ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสัมมนาการจัดทำแผนกลยุทธ์หน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 47 คน

เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมท่าศาลาภิรมย์ อาคารวิชาการ 8 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ผู้ช่วยอธิการบดี นำทีมบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลสัมมนาจัดทำแผนกลยุทธ์ของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และ อาจารย์ ดร. ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมหลัก ซึ่งการจัดทำแผนกลยุทธ์หน่วยงานในครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญใน 3 ส่วนได้แก่ การกำหนดค่าKPI, ค่าเป้าหมาย, ตัวชี้วัด

 

สัมมนากลยุทธ์ ศทท 67

 

 

 

 

 

ในช่วงท้ายของกิจกรรม ได้มีการนำเสนอแผนกลยุทธ์ของแต่ละฝ่าย ทีมงาน CRM, ICT Academy โดยได้ส่งตัวแทนออกมานำเสนอได้อย่างครบถ้วน น่าสนใจ เหมาะสมกับเวลา และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องปฏิบัติการและฝึกอบรมเทคโนโลยีดิจิทัล 2 อาคารคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอน จัดอบรมระบบ WU e-Learning ให้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นางสาวจุฬาพร พันธ์กำเหนิด เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “หัวข้อ WU e-Learning หลักสูตรพื้นฐาน สำหรับอาจารย์” ซึ่งจัดโดย ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมประมาณ 20 คน

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้การต้อนรับ และร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานด้านระบบสารสนเทศ กับมหาวิทยาลัยนครพนม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำทีมบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลให้ข้อมูล

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช อาจารย์สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าฝ่ายและบุคลากร ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับ ผู้บริหาร และคณะศึกษาดูงาน จากมหาวิทยาลัยนครพนม ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ปรัญชา ธงพานิช ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและการศึกษาสมัยใหม่ นายวุฒิภัทร พงษ์เพชร รักษาราชการแทนผู้อํานวยการกองส่งเสริมวิชาการฯ นายอัครเดช คิดการเงิน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นายสุรักษ์ สิมคาน นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นายธีระธรรม แก้วอินทร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ และนายธีรพงษ์ อาษาวัง นักวิชาการคอมพิวเตอร์

การแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานระบบสารสนเทศครั้งนี้ ได้มีการแนะนำศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล นำเสนอภาพรวม Digital University แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และวิธีการปฏิบัติงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย

– งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
– งานระบบสื่อสาร
– งานพัฒนาระบบสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
– งานพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารงาน
– งานดูแลและพัฒนาระบบงบประมาณ พัสดุ การเงินและบัญชี แบบสามมิติ
– งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลและเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้การต้อนรับ Mr. Will Qiu รองประธานบริหารกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมคณะ ซึ่งเดินทางมาหารือความร่วมมือด้าน Smart Campus Solution และ Huawei ICT academy เพื่อขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งสู่ Walailak Smart University

การหารือครั้งนี้บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเสนอ Huawei Solution ต่าง ๆ และแนวทางการจัดทำ Smart campus พร้อมทั้งหารือแนวทางการดำเนินการร่วมกับหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับองค์กร เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญคุณภาพสูงทางด้านไอซีทีให้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด มีสิทธิ์เข้าสอบ certificate ของ Huawei เพื่อใช้ในการสมัครเข้าทำงานกับ Huawei และบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์ รวมทั้งใช้ประกอบการศึกษาต่อได้

นอกจากนี้ทั้ง 2 ฝ่ายยังได้หารือความร่วมมือในการส่งนักศึกษาไปปฏิบัติสหกิจศึกษา และการทำงานที่ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) หรือบริษัทพาร์ทเนอร์ แนะนำเรื่องการแข่งขัน Huawei ICT Competition เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถของนิสิตนักศึกษาด้านไอซีทีทั่วโลก พร้อมทั้งการจัดหลักสูตรฝึกอบรมระดับโลกรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรไอซีทีให้แข็งแกร่งและยั่งยืนอีกด้วย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขยับขึ้นอันดับ 1201-1500 ของโลก  การจัดอันดับ World University Rankings 2024 โดย Times Higher Education อันดับ 6 ร่วมของไทย

วันนี้ (27 กันยายน 2566) เวลา 21.00 น. Times Higher Education(THE) ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก World University Rankings 2024 ผ่านเว็บไซต์ https://www.timeshighereducation.com ผลปรากฏว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโลกขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 1201-1500 ของโลก จากมหาวิทยาลัยที่เข้ารับการจัดอันดับโลกทั้งหมด 1,904 แห่งทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 6 ร่วมของประเทศไทย จากมหาวิทยาลัย 19 แห่งที่ผ่านเงื่อนไขและได้รับการจัดอันดับในปีนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า “ที่ผ่านมาคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งมั่นทำงานกันอย่างหนัก ทำให้โดยภาพรวมในมิติต่างๆ มหาวิทยาลัยมีคะแนนที่สูงขึ้น สามารถขยับขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 1201+ อันดับ 6 ร่วมของประเทศไทย อีกทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ถือเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ (Young University) ที่มีความก้าวหน้าในด้านวิชาการมากและทำให้ได้รับการจัดอันดับโลก ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้มีนักเรียนและผู้ปกครองเชื่อมั่นในคุณภาพและศักยภาพและสนใจสมัครเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มากขึ้น”

ทั้งนี้การได้รับการจัดอันดับโลกที่ดีขึ้นมีผลต่อการสร้างความน่าเชื่อถือของมหาวิทยาลัย เช่น เมื่อปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อมากถึง 39,000 คน ปีก่อนหน้านี้ 31,000 คน แต่ปีนี้หลังจากประกาศรับสมัคร TCAS รอบที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา  ผลปรากฎว่ามีนักเรียนมาสมัครแล้ว 9,000 กว่าคนมากกว่าปีที่แล้วเป็น 3 เท่า

“มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Scopus Q1,Q2 กว่า 88% อยู่ในกลุ่มอันดับ 1 ของประเทศ(ข้อมูล ณ วันที่ 26 ก.ย.’66) การขยับอันดับโลกที่ดีขึ้นในปีนี้ เป็นผลมาจากความพยายามและทำงานหนัก ซึ่งอันดับที่ 1201-1500 ของโลก เป็นอันดับที่คิดว่าเรายังพัฒนาตัวเองได้ และเราจะพัฒนาให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอันดับโลกที่ดีมากขึ้นกว่านี้ในอนาคต” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวในตอนท้าย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนางานวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global & Frontier Research) เน้นการวิจัยขั้นสูง และผลิตบัณฑิตนักวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา พร้อมมุ่งค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างความรู้ทฤษฎี และข้อค้นพบใหม่ๆในสาขาวิชาต่างๆ โดยก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เคยได้รับการจัดอันดับโลกจาก Times Higher Education ปี 2023 อยู่ในอันดับที่ 1501+ ของโลก อันดับที่ 11 ของไทย ได้รับการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ Young University Rankings 2023 อยู่อันดับ 501+ ของโลก อันดับ 3 ร่วมของไทย ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Ranking ปี 2023 อยู่ในอันดับที่ 401-600 ของโลก อันดับที่ 10 ร่วมของประเทศไทย และได้รับการจัดอันดับจาก QS Asia University Rankings 2023 ในอันดับที่ 551-600 ของเอเชียมาแล้ว

Unixcape communication There is a new version update, resulting in not being able to use normally.
Users are requested to uninstall the old application from the device and install a new version with registration.
access code
– Company code : 6603
– User name & Password: according to the number allocated to each person

Study the manual from the link. https://bit.ly/3JL5jiU

 

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลเเละส่วนทรัพยากรมนุษย์เเละองค์กร ร่วมกันพัฒนาระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการรายงานผลในระบบ E-Report
ดังนั้น เพื่อให้การรายงานผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอให้ ท่านมอบหมายพนักงานในหน่วยงานที่มีหน้าที่รายงานผลตามคำรับรอง จำนวน ๑ คน เข้าประชุมชี้เเจงเเละซักซ้อมการรายงานผลตามคำรับรองในระบบ E-Report ในวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. 
ณ อาคารเรียนรวม ๖ (ST ๒๑๐) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
ทั้งนี้ขอให้พนักงานดังกล่าวนำคำรับรองของหน่วยงานมาใช้ประกอบประชุมด้วย สำหรับหน่วยงานใดที่กำหนดค่าเป้าหมายที่ไม่เป็นตัวเลข ขอให้ปรับเปลี่ยนเป็นตัวเลขเพื่อง่ายต่อการรายงานผลในระบบ
E-Report

คณะกรรมการกลาง 5ส Green เข้าตรวจประเมินพื้นที่ 5ส Green ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2566 ณ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00-12.00 น.
 
ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับการตรวจประเมินพื้นที่ 5ส Green ประจำปีงบประมาณ 2566 จากคณะกรรมการกลาง 5ส Green มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามมาตรฐาน 5ส Green โดยมี นางณัฐรดา  เลขาพันธ์  นางสุวภา วรรณเพชร และนางสาวณิรดา เพ็ชรคงทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ฝ่ายบริหารทั่วไปและธุรการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นผู้นำเสนอข้อมูลพื้นที่ และนำชมหน่วยงาน พร้อมตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ
การดำเนินการรับการตรวจประเมินเป็นไปอย่างเรียบร้อยตามมาตรฐาน 5ส Green ที่กำหนดไว้อย่างดียิ่ง และขอขอบคุณในความร่วมมือของบุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลไว้ ณ โอกาสนี้

ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์  ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 2 (ผลการดำเนินงานรอบ 10 เดือน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 กรกฎาคม 2566) ในที่ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566

ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นประธานการประชุมรายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2566 ครั้งที่ 2 (ผลการดำเนินงานรอบ 10 เดือน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 กรกฎาคม 2566) เพื่อร่วมรับฟังความก้าวหน้าในการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานในปีถัดไป จัดโดยส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมภัทรธรรมาภรณ์ อาคาร C ชั้น 9 โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทั้งนี้ ดร.เปรมฤดี นุ่นสังข์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้นำเสนอผลงานของศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ให้ที่ประชุมรับทราบ ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานหน่วยงาน ผลการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของอธิการบดี/ภารกิจหลัก ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์(ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินหน่วยงานประจำปี

รายงานผลการดำเนินงานรอบ 10 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานรอบ 10 เดือน

นางสาวณิรดา เพ็ชรคงทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การใช้ Microsoft Word ในงานสำนักงาน” ให้แก่นักศึกษา เมื่อวันพุธที่  9 สิงหาคม  2566 เวลา 13.00-  16.00 น.  ณ ห้อง E-Testing 3  ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีจุดมุ่งหมายหลักในการผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นนักวิชาการและ นักวิชาชีพ จึงได้จัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านทักษะงานอาชีพ ด้วยระบบสหกิจศึกษา โดยกำหนดให้ นักศึกษาต้องเข้าไปปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ให้เกิดการผสมผสานระหว่างความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จริงที่ได้รับจากการทำงาน และเพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานจริง ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ จึงได้จัดให้มีการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนออกปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะด้านของกลุ่มสาขาวิชาชีพหรือประเภทงานที่นักศึกษาปฏิบัติ
ศูนย์สหกิจศึกษาฯ ได้เชิญ นางสาวณิรดา เพ็ชรคงทอง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการใช้งานโปรแกรมเป็นอย่างดี ให้เกียรติเป็นวิทยากรในครั้งนี้