้ผลที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจแสดงให้เห็นในเชิงประจักษ์ว่ามหาวิทยาลัยมีผลงานที่โดดเด่น และเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จในครั้งนี้มาจากการมุ่งมั่นทุ่มเททำงานกันอย่างเข้มข้นของพวกเราทุกคน ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาที่ร่วมกันขับเคลื่อน และเชื่อว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยจะได้รับการจัดอันดับโลกที่สูงขึ้น

ในปี 2023 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการส่ง 8 เป้าหมายSDGs ให้ THE Impact Rankings พิจารณา ประกอบด้วย SDG2 : Zero Hunger (ขจัดความหิวโหย) , SDG3 : Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) , SDG4 : Quality Education (คุณภาพการศึกษา) , SDG6 : Clean Water and Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) , SDG11 : Sustainable cities and Communities (เมืองและการสังคมมนุษย์ที่มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน) SDG12 : Responsible Consumption and Production (การสร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน), SDG14 : Life Below Water (ทรัพยากรทางทะเล) และ SDG17 : Partnerships for the Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยแห่งนี้ยังได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก World University Rankings 2023  อยู่ในอันดับที่ 1501+ ของโลก อันดับที่ 11 ของไทย ได้รับการจัดอันดับจาก QS Asia University Rankings อันดับที่ 551-600 ของเอเชียด้วย

ขอบคุณภาพและเนื้อหาข่าวจาก www.wu.ac.th

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ม.วลัยลักษณ์ ติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สาย ณ บริเวณโถงกลาง อาคาร WU Residence A-B เพื่อให้บริการนักศึกษาบริเวณหอพักนักศึกษา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการต่อเติมให้เป็นห้องพักสำหรับนักศึกษา

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำการติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สาย ณ อาคาร WU Residence A-B  โดยติดตั้งที่บริเวณโถงกลางของทั้ง 2 อาคาร และ ชั้น 3-5 ของอาคาร รวมจำนวน AP ทั้งสิ้น 36 อุปกรณ์  และต้องมีการให้บริการสัญญาณไร้สายสำหรับนักศึกษา ภายใต้บริการ  SSID WU Wi-Fi

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริหารจัดการโปรแกรม Zoom สำหรับ Admin ในวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้อง e-Testing 4 อาคารคอมพิวเตอร์ มีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมจำนวน 42 คน

ในปีงบประมาณ 2566 ได้มีการนำโปรแกรม Zoom Cloud Meeting เข้ามาใช้งานด้านการเรียนการสอนและการประชุมต่าง ๆ แบบออนไลน์ ภายในมหาวิทยาลัยมากขึ้น ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดซื้อ Zoom สำหรับองค์กรเพื่อนำมาใช้งาน โดยมีการแบ่งลิขสิทธิ์การใช้งานไปยังหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงต้องชี้แจงข้อตกลง วิธีการใช้งานและการบำรุงรักษาให้หน่วยงานได้รับทราบ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การบริหารจัดการโปรแกรม Zoom สำหรับ Admin ให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการโปรแกรม Zoom ภายในหน่วยงาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดูแลและบริหารจัดการโปรแกรม Zoom สำหรับองค์กร ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้จัดส่งผู้รับผิดชอบเข้าการอบรมดังกล่าวกันอย่างคับคั่ง 

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยผู้บริหาร และนักศึกษา ร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (3 มิถุนายน 2564) โดยบันทึกเทปในวันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2564 โดยมีผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมบันทึกเทปในครั้งนี้ด้วย

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมบันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (3 มิถุนายน 2564) ซึ่งนำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารหน่วยงาน และนักศึกษา เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยบันทึกเทปในวันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.30 น. ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช

บันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร

บันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร    บันทึกเทปโทรทัศน์ถวายพระพร

 

บุคลากรฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ประจำเขตเลือกตั้งที่ ๒ อำเภอท่าศาลา สถานที่เลือกตั้ง โถงกลางชั้น ๑ อาคารไทยบุรี

เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดให้เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยเชิญให้ นายสรพงศ์ ทินกร นายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งที่ ๒ อำเภอท่าศาลา ซึ่งนายสรพงศ์ได้รับเชิญการเป็นกรรมการดังกล่าว อีกทั้งยังเข้าร่วมการฝึกอบรมและประชุมรับฟังคำชี้แจงซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๑๘ พ.ค. ๖๖ อีกด้วย

 เลือกตั้ง

เลือกตั้ง

เลือกตั้ง