ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับและร่วมทำกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ จำนวน 48 คน พร้อมด้วยคุณครู 5 คน เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2566 เวลา 09.00-10.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคารคอมพิวเตอร์ 

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วยทีมงานจากฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ จำนวน 4 คน ให้การต้อนรับและร่วมทำกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 (อายุ 3-5 ปี) จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเราะ ภายใต้โครงการ/กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (โครงการจัดบริการสารสนเทศและ ICT) ประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลูกฝังให้เด็กรักการเรียนรู้ คิดค้นหาคำตอบผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก โดยมีการทำกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ มีนักเรียนเข้าร่วมจำนวน จำนวน 48 คน พร้อมด้วยคุณครู 5 คน

 

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับมอบประกาศนียบัตร Digital ID by TUC-CA Ready Award จาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่43” (Workshop on UniNet Network and Computer Application : 43rd) หรืองาน WUNCA43 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เป็นประธานมอบประกาศนียบัตร Digital ID by TUC-CA Ready Award ให้แก่หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับใบรับรองระบบลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ Thai University Consortium (TUC) จำนวน 114 แห่ง ที่ ห้อง Auditorium ชั้น 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มี ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นผู้แทนในการรับมอบเกียรติบัตรครั้งนี้

กระทรวง อว.ขับเคลื่อนให้หน่วยงานในสังกัด มีการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ในการทำงานหรือบริหารจัดการภายใน และการให้บริการ โดยไม่ใช้กระดาษ (Paperless) มีการสร้าง การจัดเก็บ และการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ที่มีความน่าเชื่อถือและพิสูจน์ความเป็นเจ้าของได้ ตามมาตรา 9 มาตรา 26 – 31 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้มีการพัฒนาและใช้ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Document) โดยให้บุคลากรทุกคนใช้และลงนามด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) มีระบบการรับรองลายมือชื่อที่มีความน่าเชื่อถือ เรียกว่า Certification Authority : CA และได้จัดตั้ง Thai University Consortium (TUC) ขึ้น โดยมี 10 สถาบันอุดมศึกษานำร่อง และได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ระบบลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ Thai University Consortium เมื่อวันที่ 26 – 27 เม.ย.2566 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เพื่อให้หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดได้มีระบบลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ Thai University Consortium (TUC) สำหรับนำไปประยุกต์ใช้กับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ตามความเหมาะสมของหน่วยงานได้ต่อไป

พิธีการมอบประกาศนียบัตร Digital ID by TUC-CA Ready Award จัดขึ้นเพื่อมอบให้แก่หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา ที่ดำเนินการจัดทำระบบลายมือชื่อดิจิทัลและได้รับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ Thai University Consortium Root CA จำนวน 114 แห่ง จำแนกเป็น ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ/องค์การมหาชน จำนวน 17 แห่ง สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวง อว. จำนวน 96 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษานอกสังกัด อว. จำนวน 1 แห่ง

 

wunca43 wunca43

wunca43 wunca43

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก MGR Online. https://mgronline.com/science/detail/9660000062449

เมื่อวันที่ 10-12 ก.ค. 66 คณะผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมงาน WUNCA43 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเข้าร่วม Workshop ThaiD/Update Tech Trend กับ Uninet และบริษัทต่าง ๆ

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และ นายจักรินทร์ ล้วนศิริ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่43” (Workshop on UniNet Network and Computer Application : 43rd) หรืองาน WUNCA43 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเข้าร่วม Workshop ThaiD/Update Tech Trend กับ Uninet และบริษัทต่าง ๆ และหารือความร่วมมือ สรุปสิ่งที่มีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ประโยชน์มีดังนี้

1. Dashboard ข้อมูลเชิงสรุปการรับนักศึกษา

2. Foxit PDF Editor for Education มหาวิทยาลัยได้รับสิทธิ์การใช้งานโปรแกรม Foxit PDF Editor จำนวน 2,200 License/ปี ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 – 30 เมษายน 2567 ซึ่งสามารถนำมาจัดสรรให้พนักงานของมหาวิทยาลัยใช้งานได้1 คน/1 สิทธิ์/2 devices & on cloud

3. การสร้างทีม Cyber Security ระหว่างทีมส่วนกลาง UniNet ระหว่างมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ซึ่งจะมีการหารือแนวทางดำเนินการต่อไป

4. LANTA SUPERCOMPUTER สำหรับงานวิจัย ติดตั้งแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างทดสอบ Environment หากท่านใดสนใจสมัครเข้าร่วมใช้งานโดยส่ง Propersal งานวิจัยเพื่อเข้าร่วม

5. Application ThaiD ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีหนังสือถึงอธิบดีกรมปกครองเพื่อขอเชื่อมโยงระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยกับฐานข้อมูลบัตรประชาชน หลังจากได้รับอนุมัติ มหาวิทยาลัยจะได้รับ API Spec. เพื่อนำมาใช้พัฒนาการบริการต่างๆ เช่น สมัครงาน สมัครเรียน การลงทะเบียนงานหรือกิจกรรม ให้มีความทันสมัย ลดขั้นตอน ลดกระดาษ ประหยัดทรัพยากร

6. Uninet จะเป็นเจ้าภาพงานประชุมเครือข่ายภาคพื้นเอเชีย APAN57 ในวันที่ 29 ม.ค.-2 ก.พ. 67

7. จากความร่วมมือกับโรงพยาบาลและหน่วยวิจัยทั่วโลก เศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ สามารถใช้ Tele-Medicine ที่มีความเสถียร ความละเอียด 4K ผ่าน Uninet Provide IP ที่มีความเร็ว (Speed) 2.6 Gbps

8. การรับมอบประกาศนียบัตร Digital ID by TUC-CA Ready Award จาก ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ซึ่งมอบให้แก่หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับใบรับรองระบบลายมือชื่อดิจิทัลภายใต้ Thai University Consortium (TUC) จำนวน 114 แห่ง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง Auditorium ชั้น 2 อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 wunca43 wunca43

wunca43 wunca43

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ และทีมงานดูแลระบบ MIS ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นายพงศ์ธน ฤดีอัครเสรี หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ และทีมงานดูแลระบบ MIS ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับ บรรยาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบบริหารจัดการงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชี กองทุนโดยเกณฑ์พึงรับ-พึงจ่าย ลักษณะ 3 มิติ (WU MIS) และระบบต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงกับระบบ WU MIS (SAP) ของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กับ อาจารย์วิทยาศักดิ์ รุจิวรกุล รองอธิการบดี ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 3 คน จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเข้าศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 เวลา 9.0 0-12.00 น. ณ Innovation Hub อาคารอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเวลา 14.00 -16.00 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และมีและเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมดูงานผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meeting) จำนวน 7 คน

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน ร่วมกันปลูกป่าชายเลน ณ ศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนบ้านปากน้ำปากพญา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 จัดโดยสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำกัด

นายไพศาล พุมดวง นายชนันธร ภิรมย์รักษ์ และนางสาวปาจรีย์ จันทวงศ์ บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน จัดโดยสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำกัด ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมและชุมชน ภายใต้โครงการ “รักษ์สิ่งแวดล้อม” ร่วมกันปลูกป่าชายเลน ฟื้นฟูธรรมชาติ สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ณ ศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวชุมชนบ้านปากน้ำปากพญา หมู่ที่ 9 ตำบลท่าซัก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 ปลูกป่าชายเลน ปลูกป่าชายเลน ปลูกป่าชายเลน ปลูกป่าชายเลน

ปลูกป่าชายเลน

นายไพศาล พุมดวง นายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการแพทย์ทางไกล ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในงานการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการแพทย์ทางไกล 43 WUNCA

เมื่อวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2566 นายไพศาล พุมดวง นายช่างเทคนิค ฝ่ายบริการระบบเครือข่ายและสื่อสาร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการแพทย์ทางไกล WUNCA 43 หัวข้อ AI Technology for Healthcare กรณีศึกษาอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชั้น 2 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยนายไพศาล รับผิดชอบเป็นผู้บรรยาย และดำเนินรายการ ในหัวข้อหลัก การติดตั้งระบบการแพทย์ทางไกล และทดสอบระบบด้วยโปรแกรม ZOOM ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อย่อยต่าง ๆ ได้แก่

  • การปฏิบัติงานการเตรียมการติดตั้ง และการทดสอบระบบ Teleconference
  • การนำเสนอหัวข้อ ชมรม TENST (Telemedicine Network Society Thailand)
  • เทคโนโลยี NDI: Network Device Interface เทคโนโลยีเพื่อการเรียน การสอน กับการนำไปใช้งานจริง
    Network Device Interface (NDI) เป็นมาตรฐานซอฟต์แวร์ ที่พัฒนาเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่รองรับวิดีโอที่สามารถสื่อสาร
    ส่งมอบ และรับวิดีโอความละเอียดสูงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในลักษณะเฟรมเรทต่ำคุณภาพสูงถูกต้องและเหมาะสม
    สำหรับ การเปลี่ยนในสภาพแวดล้อมการผลิตจริง
  • ระบบ Healthcare
  • การประชุมนำเสนอของกลุ่มชมรมเครือข่ายด้านการศึกษาและการแพทย์ทางไกลแห่งประเทศไทย ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านระบบการแพทย์ทางไกล จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมและสัมมนา มีความรู้เข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และรูปแบบการเชื่อมต่อระบบ
เครือข่าย สนับสนุนกิจกรรมการแพทย์ทางไกล
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมและสัมมนา สามารถน าความรู้ไปปฏิบัติงานสนับสนุนกิจกรรมการแพทย์ทางไกล
การศึกษาทางไกล และการประชุมทางไกล ผ่านระบบสารสนเทศ
3. เพื่อสร้างและขยายเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความร่วมมือด้านการบริการด้านการแพทย์ทางไกล
และการศึกษาทางไกลที่ยั่งยืน

เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 43” (WUNCA 43th) ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การแพทย์ทางไกล การแพทย์ทางไกล การแพทย์ทางไกล

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดสรรลิขสิทธิ์ (license) การใช้งานโปรแกรม Foxit PDF Editor for Education โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง บริษัท Fujian Foxit Software Development จำกัด (มหาชน) กับ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เพื่อสนับสนุนการศึกษาและการใช้ประโยชน์ทางการศึกษาภายในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย ซึ่งสามารถ Download หรือใช้งานได้แล้วโดยโปรแกรมจะมีอายุการใช้งานตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2567
 
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่านลงทะเบียนยืนยันรับสิทธิ์การใช้งานโปรแกรมดังกล่าวด้วยอีเมล @mail.wu.ac.th เท่านั้น ในช่องทาง  https://forms.gle/SHCG6qDseVkoTF4d8 หรือ QR Code โดยโปรแกรมจัดการเอกสาร Foxit PDF Editor สามารถใช้งานได้พร้อมกันสูงสุด 2 อุปกรณ์ ทั้งนี้ ศึกษาคู่มือการลงทะเบียนและติดตั้งโปรแกรมได้ที่ https://shorturl.asia/rJBL8 หลังจากลงทะเบียนแล้ว จะใช้งานได้ในวันทำการถัดไป ตั้งแต่เวลา 9.00 น.
Foxit PDF Editor

เมื่อวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ที่ฝึกงาน ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 3 คน

ในพิธีก่อนวาระบริหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 7/2566 ณ ห้องประชุมช่อประดู่ ชั้น 4 อาคารอำนวยการ ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นักศึกษา จากวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ซึ่งเข้ารับการฝีกประสบการณ์วิชาชีพ ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 12 พฤษภาคม 2566 เข้ารับเกียรติบัตรจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีรายชื่อนักศึกษาฝึกงานดังนี้

  1. นายจิรศักดิ์ โลหะรัตน์
  2. นายสรศักดิ์ ไตรระเบียบ
  3. นายดุสิต พรหมทอง

ระดับชั้น ปวส.2 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นักพัฒนาซอฟแวร์คอมพิวเตอร์

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับและบรรยายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล ชั้นปีที่ 2 รายวิชา ITD62-251 การศึกษาองค์กร  เมื่อวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 มีนักศึกษาและอาจารย์เข้าร่วมประมาณ 40 คน

นายชัยรัตน์  กาญจนอารี และนางสาวสุภาพร ทองจันทร์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยนายวิศิษฎ์ เรืองพรหม วิศวกร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับและบรรยายเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล งานการพัฒนาระบบสารสนเทศ งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนำเยี่ยมชมห้องคอมพิวเตอร์หลักของมหาวิทยาลัย ให้แก่นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล ชั้นปีที่ 2 รายวิชา ITD62-251 การศึกษาองค์กร  ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาในการเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์กาญจนา หฤหรรษพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ เป็นผู้ประสานงานในการนำนักศึกษามาศึกษาดูงานในครั้งนี้

 

รายวิชา ITD62-251 การศึกษาองค์กร เป็นรายวิชาที่เปิดสอนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยการศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาในการเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งทางหลักสูตรฯ ได้พิจารณาเห็นว่าศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหน่วยงานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพสูง ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาได้มองเห็นภาพการทำงานที่ชัดเจนในหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้นำนักศึกษามาศึกษาดูงานและฟังการบรรยายจากสถานที่จริง

 

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย นายชณวัฒน์ หนูทอง ตำแหน่ง วิศวกร และ นางสาวปาจรีย์ จันทวงศ์ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นผู้แทนหน่วยงานถวายพานพุ่มเครื่องราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ ในพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 จัดโดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติ โดยมี นางเรืองอุไร บุญช่วยชูพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พันเอกสุวัฒน์ ทองใบ รองเสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 พ.ต.อ.เกษมสิทธิ์ จำปาทอง ตัวแทนผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.นครศรีธรรมราช  นายสรายุทธ วราโห ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนผู้นำนักศึกษา ตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนรายรอบมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โอกาสนี้ ผู้เข้าร่วมพิธีได้ร่วมกันรับชมวีดิทัศน์พระราชกรณียกิจ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จากนั้นผู้แทนหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายกองค์การบริหาร องค์การนักศึกษา ประธานสภานักศึกษา ชาวชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนาและผู้แทนจากหน่วยงานภายนอกร่วมกันถวายพานพุ่มเครื่องราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์ตามลำดับ

หลังจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานในพิธีถวายพานพุ่มเครื่องราชสักการะ และเปิดกรวยกระทงดอกไม้ อ่านบทถวายพระพรต่อหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และร่วมกันลงนามถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงพระเกษมสำราญ เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาชนชาวไทยสืบไป

ทั้งนี้ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และประชาชนทั่วไป ยังได้ร่วมกันบริจาคโลหิต ร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดพื้นที่มหาวิทยาลัย ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์เพื่อถวายเป็นพระกุศลเนื่องในโอกาสดังกล่าว และขอเชิญร่วมกันลงนามถวายพระพรชัยมงคลและเยี่ยมชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ www.wu.ac.th  ตั้งแต่วันที่ 1-15 กรกฎาคม 2566

Organizes a Ceremony in Celebration of Her Royal Highness Princess Chulabhorn Walailak’s Birthday

Organizes a Ceremony in Celebration of Her Royal Highness Princess Chulabhorn Walailak’s Birthday

Organizes a Ceremony in Celebration of Her Royal Highness Princess Chulabhorn Walailak’s Birthday

Organizes a Ceremony in Celebration of Her Royal Highness Princess Chulabhorn Walailak’s Birthday

                                     

ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก ส่วนสื่อสารองค์กร และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์