ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรม

หลักสูตร การทำงานร่วมกันอย่างสมาร์ทด้วยกูเกิล (Smart Collaboration with Google Tools) รุ่นที่1

วันอังคารที่ 29 เม.ย. 2568 เวลา 13.00-16.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้จัดการอบรมหลักสูตรรองรับการทดสอบความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน ซึ่งรองรับเกณฑ์การประเมินผลสำเร็จส่วนบุคคล เเละเกณฑ์ประเมินหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำหรับการทดสอบความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป โดยท่านผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดอบรมหลักสูตรการทำงานร่วมกันอย่างสมาร์ทด้วยกูเกิล รุ่นที่ 1 ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.ศิริรัตน์ สมเชื้อ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ เป็นวิทยากร และ อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ผศ.กาญจนา หฤหรรษพงศ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ เป็นวิทยากรประจำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 และ ห้อง E-Testing 1 ให้ความรู้เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย 2 หัวข้อดังต่อไปนี้

  • เรียนรู้และทำงานร่วมกันด้วย Google Drive
  • เรียนรู้และทำงานร่วมกันด้วย Google Document

หลักสูตรนี้มุ่งหวังให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้งานและการปฏิบัติการทำงานร่วมกันออนไลน์ รวมถึงนำไปประยุกต์เป็นเครื่องมือการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานได้และสามารถบริหารจัดการการทำงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์พกพาได้หลากหลาย ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ ทุกที่ ทุกเวลา การอบรมครั้งนี้มีพนักงานที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมแบบOnsite จำนวน 120 คน และแบบOnline จำนวน 269 คน

ภาพกิจกรรม

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรม

หลักสูตร ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity in the Workplace and Fraud Prevention)

เมื่อวันอังคารที่ 22 เม.ย. 2568 เวลา 09.00-12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลได้จัดการอบรมหลักสูตรรองรับการทดสอบความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน ซึ่งรองรับเกณฑ์การประเมินผลสำเร็จส่วนบุคคล เเละเกณฑ์ประเมินหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำหรับการทดสอบความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป โดยท่านผู้ช่วยอธิการบดี ผศ.ดร.ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดอบรมหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในการทำงานและการป้องกันการหลอกลวง (Cybersecurity in the Workplace and Fraud Prevention) ณ ห้องภัทรธรรมาภรณ์ ชั้น 9 อาคาร B ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล และ ผศ.ดร.ฐิมาพร เพชรแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากร ให้ความรู้เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย 8 หัวข้อดังต่อไปนี้

1) ความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
2) แนวคิดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
3) ประเภทของภัยคุกคามทางไซเบอร์
4) ผลกระทบจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อมหาวิทยาลัย
5) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6) กรณีศึกษาการหลอกลวงทางออนไลน์
7) Security Checklist
8) Digital Footprint และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

หลักสูตรนี้มุ่งหวังให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตามแนวทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันความเสียหายทั้งต่อตนเอง และช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาพรวมให้แก่มหาวิทยาลัย รวมถึงได้ตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นในที่ทำงาน และเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองจากการถูกหลอกลวงหรือโจมตีทางเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
การอบรมครั้งนี้มีพนักงานที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมแบบOnsite จำนวน 113 คน และแบบOnline จำนวน 621 คน

ภาพกิจกรรม

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดอบรม

หลักสูตร เทคนิคการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในระบบ DOMS ตามระเบียบสารบรรณ มวล. 

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 เวลา 13.00 -16.30 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 และ ลิงค์สัญญาณการอบรมไปยังห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 และห้อง E-testing 1-2 หลักสูตรเทคนิคการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในระบบ DOMS ตามระเบียบสารบรรณ มวล. โดย
วิทยากร
          1. นางสาวประไพ การชะนะไชย ตำแหน่ง รักษาการแทนหัวหน้างาน
          2. นางเพ็ญประภา ขาวเขียว ตำแหน่ง พนักงานธุรการ ส่วนอำนวยการและสารบรรณ
ผู้ช่วยวิทยากร ประจำห้องละ 1 คน ประกอบด้วย
          1. นางสาวเสาวรส ไชยโม ตำแหน่ง พนักงานธุรการ ส่วนอำนวยการและสารบรรณ
          2. นางสาวทัศนีย์ จันทร์คง ตำแหน่ง พนักงานธุรการส่วนอำนวยการและสารบรรณ
          3. นางสาวณัฐปภัสร์ พรหมสวัสดิ์ ตำแหน่ง พนักงานธุรการ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล
          4. นางสาวณิรดา เพ็ชรคงทอง ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล

มีพนักงานที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วม จำนวน 161 คน การอบรมเริ่มเวลา 13.00 น.

ในการบรรยายชั่วโมงที่ 1

          – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
          – ความสำคัญและข้อดีของการจัดทำหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
          – ข้อกำหนดในระเบียนสารบรรณของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การใช้หนังสือประเภทต่างๆ และมาตรฐานแบบพิมพ์ของมหาวิทยาลัย
          – การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (แนวปฏิบัติ ข้อตกลง ข้อห้าม)

การฝึกปฏิบัติชั่วโมงที่ 2-3 เทคนิคการจัดทำ
● วิธีการสร้างเอกสาร การตั้งค่ามาตรฐานรูปแบบเอกสาร (Format) การตั้งค่าฟอนต์ ขนาดตัวอักษรระยะห่าง
● วิธีการสร้างหนังสือสั่งการ (คําสั่ง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ)
● เทคนิคการร่างและจัดเตรียมเนื้อหาสําหรับการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
● วิธีการเลือกแหล่งอ้างอิงเอกสารในระบบและนอกระบบเพื่อประกอบการจัดทําหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
● วิธีการแนบไฟลสิ่งที่ส่งมาด้วยในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
● วิธีการเขียนอีเมลจากระบบ DOMS
● วิธีการติดตามสถานะเอกสาร การตรวจสอบและค้นหา
● การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณใช้งานระบบ DOMS
● การทําใบงานและประเมินผล  

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลจัดซุ้มอาหาร เข้าร่วมกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์ สืบสานประเพณี’ 2568”

วันนี้ (9 เมษายน 2568) บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรม “วลัยลักษณ์สงกรานต์ สืบสานประเพณี’ 2568” ณ อาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามเนื่องในวันสงกรานต์ โดยภายในงาน

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า ม.วลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมวลัยลักษณ์สงกรานต์ สืบสานประเพณี ขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยความร่วมมือร่วมใจของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับพี่น้องประชาชนจากชุมชนโดยรอบ เป็นภาพสะท้อนถึงความสมัครสมานสามัคคีและความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการอนุรักษ์ สืบสาน และส่งเสริมประเพณีอันดีงามของไทยให้คงอยู่สืบไป เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจารีตประเพณีไทยที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความรัก ความกตัญญู และความสามัคคีของคนในสังคม การจัดกิจกรรมในวันนี้จึงมีคุณค่าอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ในการ “เป็นหลักในถิ่น” และมุ่งส่งเสริมการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

“สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันปีใหม่ไทย มีสุขภาพแข็งแรง และประสบแต่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตตลอดปีและตลอดไป” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

ภายในงานได้เชิญผู้สูงอายุในชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมมาอย่างยาวนาน ให้ลูกหลานชาวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รดน้ำดำหัวขอพร มีพิธีสงฆ์และการสรงน้ำพระพุทธรูปเพื่อความเป็นสิริมงคลในการทำงาน มีกิจกรรมการแสดงจากโรงเรียนชุมชนใหม่ กิจกรรมรำวงย้อนยุค มีกลองยาวมาร่วมสร้างความสนุกสนาน การมอบรางวัลให้แก่ผู้สูงอายุสุขภาพดี และรางวัลผู้สูงอายุรำสวยประจำปี และบริการซุ้มอาหารจากหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมงานเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 33

วันที่ 28 มีนาคม 2568 บุคลากรศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 32 คน เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 33  โดยมีการจัดพิธีทําบุญ 3 ศาสนา และพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมมอบรางวัลเชิดชูเกียรติบุคลากรและรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 33

ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี ได้กล่าวต้อนรับและสรุปผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในรอบปีที่ผ่านมาโดยเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอันดับโลกที่ดีขึ้นเรื่อยๆ พร้อมการพัฒนามหาวิทยาลัยทั้งทางกายภาพที่สวยงามและด้านวิชาการที่มีคุณภาพโดดเด่น การให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนเป็นอันดับแรก และความตั้งใจที่จะทำให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีแคมปัสสวยที่สุดในแผ่นดินไทย 

จากนั้นนายธีระชัย เชมนะสิริ นายกสภามหาวิทยาลัย กล่าวอวยพรเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครบปีที่ 33 ว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้ความสำคัญกับความเป็นพหุวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากการทำบุญ 3 ศาสนาในช่วงเช้า พร้อมให้ข้อคิดในการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่จะต้องไม่มัวหลงใหลอยู่ในความสำเร็จ (Complacency) และหลีกเลี่ยงความดื้อรั้นไม่ฟังใคร (Arrogance) และให้ความเชื่อมั่นในการทำงานของตนเองในฐานะนักบริหารที่มี “คุณธรรม สุจริตธรรม และเมตตาธรรม” เพื่อหวังให้บุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความสุขและสนุกกับการทำงาน โดยคาดหวังว่าจะได้เห็นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำติดอันดับ Top 5 ของไทยในเร็วๆนี้

ต่อด้วยพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี พ.ศ. 2567 ได้แก่ พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย จำนวน 2 คน พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย จำนวน 54 คน พิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นดิเรกคุณาภรณ์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ จำนวน 18 คน พิธีมอบแหวนทองคำเชิดชูเกียรติบุคลากรที่ปฏิบัติงานต่อเนื่อง 25 ปี จำนวน 31 คน พิธีมอบของที่ระลึกสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานครบ 30 ปีขึ้นไป จำนวน 4 คนและพิธีมอบโล่รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น จำนวน 4 คน

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลดำเนินการกระบวนการทวนสอบระบบการเลือกตั้งออนไลน์และร่วมกับสำนักงานสภามหาวิทยาลัย บันทึกข้อมูลสำหรับการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2568 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้ดำเนินการกระบวนการทวนสอบระบบการเลือกตั้งออนไลน์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงคะแนนการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ ดังนี้ การตรวจสอบ Source code ระบบเลือกตั้งออนไลน์
  • ไม่มีการทำงานใดที่ก่อให้เกิดการบันทึกข้อมูลของผู้เลือกตั้งเชื่อมโยงไปยังหมายเลขที่เลือก
  • มีการเข้ารหัสข้อมูลหมายเลขที่เลือกก่อนนำไปบันทึกในฐานข้อมูล
  • เวอร์ชันของ Source code ที่ติดตั้งบน Production Server ต้องถูกต้องตรงกัน
  • การ Disable Auto Pull ไปยัง Production Server เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลง Source code ในภายหลัง
การตรวจสอบการสร้าง Public Key/Private Key
  • ต้องไม่มีการบันทึกข้อมูล Public Key/Private Key ที่สร้างขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม (ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งต้อง Copy จากหน้าจอที่สร้างนำไปใส่ในระบบเลือกตั้งด้วยตนเอง)
  • ทวนสอบเวอร์ชันของ Source code ที่ Publish ใน Chrome Web Store เพื่อติดตั้ง WU Key Generator เป็น Google Extension
การตรวจสอบ Back–end API
  • API จะต้องส่งข้อมูลการเลือกตั้งไปบันทึกยัง Table ที่กำหนดของระบบเลือกตั้งออนไลน์เท่านั้น
  • เวอร์ชันของ API code ที่ติดตั้งบน Production Server ต้องถูกต้องตรงกัน
การตรวจสอบการจัดเก็บข้อมูลใน Database
  • ตรวจสอบการสร้าง Trigger ใน Oracle DBMS ให้เก็บบันทึกเหตุการณ์ (Log) หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูล
  • ตรวจสอบการปิดการแก้ไข Trigger code
ทั้งนี้ ผู้ดำเนินการและผู้ทวนสอบลงนามกำกับทุกขั้นตอนในกระบวนการทวนสอบระบบการเลือกตั้งออนไลน์   จากนั้น ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับสำนักงานสภามหาวิทยาลัย ในฐานะกรรมการคณะกรรมการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ ดำเนินการบันทึกข้อมูลผู้สมัคร/ผู้ตอบรับการเสนอชื่อ และดึงข้อมูลรายชื่อผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน เพื่อให้คณะกรรมการเลือกตั้งฯ ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล เมื่อคณะกรรมการเลือกตั้งฯ ยืนยันข้อมูลแล้ว คณาจารย์ที่มีรายชื่อจะสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อดูข้อมูลผู้สมัคร/ผู้ตอบรับการเสนอชื่อ และลงคะแนนในวันที่ 26 มีนาคม 2568 ได้

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัลดำเนินการกระบวนการทวนสอบระบบการเลือกตั้งออนไลน์และร่วมกับสำนักงานสภามหาวิทยาลัย บันทึกข้อมูลสำหรับการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำ

 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 หลักสูตร WordPress for Beginners

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 -12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 หลักสูตร WordPress for Beginners โดย นายวชิรศักดิ์ โภคากรณ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นวิทยากร และนายจักรภัทร ทองเที่ยง นายธนพล สุทธิศักดิ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ เป็นผู้ช่วยวิทยากร มีพนักงานที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วม จำนวน 39 คน การอบรมเริ่มเวลา 09.00 น.

ชั่วโมงที่ 1 Introduction แนะนำภาพรวม และทำความเข้าใจ WordPress

ชั่วโมงที่ 2 การจัดการรูปแบบธีมของเว็บไซต์
       – การจัดการธีม (Theme) ของเว็บไซต์WordPress
       – การปรับแต่งธีม หน้าหลัก เช่น โลโก้ ไอคอนเว็บ ภาพพื้นหลัง ภาพส่วนหัว สี และตัวอักษร เป็นต้น
       – การปรับนลูกเล่นของธีม เช่น ภาพสไลด์ ปุ่มโซเชี่ยล Social media icons และ Google font เป็นต้น

การสร้างเนื้อหา สำหรับเว็บ WordPress
       – การสร้าง การลบ การจัดการ หมวดหมู่และเนื้อหาเว็บ ข่าว(Post) และ หน้า(Page)
       – การสร้างเนื้อหาแบบบทความ ข่าวสาระความรู้ ข่าวประชาสัมพันธ์
       – การสร้างเนื้อหาเว็บด้วยไฟล์สื่อ เช่น ภาพ วิดีโอ YouTube และ PDF เป็นต้น
       – การใส่แท็ก ให้เนื้อหาของ WordPress (Tags)


การสร้างเมนู เมนูหลัก-เมนูย่อย แบบต่างๆ
       – การสร้าง-การลบ และจัดการ เมนูหลัก (Main Menu
       – การสร้าง-การลบ และจัดการ เมนูย่อย (Sub-menu)
       – การแสดงผลเมนู สำหรับอุปกรณ์อื่น เช่น มือถือ หรือ tablet (Responsive menu)

ชั่วโมงที่ 3: การทำใบงานและประเมินผล
แนะนำวิธีการทำใบงาน (10 นาที)
ผู้เรียนทำใบงาน (30 นาที)
การประเมินผลการอบรม (10 นาที)

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้เชิญสำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช แนะนำระบบบริหารจัดการสำนักงาน (e-Office)

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2568 เวลา 13.30-15.00  ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้เชิญสำนักงานสถิติจังหวัดนครศรีธรรมราช (ตัวแทนหน่วยงานขับเคลื่อนระดับจังหวัด) มาแนะนำระบบบริหารจัดการสำนักงาน (e-Office) ซึ่งเป็นระบบที่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำขึ้นสนับสนุนกระบวนการทำงานภายในของภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการขับเคลื่อนการใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e-Office ภายใต้งานบริการคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud service: GDCC) ให้แก่หน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ระบบ e-Office เป็นบริการ Work Collaboration ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านเอกสาร และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร เช่น ระบบเอกสารดิจิทัล (ระบบสารบรรณ ระบบพิมพ์ร่างตรวจหนังสือ ระบบลงนามด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ระบบบริหารการประชุม ระบบคลังจัดเก็บเอกสาร ระบบจองห้องประชุม และ ระบบจองรถ

ทั้งนี้ ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ได้ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอใช้งานระบบ เพื่อจะได้ทดลองใช้งาน หากสามารถปรับแต่งได้ตรงกับความต้องการของมหาวิทยาลัยจะสามารถใช้ประโยชน์ระบบดังกล่าวต่อไป

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จัดประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบสารสนเทศและแอปพลิเคชัน โดยท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม

เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568 เวลา 09.00-12.00 น. ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ในฐานะกรรมการและเลขานุการ ได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบสารสนเทศและแอปพลิเคชัน โดยท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม

ในที่ประชุมได้พิจารณา Rubric การจัดลำดับการพัฒนาระบบสารสนเทศและแอปพลิเคชัน โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา เช่น การตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ความจำเป็นและความสำคัญ ความคุ้มค่า การทดแทนการทำงานของพนักงาน การลดเวลาในการทำงาน ค่าลิขสิทธิ์และค่าใช้จ่ายผูกพัน และ User Impact เป็นต้น

โดย ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล จะดำเนินการส่งแบบฟอร์มทาง DOMS เพื่อรวบรวมความต้องการพัฒนาระบบสารสนเทศและแอปพลิเคชันจากทุกหน่วยงาน เพื่อคณะกรรมการฯ จะได้จัดลำดับตามเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนด และจะรวบรวมความต้องการเพื่อจัดลำดับให้แล้วเสร็จเพื่อกำหนดแผนการพัฒนาระบบฯ ก่อนขึ้นปีงบประมาณใหม่

ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ในฐานะกรรมการและเลขานุการ จัดประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการพัฒนาระบบแผนงานแบบมุ่งเน้นผลงาน โดยท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สุวิทย์ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2568 ศูนย์เทคโนโลยีดิจิทัล ในฐานะกรรมการและเลขานุการ ได้จัดประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินการพัฒนาระบบแผนงานแบบมุ่งเน้นผลงาน โดยท่านรองอธิการบดี รศ.ดร.สุวิทย์ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม

ด้วยการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีลักษณะการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดผลงานตามเป้าหมาย ซึ่งจะมีความสอดคล้องกันระหว่างตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ การปฏิบัติการตามคำรับรองของหน่วยงาน โครงการ/กิจกรรมและงบประมาณ ผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดในระดับต่างๆ โดยจะต้องสามารถติดตามได้แบบทันการ และข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูลตั้งต้นสำหรับการรายงานผลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven)

ที่ประชุมพิจารณากำหนดนโยบายและขอบเขตของการพัฒนาระบบ (รายละเอียดดังเอกสารแนบ) ซึ่ง ศทท. จะจัดประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะและขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR ) และพัฒนาระบบขึ้นเพื่อใช้งานต่อไป